ข้ามไปเนื้อหา

หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์
Louis Antoine de Saint-Just
A portrait painting of Saint-Just
แซ็ง-ฌุสต์ในปี ค.ศ. 1793
ประธานที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ 1794 – 6 มีนาคม 1794
สมาชิกคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม 1793 – 27 กรกฎาคม 1794
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 สิงหาคม ค.ศ. 1767(1767-08-25)
เดอซีซ ฝรั่งเศส
เสียชีวิต28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794(1794-07-28) (26 ปี)
กรุงปารีส ฝรั่งเศส
พรรคการเมืองลามงตาญ

หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์ (ฝรั่งเศส: Louis Antoine de Saint-Just) เป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาได้รับเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมใหญ่แห่งชาติในปี ค.ศ. 1792 และถือเป็นสมาชิกสภาที่มีอายุน้อยที่สุดในวัยเพียง 25 ปี แซ็ง-ฌุสต์มีความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหนึ่งในผู้นำระดับสูงของของรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เขาเป็นแกนนำเรียกร้องให้ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16

ความปากร้ายของเขาสร้างความประทับใจให้แก่มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ แซ็ง-ฌุสต์ได้รับแต่งตั้งจากรอแบ็สปีแยร์ให้เป็นหนึ่งในกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม และต่อมายังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ รวมถึงเป็นผู้ตรวจการประจำกองทัพในระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส และยังเป็นบุคคลหลักที่ร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับสุดโต่ง ค.ศ. 1793 ที่ให้อำนาจพิเศษแบบเบ็ดเสร็จแก่คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมในการดำเนินการปฏิวัติ

นับได้ว่าแซ็ง-ฌุสต์เป็นบุคคลสำคัญที่คอยค้ำจุนอำนาจทางการเมืองของรอแบ็สปีแยร์ เขาใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจากรัฐธรรมนูญที่ตนเองร่างขึ้นในการข่มขู่และกำจัดผู้แทนราษฎรสายกลางอย่างฌัก ปีแยร์ บรีโซ ตลอดจนผู้แทนราษฎรกลุ่มฌีรงแด็ง อย่างไร้ความปรานีจนได้รับฉายาว่า "ทูตแห่งความตาย" ในสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 สมาชิกที่ประชุมใหญ่แห่งชาติลงมติประกาศให้รอแบ็สปีแยร์เป็น "เผด็จการทรราช" ซึ่งทำให้รอแบ็สปีแยร์และพรรคพวกอีก 21 คนซึ่งรวมถึงแซ็ง-ฌุสต์ถูกจับกุมในคืนนั้น และถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในวันรุ่งขึ้น ถือเป็นจุดสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

ประวัติ

[แก้]
  • Abensour, Miguel (1990). "Saint-Just and the Problem of Heroism in the French Revolution." In The French Revolution and the Birth of Modernity edited by Feher Ferenc. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-07120-9.
  • Andress, David (2006). The Terror: The Merciless War for Freedom in Revolutionary France. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 0-374-53073-4.
  • Aulard, François (1910). The French Revolution: A Political History, 1789-1804. Vol. II. New York: Charles Scribner's Sons. OCLC 25917606.
  • Baker, Keith Michael (1987). The Old regime and the French Revolution. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-06950-0.
  • Bax, Ernest Belfort (1890). The Story of the French Revolution. London: Swan Sonnenschein. OCLC 6024337.