อาณาจักรมเยาะอู้
อาณาจักรมเยาะอู้ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1430–ค.ศ. 1785 | |||||||||||||||||
แผนที่ยุคแรกของเนเธอร์แลนด์เกี่ยวกับอาณาจักรยะไข่ (ปัจจุบันคือรัฐยะไข่และส่วนใต้ของภาคจิตตะกอง บังกลาเทศ) | |||||||||||||||||
สถานะ | รัฐบรรณาการสุลต่านเบงกอล (ค.ศ. 1429–1437[1])
รัฐบรรณาการราชวงศ์โก้นบอง ค.ศ. 1784 | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษายะไข่ | ||||||||||||||||
ศาสนา | |||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1429–1433 | พระเจ้านรเมขลา | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1433–1459 | มี่นคะยี | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1531–1554 | พระเจ้ามี่นบีน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1593–1612 | มี่นยาซาจี้ | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1622–1638 | พระเจ้าสิริสุธรรมมา | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1652–1674 | พระเจ้าจันทสุธรรมมา | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1782–1785 | พระเจ้ามหาธัมมตะ | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | คริสต์ศตวรรษที่ 15–18 | ||||||||||||||||
• สถาปนา | กันยายน ค.ศ. 1430 | ||||||||||||||||
• รัฐบรรณาการสุลต่านเบงกอล | ค.ศ. 1429–1437[2] | ||||||||||||||||
• พิชิตจิตตะกอง | ค.ศ. 1459[3] | ||||||||||||||||
• ถูกควบคุมโดยพม่าตอนล่าง | ค.ศ. 1599–1603 | ||||||||||||||||
• สูญเสียจิตตะกองแก่ราชวงศ์โมกุล | ค.ศ. 1666 | ||||||||||||||||
• รัฐบรรณาการราชวงศ์โก้นบอง | ค.ศ. 1784 | ||||||||||||||||
• ล่มสลาย | 2 มกราคม ค.ศ. 1785 | ||||||||||||||||
สกุลเงิน | Dinga | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
อาณาจักรมเยาะอู้ เป็นอาณาจักรที่มีเมืองหลวงที่เมืองมเยาะอู้ ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอล ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบังกลาเทศและรัฐยะไข่ในประเทศพม่า ปกครองตนเองเป็นอิสระระหว่าง พ.ศ. 2072–2328 ก่อนจะถูกราชวงศ์โก้นบองของพม่ายึดครอง[4]
ประวัติศาสตร์
[แก้]มเยาะอู้เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรยะไข่เมื่อ พ.ศ. 1974 เมื่อเมืองเติบโตขึ้นมีการสร้างวัดและเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย และยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 20–23 ที่เมืองมเยาะอู้เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรยะไข่นั้น มีพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายมากมาย รวมทั้งชาวโปรตุเกสและชาวดัตช์[5]
ในสมัยพระเจ้านรเมขลาหรือมี่นซอมูน (พ.ศ. 1947–1977) เป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรมเยาะอู้ พระองค์ได้ลี้ภัยไปยังเบงกอลนานถึง 24 ปี กลับมาครองราชสมบัติในยะไข่เมื่อ พ.ศ. 1973 โดยได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสุลต่านแห่งเบงกอล ชาวเบงกอลส่วนหนึ่งเดินทางเข้ามาในยะไข่พร้อมกับพระองค์และกลายเป็นชาวโรฮีนจาในบริเวณนี้[6][ต้องการอ้างอิง] พระเจ้านรเมขลายกดินแดนบางส่วนให้สุลต่านแห่งเบงกอล และพระองค์ปกครองดินแดนในฐานะรัฐบรรณาการของเบงกอล และได้รับพระนามแบบอิสลามด้วยแม้จะเป็นชาวพุทธ เหรียญทองดีนาร์ของเบงกอลสามารถใช้ได้ภายในราชอาณาจักร เหรียญที่สร้างในสมัยพระเจ้านรเมขลาด้านหนึ่งเป็นแบบพม่า อีกด้านเป็นแบบเปอร์เซีย[5]
หลังจากได้รับเอกราชจากสุลต่านแห่งเบงกอล กษัตรย์ยะไข่ยังคงใช้พระนามแบบมุสลิมอยู่[7] กษัตริย์ถือว่าตนเป็นสุลต่านและทำตามแบบจักรวรรดิโมกุลแม้ว่าตนเป็นชาวพุทธ มีการจ้างมุสลิมเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ[8] ระหว่าง พ.ศ. 2074–2172 มีชาวโปรตุเกสมาค้าทาสชาวเบงกอลตามบริเวณแนวชายฝั่งของยะไข่ ประชากรมุสลิมเบงกอลเพิ่มขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 และมีการจ้างงานที่หลากหลายในยะไข่ ส่วนหนึ่งเป็นล่ามภาษาอาหรับ ภาษาเบงกอล และภาษาเปอร์เซียในศาล แม้ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ แต่ก็ดำเนินการตามแบบของรัฐสุลต่านแห่งเบงกอลอยู่มาก[9] ยะไข่สูญเสียการควบคุมเบงกอลตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราชวงศ์โมกุลรุกรานเข้ามาในจิตตะกอง
เมืองมเยาะอู้ที่สร้างโดยพระเจ้านรเมขลาเป็นราชธานีอยู่นาน 355 ปี เมืองนี้เป็นที่รู้จักในยุโรปเมื่อฟรีอาร์ เซบาสเตียน มันริก เดินทางมาถึงเมื่อ พ.ศ. 2178 ในสมัยพระเจ้าสิริสุธรรมมา (Thiri Thudhamma) พระมหามุนี พระพุทธรูปที่ปัจจุบันอยู่ในมัณฑะเลย์เดิมอยู่มเยาะอู้ ภายในเมืองมเยาะอู้มีคลองมากมายใช้ในการคมนาคม และมีวัดเป็นจำนวนมาก[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rakhine Razawin Thit Vol 2 (ภาษาพม่า). Ashin. Sandamala Likãra. p. 8 to 21.
- ↑ Rakhine Razawin Thit Vol 2 (ภาษาพม่า). Ashin. Sandamala Likãra. p. 8 to 21.
- ↑ Rakhine Razawin Thit Vol 2 (ภาษาพม่า). Ashin. Sandamala Likãra. p. 23 to 25.
- ↑ Maung Maung Tin, Vol. 2, p. 25
- ↑ 5.0 5.1 Richard, Arthus (2002). History of Rakhine. Boston, MD: Lexington Books. p. 23. ISBN 0-7391-0356-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ Yegar, Moshe (2002). Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma / Myanmar. Lanham, MD: Lexington Books. p. 23. ISBN 0739103563. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ Yegar, Moshe (2002). Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma / Myanmar. Lanham, MD: Lexington Books. pp. 23–4. ISBN 0739103563. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ Yegar, Moshe (2002). Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma / Myanmar. Lanham, MD: Lexington Books. p. 24. ISBN 0739103563. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ (Aye Chan 2005, p. 398)
- ↑ William, Cornwell (2004). June 2013 History of Mrauk U. Amherst, MD: Lexington Books. p. 232. ISBN 0-7391-0356-3.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)
- Charney, Michael W. (1993). 'Arakan, Min Yazagyi, and the Portuguese: The Relationship Between the Growth of Arakanese Imperial Power and Portuguese Mercenaries on the Fringe of Mainland Southeast Asia 1517-1617.' Masters dissertation, Ohio University.
- Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Columbia University Press.
- Maung Maung Tin (1905). Konbaung Hset Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 2 (2004 ed.). Yangon: Department of Universities History Research, University of Yangon.
- Myat Soe, บ.ก. (1964). Myanma Swezon Kyan (ภาษาพม่า). Vol. 9 (1 ed.). Yangon: Sarpay Beikman.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6. ISBN 0-374-16342-1.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Encyclopædia Britannica. 1984 Edition. Vol. VII, p. 76