สาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 18)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สาธารณรัฐโรมัน Repubblica Romana | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1798–ค.ศ. 1799 | |||||||||||||
สาธารณรัฐโรมันใน ค.ศ. 1798 | |||||||||||||
สถานะ | สาธารณรัฐพี่น้องของฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติ | ||||||||||||
เมืองหลวง | โรม | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | อิตาลี | ||||||||||||
การปกครอง | คณะกรรมาธิการของสาธารณรัฐ | ||||||||||||
คณะกรรมาธิการ | |||||||||||||
• ค.ศ. 1798–99 | คณะกรรมาธิการโรมัน | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | ที่ปรึกษาของสภานิติบัญญัติ | ||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส | ||||||||||||
18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 | |||||||||||||
• การรุกรานโดยนาโปลี | 30 กันยายน ค.ศ. 1799 | ||||||||||||
สกุลเงิน | สกูโด, ไบอ็อกโก | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อิตาลี นครรัฐวาติกัน |
สาธารณรัฐโรมัน (อิตาลี: Repubblica Romana; อังกฤษ: Roman Republic) ได้รับการประกาศก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 หลังจากที่หลุยส์-อเล็กซานเดอร์ แบร์เทียร์ นายพลของนโปเลียน ได้รุกรานกรุงโรม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยสาธารณรัฐนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งใน "สาธารณรัฐพี่น้อง" ของอิตาลีในการปฏิวัติฝรั่งเศส มันถูกอยู่ในตำแหน่งภายใต้รัฐบาลกรรมาธิการฝรั่งเศส และประกอบด้วยดินแดนที่ได้ยึดครองมาจากรัฐพระสันตะปาปา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ถูกเนรเทศไปยังฝรั่งเศส และได้สิ้นพระชนม์ที่นั่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1799 สาธารณรัฐโรมันได้ทำการเข้าควบคุมคณะบริหารของการปฏิวัติ ในอดีตของพระสันตะปาปาอีกสองแห่งในทันที ได้แก่สาธารณรัฐทิเบอร์รินา และสาธารณรัฐเอนคอนเนน โดยสาธารณรัฐโรมันได้พิสูจน์แล้วว่ามีอายุสั้น เนื่องจากกองกำลังเนเปิลได้ฟื้นฟูรัฐพระสันตะปาปา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1799
การผนวกโรม
[แก้]การรบของนโปเลียน บนคาบสมุทรอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1796 จนถึง ค.ศ. 1797 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามแห่งสาธารณรัฐ หลังจากการประสานมิตรแรก (ได้แก่ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, สเปน, เนเปิลส์ ฯลฯ) ใน ค.ศ. 1792 นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ตั้งใจว่า จะต่อสู้กับสหสัมพันธมิตรในอิตาลีตอนเหนือ เพื่อบีบบังคับให้ชาวออสเตรียเข้าร่วมการเจรจา ผ่านการรุกรานเพลียดมอนท์ ในเวลาเดียวกันเขาตั้งใจว่า จะเสริมกำลังกองทัพฝรั่งเศสแห่งอิตาลี ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ออสเตรียและรัฐในอิตาลี การรุกรานคาบสมุทรอิตาลีในครั้งนี้ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเช่นกัน เนื่องจากสหสัมพันธมิตรที่หนึ่งคาดว่าจะมีการรุกรานหลักที่แม่น้ำไรน์ โรม ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐพระสันตะปาปาเป็นส่วนหนึ่งของสหสัมพันธมิตรที่หนึ่ง พร้อมกับรัฐอื่นๆ ในอิตาลีอีกมากมาย
หลังจากการข้ามเทือกเขาแอลป์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1796 และสามารถเอาชนะกองทัพเพลียดมอนท์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการที่ม็องเตนน็องเต และในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการม็องโตวี โบนาปาร์ต ได้หันความสนใจ โดยไปทางใต้ของเพลียดมอนท์เพื่อจัดการกับรัฐพระสันตะปาปา โบนาปาร์ตสงสัยในคำสั่งที่แบ่งแยกเพื่อการรุกราน โดยส่งจดหมายสองฉบับไปยังคณะกรรมาธิการ จดหมายนั้นปล่อยให้ดีแร็กตัวร์ผ่อนปรนการรุกรานเพียงชั่วขณะ ออสเตรียซึ่งพ่ายแพ้ในยุทธการโลดิเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 และร่นถอยไปยังมีนีโก ภายใต้สนธิสัญญาโตเลนติโน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1797 โรมถูกบีบบังคับให้รับการทูตของสาธารณรัฐฝรั่งเศส[1] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 ฝรั่งเศสรุกรานและยึดครองรัฐพระสันตะปาปา ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการสังหาร มัวร์แต็งนิงก์ แลเอนาร์ต ตัวร์ป็องเต ซึ่งเป็นนายพลฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1797 หลังจากประสบความสำเร็จจากการรุกราน รัฐพระสันตะปาปาได้กลายเป็นรัฐบริวาร ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐโรมัน ภายใต้การนำของหลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย นายพลคนหนึ่งของโบนาปาร์ต[2] สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ถูกจับเข้าคุก และออกจากกรุงโรม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 และถูกเนรเทศไปฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาพระองค์ได้สิ้นพระชนม์
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการต่อสู้และความอดอยากภายใน ทำให้สาธารณรัฐอยู่ได้ไม่นานนัก และการสนับสนุนที่ไม่ได้รับความนิยม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ซึ่งเป็นวันที่สงครามประสานมิตรครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น กองทัพแห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ซึ่งอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1713–1799 ได้เดินเข้าไปในกรุงโรมที่ได้รับการพิทักษ์อย่างเบาบาง อย่างแท้จริง ก่อนจะจากไปและกลับไปทางใต้สู่ประเทศของตน ในปี ค.ศ. 1798–1799 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ฌาคส์ แม็คโดนัลด์ ผู้ว่าการสาธารณรัฐโรมันในขณะนั้น นำกองกำลังของเขาในยุทธการที่ฟอร์เร็งติโน่ ที่ฟอร์เร็งติโน่ ใน ค.ศ. 1798 หลังจากนั้น ในยุทธการที่อ็อตตรีโดรี ที่อ็อตตรีโดรี ในปีเดียวกัน และในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1798 ในยุทธการที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ซึ่งตามมาด้วยตำแหน่งข้าราชการทหารที่คาลวีร์ ริโกสคา และครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1799 ที่กาปัวร์ ก่อนที่เขาจะลาออกจากการบังคับบัญชา
หลังจากการรุกรานของเนเปิลส์ ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1799 รัฐพระสันตะปาปาได้รับการฟื้นฟูภายใต้รัชสมัยของพระสันตปาปาปิอุสที่ 7 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1800[3] ฝรั่งเศสได้ยึดครองรัฐพระสันตะปาปาอีกครั้งใน ค.ศ. 1808 หลังจากนั้นก็ถูกแบ่งแยกระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอิตาลี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามนโปเลียนใน ค.ศ. 1815
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandiler, {pp.20}
- ↑ "Napoleon's Campaign in Italy, 1796–97".
- ↑ Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandliver, {p.21}
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- www.historyofwar.org/articles/campaign_napoleon_italy_1796.html
- Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandiver Nicassio, (October 15, 2009, University of Chicago Press), {pp. 20 to 21}