ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอแว้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแว้ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Waeng
คำขวัญ: 
ไม้งาม น้ำตก นกเงือก
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอแว้ง
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอแว้ง
พิกัด: 5°55′41″N 101°53′2″E / 5.92806°N 101.88389°E / 5.92806; 101.88389
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด347.3 ตร.กม. (134.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด54,327 คน
 • ความหนาแน่น156.43 คน/ตร.กม. (405.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96160
รหัสภูมิศาสตร์9608
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแว้ง ถนนราษฎร์บำรุง ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แว้ง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอแว้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอแว้ง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอโต๊ะโมะ ตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2445 ที่ว่าการอำเภอโต๊ะโมะในปัจจุบันอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน แต่เดิมเป็นถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมต้องใช้ช้างและเท้า ราษฎรไทย, จีน และต่างประเทศมาตั้งบ้านเรือนเพื่อขุดแร่ทองคำจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการแยกการปกครองเป็น กิ่งอำเภอปาโจ ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ[1] สาเหตุที่มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอปาโจ เป็นเพราะฝรั่งเศสได้เข้ามาทำสัมปทานเหมืองแร่ทองคำในเขตดังกล่าว ทำให้มีประชากรหนาแน่นขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งกิ่งอำเภอเพื่อดูแลผลประโยชน์ด้านภาษีอากร[2]

แต่เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ชาวฝรั่งเศสจำต้องทิ้งเหมืองเพื่อหนีภัยสงคราม คนไทยจึงได้เข้าไปดำเนินงานแทน แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องยกเลิกกิจการในเวลาต่อมา คนไทยที่อยู่บริเวณนั้นจึงได้พยพออกไป[3] กิ่งอำเภอปาโจจึงถูกยุบลงไปโดยปริยาย ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอโต๊ะโมะ ตามชื่อตำบล ส่วนตัวอำเภอโต๊ะโมะได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแว้ง[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้มีการยุบกิ่งอำเภอโต๊ะโมะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอแว้ง[5] และในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการยุบตำบลโต๊ะโมะขึ้นกับตำบลมาโมง[6]

ในปี พ.ศ. 2520 ทางราชการได้แยกท้องที่ตำบลมาโมง และตำบลสุคิริน ไปจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอสุคิริน[7] ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อพระตำหนักของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่พระราชทานเมื่อคราวเสด็จประทับแรม[2] ส่วนอดีตที่ตั้งของอำเภอโต๊ะโมะนั้น ปัจจุบันขึ้นกับตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน[8]

ที่มาของชื่ออำเภอ

[แก้]

คำว่า โต๊ะโมะ เป็นคำในภาษามลายู อาจมีความหมายว่า "ผู้อาวุโสที่ชื่อโมะ"[2] บ้างว่ามาจากคำว่า "กะเต๊าะเมาะ" ที่แปลว่า "ทุบตีแม่"[2] ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับบุตรที่หาทองคำจนหิวข้าว เมื่อแม่นำอาหารมาก็พาลโกรธแม่ นำเลียงที่ใช้ร่อนแร่ทุบแม่อย่างอนาถ แต่นิทานเรื่องดังกล่าวก็ไม่กล่าวถึงผลกรรมแต่อย่างใด[2]

ส่วนชื่ออำเภอในปัจจุบันคือ แว้ง มาจากคำมลายูคำว่า ราแวง (Rawang) ที่แปลว่า หนอง หรือ บึง[2] บ้างว่าอาจจะมาจากภาษาถิ่นใต้แถบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หมายถึง ต้นมะเขือพวง[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองของอำเภอแว้งมี 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่

1. แว้ง (Waeng) 7 หมู่บ้าน
2. กายูคละ (Kayu Khla) 9 หมู่บ้าน
3. ฆอเลาะ (Kholo) 7 หมู่บ้าน
4. โละจูด (Lochut) 9 หมู่บ้าน
5. แม่ดง (Mae Dong) 7 หมู่บ้าน
6. เอราวัณ (Erawan) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอแว้งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแว้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแว้ง
  • เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโละจูด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแว้ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแว้ง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกายูคละทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆอเลาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโละจูด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเอราวัณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเอราวัณทั้งตำบล

ประชากร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอปาโจ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ง): 2501. November 17, 1935. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน. 2547, หน้า 353
  3. "เหมืองทองคำโต๊ะโมะ" (Press release). ข่าวสด. 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–364. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (56 ง): 3062. September 1, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (25 ง): 679. March 12, 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสุคิริน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (11 ง): 486. February 8, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  8. "Thai Tambon - ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.