สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส เอฟซี | ||
---|---|---|---|
ฉายา | พยัคฆ์ร้ายแห่งแม่น้ำมูล | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2555 (ในชื่อ อุบลราชธานี เอฟซี) | ||
สนาม | สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หรือ Ubru Happiness Stadium (ความจุ:2,500 ที่นั่ง) | ||
เจ้าของ | บริษัท อุบลราชธานี เอฟซี จำกัด | ||
ประธาน | พงษ์ศักดิ์ มูลสาร[1] | ||
ผู้จัดการ | พ.ต.ท.อัครพงษ์ สอนสุภาพ | ||
ผู้ฝึกสอน | เฉลิมขวัญ เหรียญทอง | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อันดับที่ 6 | ||
|
สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส หรือ อุบล ครัวนภัส เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันแข่งขันในระดับ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุบล ครัวนภัส เอฟซี เป็นทีมฟุตบอลในนามจังหวัดอุบลราชธานี ที่ก่อตั้งมายาวนาน จะยังคงเดินหน้าทำทีมต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จํากัด โดย นายธงชัย ตั้งมิ่งชัย กรรมการผู้จัดการ เข้ามาสนับสนุน
บริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จํากัด เป็นบริษัทที่มีที่ตั้งโรงงานในจังหวัดอุบลราชธานี ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำจิ้มและซอสปรุงรส รายใหญ่ของประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องให้การสนับสนุนทีมฟุตบอลของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเติมความสุขให้กับแฟนบอลชาวอุบลได้ชมได้เชียร์ทีมฟุตบอลบ้านเกิด
สโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลอุบล ไทเกอร์ เคยสร้างผลงานคว้าอันดับ 1 ของโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2557 ในชื่อ อุบล ยูเอ็มที เอฟซี
ปัจจุบันสโมสรใช้สนามมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นสนามเหย้า
ประวัติสโมสร
[แก้]อุบล ไทเกอร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2552 สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้สร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือ สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด โดยส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันใน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2552 แต่ได้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นภายในทีม จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้จนจบฤดูกาลและมีการขอถอนทีมออกจากการแข่งขัน ก่อนจะยุบทีมไปในเวลาต่อมา
ต่อมา สโมสรฟุตบอล อุบล ไทเกอร์ เอฟซี ได้เปิดตัวสโมสร เมื่อเวลา 16.30 น.ของวันที่ 22 มกราคม 2553 ที่สนามกีฬากลาง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ส.ส.ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ เป็นประธานสโมสร ภายหลังจากมีพิธีเปิดตัวสโมสรแล้วได้มีการอุ่นเครื่องระหว่างทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซีกับทีมสโมสรบีอีซี-เทโรศาสน โดยในนัดนี้มีแฟนบอลชาวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเกมการแข่งขันเป็นไปด้วยความสูสี จบเกมทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซีเสมอกับทีมสโมสรบีอีซี-เทโรศาสนไปแบบไม่มีสกอร์ โดยนัดแรกที่ทำการแข่งขันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซี เอาชนะทีมสโมสรมุกดาหารเอฟซี 3-2
อุบลราชธานี เอฟซี
[แก้]สโมสรฟุตบอลจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 เปิดตัวสโมสรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ลานเทียน ทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี โดยนายพงษ์ศักดิ์ มูลสาร นายกสมาคมกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งประธานสโมสร โดยมีชื่อทีมฟุตบอลของสโมสร คือ “อุบลราชธานี เอฟซี (Ubon Ratchathani FC)” มี นายณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการทีม โดยนัดแรกที่ทำการแข่งขันในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ทีมสโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี เอฟซี เสมอทีมสโมสรฟุตบอลอำนาจเจริญ ทาวน์ 1-1
อุบล ยูเอ็มที เอฟซี
[แก้]เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ได้มีการเปลื่ยนชื่อทีมเปลี่ยนจาก อุบลราชธานี เอฟซี เป็น "อุบล ยูเอ็มที เอฟซี" หรือ "UBON UMT FC" แต่ชื่อสโมสรยังคงเป็น "สโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี"
อุบลราชธานี เอฟซี และการแยกตัวของอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด
[แก้]ปี พ.ศ. 2558 ผศ.ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี และเป็นอธิการบดีกิตติคุณของมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น หรือ ยูเอ็มที ได้ยื่นเรื่องขอก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด ไปยังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและได้รับการอนุมัติ จึงได้ก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ โดยแยกตัวออกมาจากสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซีอย่างเป็นทางการ และเริ่มส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น สโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี เอฟซี และยังคงเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2]
อุบล ครัวนภัส เอฟซี
[แก้]เดือนธันวาคม ปี 2562 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก อุบลราชธานี เอฟซี เป็น "อุบล ครัวนภัส เอฟซี" หลังจากได้ บริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มน้ำจิ้ม รายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเดิมเป็นผู้สนับสนุนเดิมอยู่แล้ว เข้ามาสนับสนุนหลักในฤดูกาลถัดมา ทำให้คณะกรรมการสโมสรมีมติให้เพิ่มชื่อ เพื่อเป็นเกียรติ และแสดงความขอบคุณผู้สนับสนุนดังกล่าว
สนามฝึกซ้อมและแข่งขัน
[แก้]ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นสนามเหย้า และมีสนามฝึกซ้อมรวมถึงศูนย์ฝึกฟุตบอลระดับเยาวชนอยู่ที่ หมู่บ้านท่ากกเสียว ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปี |
---|---|---|---|---|
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี | พ.ศ. 2553 | ||
ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | พ.ศ. 2554 | ||
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี | พ.ศ. 2555–2559 | ||
15°7′4.95″N 104°54′4.95″E / 15.1180417°N 104.9013750°E | ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | พ.ศ. 2560 | |
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี | พ.ศ. 2561–2563 | ||
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี |
สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | 2,500 ที่นั่ง | พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน |
ทำเนียบผู้ฝึกสอน
[แก้]ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|---|
นัฏฐพร มหาราช | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 | เมษายน พ.ศ. 2555 | ||
ณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์ | เมษายน พ.ศ. 2555 | พฤษภาคม พ.ศ. 2555 | ||
ชาติกล้า ทรัพย์ทรงพล | พฤษภาคม พ.ศ. 2555 | ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ||
บทชาย พ้นยาก | ตุลาคม พ.ศ. 2555 | มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ||
ณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์ | มิถุนายน พ.ศ. 2556 | กันยายน พ.ศ. 2556 | ||
ชาติกล้า ทรัพย์ทรงพล | กันยายน พ.ศ. 2556 | พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | ||
ณรงค์ สุวรรณโชติ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | ธันวาคม พ.ศ. 2557 | อันดับ 1, ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาล 2557 | |
เฉลิมขวัญ เหรียญทอง | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | ||
ศุภรัตน์ มูลโต | พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | มีนาคม พ.ศ. 2560 | รองแชมป์, ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาล 2559 รอบแชมป์เปี้ยนลีก (เพลย์ออฟ 16 ทีมสุดท้าย) | |
ณรงค์พร เฉยไธสงโชดก | มีนาคม พ.ศ. 2560 | พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | ||
ชวพณ กมลสินธุ์ | มิถุนายน พ.ศ. 2560 | พฤษภาคม พ.ศ. 2564 | ||
ธนา ชะนะบุตร | พฤษภาคม พ.ศ. 2564 | พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | ||
กิตติยุทธ พุทธครู | สิงหาคม พ.ศ. 2565 | มีนาคม พ.ศ. 2566 | ||
เฉลิมขวัญ เหรียญทอง | มิถุนายน พ.ศ. 2566 |
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | หมายเหตุ เข้าแข่งขันในชื่อ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การแข่งขัน | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||||
2553 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 8 | 5 | 17 | 28 | 47 | 29 | 14 | ไม่ได้เข้าร่วม | QR | – | สุรศักดิ์ ทองแกะ | 8 | อุบล ไทเกอร์ |
2554 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 3 | 9 | 18 | 30 | 64 | 18 | 15 | ไม่ได้เข้าร่วม | QR1 | – | โฟคู คริสเตียน | 11 | อุบล ไทเกอร์ |
2555 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 2 | 11 | 17 | 23 | 55 | 17 | 16 | ไม่ได้เข้าร่วม | QR1 | – | มานะศักดิ์ อินเสาร์, คณิต ไกยกิจ | 3 | |
2556 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 14 | 9 | 7 | 41 | 29 | 51 | 3 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | เดวิด สร้างนานอก | 14 | อุบล ยูเอ็มที เอฟซี |
2557 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 26 | 19 | 5 | 2 | 84 | 23 | 62 | 1 | ไม่ได้เข้าร่วม | R1 | – | เอลวิส จ็อบ | 25 | อุบล ยูเอ็มที เอฟซี |
ดิวิชั่น2 ชปล. | 10 | 4 | 2 | 4 | 21 | 15 | 14 | 4 | – | เอลวิส จ็อบ | 5 | อุบล ยูเอ็มที เอฟซี | |||
2558 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 34 | 15 | 12 | 7 | 52 | 36 | 57 | 7 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | คิม จี ฮุน | 18 | |
2559 | ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 26 | 15 | 8 | 3 | 47 | 28 | 53 | 2 | ไม่ได้เข้าร่วม | QR1 | – | บูบ้า อับโบ้ | 12 | |
ดิวิชั่น2 ชปล. | 2 | 0 | 0 | 2 | 0 | 5 | 0 | รอบแรก | |||||||
2560 | ไทยลีก 3-ตอนบน | 19 | 5 | 7 | 7 | 28 | 31 | 22 | 10 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | |||
2561 | ไทยลีก 3-ตอนบน | 26 | 9 | 5 | 12 | 29 | 36 | 32 | 6 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | |||
2562 | ไทยลีก 3-ตอนบน | 24 | 8 | 6 | 10 | 23 | 35 | 30 | 7 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบเพลย์ออฟ | – | |||
2563–64 | ไทยลีก 3 | 15 | 8 | 3 | 4 | 25 | 21 | 27 | 4 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบเพลย์ออฟ | – | |||
2564–65 | ไทยลีก 3 | 24 | 13 | 3 | 8 | 45 | 25 | 42 | 4 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | ออสการ์ ปลาเป | 13 | อุบล ครัวนภัส |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 24 | 11 | 5 | 8 | 35 | 30 | 38 | 5 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบแรก | – | ออสการ์ ปลาเป | 17 | อุบล ครัวนภัส |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 24 | 11 | 7 | 6 | 42 | 21 | 40 | 6 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | อนุรักษ์ มุ่งดี | 9 | อุบล ครัวนภัส |
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | รอบคัดเลือกรอบสอง | รอบลีก |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
|
|
เจ้าหน้าที่สโมสร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-10-16.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.