หนู
หนู ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคเพลสโตซีนตอนต้น – ปัจจุบัน | |
---|---|
หนูสีน้ำตาล (R. norvegicus) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
ปลอดภัยจากการคุกคาม
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ (Animalia) |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata) |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalia) |
อันดับ: | สัตว์ฟันแทะ (Rodentia) |
วงศ์ใหญ่: | Muroidea |
วงศ์: | Muridae |
วงศ์ย่อย: | Murinae |
สกุล: | Rattus Fischer de Waldheim, 1803 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา
ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป[1]
การจำแนก
[แก้]- สกุล Rattus
- Rattus adustus
- Rattus annandalei
- Rattus argentiventer
- Rattus baluensis
- Rattus bontanus
- Rattus burrus
- Rattus colletti
- Rattus elaphinus
- Rattus enganus
- Rattus everetti
- Rattus exulans
- Rattus feliceus
- Rattus foramineus
- Rattus fuscipes
- Rattus giluwensis
- Rattus hainaldi
- Rattus hoffmani
- Rattus hoogerwerfi
- Rattus jobiensis
- Rattus koopmani
- Rattus korinchi
- Rattus leucopus
- Rattus losea
- Rattus lugens
- Rattus lutreolus
- Rattus macleari
- Rattus marmosurus
- Rattus mindorensis
- Rattus mollicomulus
- Rattus montanus
- Rattus mordax
- Rattus morotaiensis
- Rattus nativitatis
- Rattus nitidus
- Rattus norvegicus
- Rattus novaeguineae
- Rattus osgoodi
- Rattus palmarum
- Rattus pelurus
- Rattus praetor
- Rattus ranjiniae
- Rattus rattus
- Rattus sanila
- Rattus sikkimensis
- Rattus simalurensis
- Rattus sordidus
- Rattus steini
- Rattus stoicus
- Rattus tanezumi
- Rattus tawitawiensis
- Rattus timorensis
- Rattus tiomanicus
- Rattus tunneyi
- Rattus turkestanicus
- Rattus villosissimus
- Rattus xanthurus[2]
พาหะนำโรค
[แก้]หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค [3] ได้แก่
- กาฬโรค
- โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู
- โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด
- โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย
- โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม
โดยการขุดค้นทางซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นฟันของหนูในแถบประเทศตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พบว่า หนูได้คุกคามโดยเข้ามาอยู่ในชุมชนมนุษย์เพื่อคุ้ยหาอาหารตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 15,000 ปีมาแล้ว [4]
หมายเหตุ
[แก้]คำว่า "หนู" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยยังใช้รวมความถึงสัตว์ฟันแทะจำพวกอื่นที่อยู่ในสกุลอื่น หรือแม้แต่วงศ์อื่นได้ด้วย เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica), หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (Niviventer hinpoon), หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) หรือหนูตะเภา (Cavia porcellus) ที่อยู่ในวงศ์ Caviidae ได้ด้วย หากแต่หนูในสกุล Rattus และในวงศ์ Muridae นี้ เป็นหนูที่มนุษย์คุ้นเคยที่สุด[5] [6] อย่างน้อยมี 3 ชนิดที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ คือ หนูท้องขาว (Rattus rattus), หนูบ้าน (R. norvegicus) และหนูจี๊ด (R. exulans)[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เรื่องของหนู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
- ↑ "Rattus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2008-03-23.
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, หนูรังควานชุมชนมนุษย์ มาตั้งแต่ 15,000 ปีก่อน. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21642: วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
- ↑ [https://web.archive.org/web/20120717163219/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-41-search.asp เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนู ๑ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]
- ↑ "ตะเภา ๓ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2012-04-01.
- ↑ ความรู้เกี่ยวกับหนู
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rattus ที่วิกิสปีชีส์