เคพีเอ็น อวอร์ด
เคพีเอ็น อวอร์ด | |
---|---|
ภาพสัญลักษณ์รายการเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 25 | |
ประเภท | เรียลลิตีโชว์ การประกวดร้องเพลง |
สร้างโดย | สยามกลการ เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น |
พิธีกร |
|
กรรมการ | สุทธิพงษ์ วัฒนจัง วินัย สุขแสวง วรายุฑ มิลินทจินดา อภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง (ครั้งที่ 22-25) ทาทา ยัง ศรัณยู วินัยพานิช โชติกา วงศ์วิลาศ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
จำนวนฤดูกาล | 25 |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 9 ช่อง 3 |
การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ เคพีเอ็น อวอร์ด เป็นการประกวดร้องเพลงในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากจัดขึ้นเพื่อชิงถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รุ่นผู้ใหญ่) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (รุ่นเยาวชน) ริเริ่มโดยคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช จัดโดยบริษัท สยามกลการ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 - 2535 และบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - 2559
ประวัติ
[แก้]การประกวดร้องเพลงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เป็นที่รู้จักในชื่อ การประกวดร้องเพลงสยามกลการ เนื่องจากจัดขึ้นโดย มูลนิธิสยามกลการมิวสิค ในเครือบริษัท สยามกลการ จำกัด โดยมีความคิดริเริ่มจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ผู้จัดการใหญ่ของสยามกลการในขณะนั้น ที่มีความชอบส่วนตัวในเรื่องของเสียงเพลงและดนตรี โดยเริ่มจัดการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ตั้งตามชื่อผู้สนับสนุนหลักที่เป็นสินค้าที่สยามกลการมีบทบาทดูแลการจัดจำหน่ายในประเทศไทยในขณะนั้น ได้แก่ การประกวดร้องเพลงระดับประเทศ ในชื่อ นิสสัน อวอร์ด และระดับยุวชน ในชื่อ ยามาฮ่า อวอร์ด
การประกวดร้องเพลงสยามกลการได้สร้างนักร้องระดับประเทศหลายคนที่มีผลงานดังถึงปัจจุบัน เช่น เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์[1] และศิลปินดังคนอื่น ๆ (ดูรายชื่อ)
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 คุณหญิงพรทิพย์ได้แยกตัวจากสยามกลการ ออกมาก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด (กลุ่มเคพีเอ็น; KPN) โดยใช้ชื่อของคุณเกษม และคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช มาเป็นชื่อบริษัท เพื่อดูแลธุรกิจยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยย้ายมาอยู่ในการดูแลของกลุ่มเคพีเอ็นไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามยังคงใช้ชื่อการประกวดในระดับผู้ใหญ่ว่า นิสสัน อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2536 ก่อนเปลี่ยนมาเป็น ซูบารุ อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2537 และเริ่มใช้ชื่อว่า เคพีเอ็น อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 (แต่เลื่อนมาจัดงานในปี พ.ศ. 2539 เพื่อถวายความอาลัยในช่วงการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ส่วนในระดับยุวชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ใช้ชื่อการประกวดว่า ซูบารุ จูเนียร์ อวอร์ด
ต่อมาภายหลังคุณหญิงพรทิพย์มอบหมายให้ กรณ์ ณรงค์เดช บุตรชายคนเล็ก ดูแลรายการประกวดร้องเพลงรายการนี้แทน ในปี พ.ศ. 2552 กรณ์ได้ก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น อวอร์ด จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มเคพีเอ็น เพื่อจัดการประกวดรายการนี้โดยเฉพาะ และได้ปรับรูปแบบรายการใหม่เป็นรายการประกวดร้องเพลงแบบเรียลลิตีโชว์เพื่อให้ทันสมัยขึ้น[2]
ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการประกวด เคพีเอ็น อวอร์ด จะไม่มีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน แต่จะคัดเลือกจากผู้ผ่านเข้ารอบการประกวดนักร้องยอดเยี่ยมเครือสยามกลการในปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้รับรางวัล แล้วแข่งขันเพื่อเฟ้นหานักร้องยอดเยี่ยมคนที่ 25
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มีนาคม 2024) |
ผู้เข้าประกวด
[แก้]ผู้เข้าประกวดที่มีชื่อเสียง
[แก้]ระดับผู้ใหญ่
[แก้]- อรวี สัจจานนท์ (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2526)
- รวิวรรณ จินดา (นักร้องยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2527)
- ธงไชย แมคอินไตย์ (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- ประเชิญ บุญสูงเนิน (เจินเจิน) (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- อิสริยา คูประเสริฐ (นักร้องยอดเยี่ยมประเภทไทยเพลงสากลและนักร้องดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2528)
- เกล ดีล่า (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2529)
- นันทนา บุญหลง (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2530)
- นนทิยา จิวบางป่า (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2531)
- อัญชุลี บัวแก้ว (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2532)
- ศรา เอี่ยมไอ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- ศิริพร อยู่ยอด (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- เสาวนิตย์ นวพันธ์ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- มนตรี แพร่ศิริพุฒิพงศ์ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2533)
- นงนุช สมบูรณ์ (เจเน็ต เขียว) (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2533)
- กัญญารัตน์ กุยสุวรรณ (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2533)
- สิริพร ศรียานนท์ (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534)
- สมา สวยสด (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2535)
- พ.อ.ผศ.นพ.วิภู กำเนิดดี (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2536 (ยศร้อยตรีในปีที่ได้รับรางวัล)
- ปนัดดา เรืองวุฒิ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2538)
- ศรัณย์ คุ้งบรรพต (โน้ต) (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2544)
ระดับยุวชน
[แก้]- ลลิตา ตะเวทิกุล (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยม พ.ศ. 2533)
- ธุรดี อารีรอบ (นักร้องยุวชนดีเด่น พ.ศ. 2534)
- ธิติมา ประทุมทิพย์ (นักร้องยุวชนดีเด่น พ.ศ. 2534)
- ศรัณย์ คุ้งบรรพต (โน้ต) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534)
- ทาทา ยัง (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2535)
- นันทพร สว่างแจ้ง (แนนซี่) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2538)
- ณัฐชา สวัสดิ์รักเกียรติ (พลอย) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2543)
- เปี่ยมปีติ หัตถกิจโกศล (นิ้ง) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2543)
- ณัฐภัสสร สิมะเสถียร (ดาว) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2543)
- นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง พ.ศ. 2543)
- เปี่ยมรัก หัตถกิจโกศล (ปิ๊ง) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2545)
- อิสรพงศ์ ดอกยอ (อิสร์) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง พ.ศ. 2545)
- กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์ (ขนมจีน) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2547)
- หนึ่งธิดา โสภณ (หนูนา) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2547)
- รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน (พรีน) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2547)
- นนธวรรณ ฌรรวนธร (เมญ่า) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง พ.ศ. 2547)
- ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ (เพชร) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2549)
ผู้เข้าประกวดทั้งหมด (พ.ศ. 2552-2559)
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สยามกลการ"จากเศษเหล็กสู่ธุรกิจหมื่นล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
- ↑ "ปิดตำนานเวทีสยามกลการ ปิดตำนานผู้สร้างนักร้องคุณภาพเมืองไทย". สนุก.คอม. 17 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นก ธิติมา เจริญศรี". You2Play. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
- ↑ 4.0 4.1 "นก (KPN 6) ซิวแชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด 2009". Kapook.
- ↑ "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 1 - KPN 6". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 7 - KPN 12". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "เพียว คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2010". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "บี้ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2011". Music MThai. 6 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
- ↑ "ผู้เข้าแข่งขัน 10 คนสุดท้าย KPN Award 2012". KPN Award. 2012.[ลิงก์เสีย]
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2024
- เคพีเอ็น อวอร์ด
- การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- รายการโทรทัศน์ช่อง 9
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2526
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1980
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1980
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 1980
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2544
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ถูกนำกลับคืนมาหลังจากถูกยกเลิก
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2548
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2548
- รายการโทรทัศน์ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2552
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3 เอชดี
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2559