สมยศ เชื้อไทย
สมยศ เชื้อไทย | |
---|---|
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | ประธาน วัฒนวาณิชย์ |
ถัดไป | สุธีร์ ศุภนิตย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 08 มกราคม พ.ศ. 2493 จังหวัดพังงา |
ศาสนา | พุทธศาสนา |
วิชาชีพ | ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) |
สมยศ เชื้อไทย (เกิด พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการชาวไทย โดยเป็นรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตคณบดีคณะดังกล่าว
ประวัติ
[แก้]สมยศเกิดที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา บิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านและเสียชีวิตไปเมื่อสมยศอายุได้สิบสองปี[1] สมยศสำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4 ณ โรงเรียนกะปง แล้วเล่าเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นต่อที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สำเร็จแล้วศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายต่อที่โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สายวิทย์–คณิต[2] ลุล่วงแล้วจึงศึกษาต่อยังคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนสำเร็จเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้เกียรตินิยมดี จากนั้น สอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทย แล้วไปศึกษาต่อยังประเทศเยอรมนีได้รับประกาศนียบัตรสาขากฎหมายมหาชนจากมหาวิทยาลัยบอนน์
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สมยศเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาต่าง ๆ ในสาขากฎหมายมหาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา, นายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยที่ 15-16 (พ.ศ. 2547–2551), ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2552, กรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2552), กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า (พ.ศ. 2551) ฯลฯ
สมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศได้มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยสมยศได้กล่าวปาฐกถาแสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า
"การยุบสภาว่าโดยหลักการของระบบรัฐสภาเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อแก้ปัญหาในกรณีขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภา หรือปัญหาของสภาผู้แทนราษฎร เพราะการยุบสภานั้นมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทั้งหมดก่อนครบ กำหนดอายุของสภา และต้องมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่
แต่ปรากฏว่าการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดมาก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจยุบสภาเพื่อใช้การเลือกตั้งฟอกตัวเองให้กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
จึงเห็นได้ว่าการยุบสภาเป็นเกมการเมืองของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการหนีการตรวจสอบว่ามีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือไม่ และทำให้ประชาชนหลงประเด็น เพราะประเด็นมิใช่การกล่าวหาว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรโกงการเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเช่นนั้นก็ได้แต่ไม่มีหลักฐาน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ หรือมีการใช้อำนาจโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ซึ่งการแก้ปัญหาในประเด็นนี้ต้องใช้กระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เห็นอยู่แล้วว่าถ้าจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตนจะชนะการเลือกตั้ง เพราะประชาชนจำนวนมากเสพติดนโยบายประชานิยมของพันตำรวจโททักษิณ"
ต่อมา ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมยศได้ออกมาแถลงว่า นับจากนี้ การต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่จะยืดเยื้อยาวนาน และฟันธงว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จะไม่แก้วิกฤติการเมืองไทย และดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจกับคำเตือนของอาจารย์สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเขา เพราะคนส่วนใหญ่อยากเห็นการเลือกตั้งเร็ว ๆ ไว ๆ ทำให้เขาประกาศว่าจะเลิกสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีก โดยกล่าวว่า
"ปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ปัญหาตุลาการภิวัตน์ ที่เป็นการเอาตุลาการไปยุ่งการเมือง จะเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเสาหลักของรัฐธรรมนูญคือต้องแยกอำนาจตุลาการกับอำนาจบริหารให้ออกจากกัน หากศาลไปโยงกับการเมืองก็จะไปกันใหญ่ ปัญหานี้เราเคยเจอแล้วคือปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีปัญหาการวิ่งเต้นล้มคดี ต่อไปข้างหน้าจะมีปัญหาใหญ่กว่านี้อีก หลังจากศาลมายุ่งกับการเมืองก็จะไปสนับสนุนอำนาจใหม่โดยปริยาย
"...รัฐธรรมนูญวันนี้เป็นแพะ โดยเปรียบว่า เหมือนคนทะเลาะกันแล้วรื้อบ้าน แล้วสร้างใหม่ซึ่งก็สร้างมาเหมือนเดิม โดยความจริงแล้วหลังคารั่วเมื่อสร้างใหม่คนก็ยังทะเลาะกันอีก ตรงนี้เรียกว่าปัญหาทางวัฒนธรรมทางการเมือง...
"19 กันยายน เป็นการเปลี่ยนรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญ ส่วนการลงประชามติเป็นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นรัฐประหารรูปแบบใหม่ ผมมองว่ามาตรา 309 จะทำให้การรัฐประหารกลับมาอีก เปรียบเหมือนมาตราลูกฆ่าพ่อ คือใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ผมบอกทุกคนแล้วว่าผมจะไม่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีกเลยเพราะรับไม่ได้ กับมาตรา 309"
ส่วนผลงานในด้านวิชาการ สมยศได้ผลิตตำราที่เป็นเสาหลักทางวิชาการหลายเล่ม ดู ข้อมูลจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย]
อนึ่ง สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศเคยเป็นนักฟุตบอลและชื่นชอบกีฬาฟุตบอลเป็นพิเศษ ถึงจะเป็นอาจารย์แล้วก็ยังหาเวลาว่างไปเล่นฟุตบอลกับนักศึกษาเสมอ กับทั้งยังเป็นผู้จัดการทีมฟุมบอลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชื่นชอบทีมฟุตบอลลิเวอร์พูลอีกด้วย นอกจากนี้ สมยศยังเผยว่า เวลาว่างชอบมองท้องฟ้า เพราะทำให้นึกถึง "ความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาล สิ่งที่มนุษย์คาดไม่ถึง" และวิธีแก้ไขปัญหาง่วงนอนในเวลาขับรถของตน คือ เอายาหม่องป้ายตา
นอกจากนี้ นักศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มักเรียกสมยศด้วยฉายาว่า "ป๋า" และ "องค์ดำ" อันเนื่องมาจากความรู้ความเชี่ยวชาญ ประกอบกับผิวที่คล้ำของสมยศ คู่กับ แก้วสรร อติโพธิ ที่ได้ฉายาว่า "องค์ขาว"
ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า[3] กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้สมยศเป็นศาสตราจารย์พิเศษสาขานิติศาสตร์[4]
โดย อาจารย์สมยศนั้นชื่นชอบการมาสอนที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มากที่สุดเป็นสิ่งใด ทั้ง ปี 1 วิชา น100 ปี 2 วิชา มหาชน ปี3 นิติปรัชญา จะได้เรียนกับท่านอาจารย์สมยศอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นใครมาเรียนที่ศูนย์ลำปางจะได้เรียนกับท่านอาจารย์สมยศอย่างแน่นอน เพราะ ท่านรักศูนย์ลำปางมากกว่าสิ่งใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กิตติศักดิ์ ปรกติ และอื่น ๆ (2553). "ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบหกสิบปีรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย" (PDF). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 291. สืบค้นเมื่อ 2556-12-18.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ กิตติศักดิ์ ปรกติ และอื่น ๆ (2553). "ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบหกสิบปีรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย" (PDF). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 292. สืบค้นเมื่อ 2556-12-18.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ครม.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
- ↑ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอาจารย์พิเศษของคณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๙๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 108acc. (n.d.). องค์ขาว องค์ดำ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย. (2549, 2 เมษายน). คำอภิปรายของ รศ.สมยศ เชื้อไทย ในการเสวนาเรื่อง 'ผ่าทางตันวิกฤตรัฐธรรมนูญ'. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ม.ป.ป.). ประวัติอาจารย์คณะนิติศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2010-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า (จำนวน 12 ราย). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- ป๋ายศ อ.สมยศ เชื้อไทย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- ประชาชาติธุรกิจ. (2550, 27 สิงหาคม). หลังประชามติคือรัฐประหาร (เงียบ) 'ผมเลิกสอนกฎหมายรัฐธรรมนูญ'. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- ประชาไทย. (2549, 24 กุมภาพันธ์). อาจารย์ มอ. อุ่นเครื่องตั้งวงไล่ทักษิณรับ 26 กุมภาฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยที่ 16 ปีที่ 30. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
- กิตติศักดิ์ ปรกติ และอื่น ๆ (2553). "ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบหกสิบปีรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย" (PDF). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 2556-12-18.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]