ข้ามไปเนื้อหา

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
The Federation of Thai Industries
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510; 57 ปีก่อน (2510-11-13)
สำนักงานใหญ่ชั้น 8 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ (มทรก.) เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • เกรียงไกร เธียรนุกุล, ประธาน ส.อ.ท.
  • ทวี ปิยะพัฒนา, รองประธานอาวุโส
  • สมพงษ์ นครศรี, รองประธานอาวุโส
  • วีระชัย คุณาวิชยานนท์, ประธานกรรมการตรวจสอบ
เว็บไซต์www.fti.or.th

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries – FTI) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยเริ่มแรกก่อตั้งในนาม สมาคมอุตสาหกรรมไทย (The Association of Thai Industries – ATI)  มีคณะผู้เริ่มก่อตั้งจำนวน 27 คน และมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก ได้มีการกำหนดตราประจำสมาคมฯ เป็นตัวอักษร  “ส.อ.ท.” อยู่ในเฟือง 3 วง

สมาคมอุตสาหกรรมไทยได้แสดงบทบาทและสร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยได้เป็นตัวแทนภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรมในคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ในราชกิจจานุเบกษา ยกฐานะสมาคมอุตสาหกรรมไทยขึ้นเป็น  “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

[แก้]

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ดังนี้

  1. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมภาคเอกชน ในการประสานนโยบายและดำเนินการกับรัฐ
  2. ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรม
  3. ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรม
  4. ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัย อบรม เผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
  5. ตรวจสอบสินค้า ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดหรือใบรับรองคุณภาพสินค้า
  6. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะแก่รัฐบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม
  7. ส่งเสริมนักอุตสาหกรรม และเป็นแหล่งกลางสำหรับนักอุตสาหกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อประโชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม
  8. ควบคุมดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรม
  9. ปฏิบัติกิจการอื่น ๆ ตามกฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ยังร่วมให้คำปรึกษา และเป็นกรรมการในคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. และคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ

สมาชิก

[แก้]

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ

  1. ประเภทสามัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เป็นนิติบุคคล และประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งรวมทั้งสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม
  2. ประเภทสมทบ ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใด ๆ ที่มิใช่โรงงานอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า

ทั้งนี้ สมาชิกยังถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดที่กระจายครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นแกนกลาง เชื่อมโยงกลไกความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผู้ประกอบการด้วยกันเอง รวมไปถึงผู้บริโภคและผู้ประกอบการอื่น ๆ และมีคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย ที่อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด และ 1 ใน 3 เป็นการเลือกตั้งจากกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ โดยคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดนโยบายและบริหารงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประสานกับภาครัฐและต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

บทบาทสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

[แก้]

เพื่อให้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คณะกรรมการสภา-อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้กำหนดบทบาทของสภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย ไว้ดังนี้

  1. เข้าร่วมกำหนดนโยบายและร่วมวางแผนกับภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
  2. เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการนำเสนอข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ด้านอุตสาหกรรมต่อภาครัฐ โดยผ่านสภาอุตสาหกรรมฯ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)
  3. เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  4. สร้าง ส่งเสริม พัฒนากิจกรรมต่าง ๆ โดยอาศัยความคิดริเริ่มจากสมาชิก กรรมการสภาอุตสาหกรรมฯ กลุ่มอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
  5. ให้ข้อเสนอแนะแก่ภาครัฐในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
  6. ปกป้องสิทธิและความยุติธรรมอันพึงมีของสมาชิก และนักอุตสาหกรรมทั่วไป
  7. ประสานความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งในอาเซียน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ
  8. ร่วมพิจารณากำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดได้
  9. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก
  10. ให้บริการแก่สมาชิกในด้านต่าง ๆ อาทิ ข่าวสาร ข้อมูล คำปรึกษาแนะนำในด้านธุรกิจ

ทำเนียบนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทยและประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

[แก้]

นายกสมาคมฯ กิตติมศักดิ์

[แก้]

พ.ศ. 2510 – 2512 ฯพณฯ นายทวี บุณยเกตุ

พ.ศ. 2513 – 2518 พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร

พ.ศ. 2519 – 2520 นายบรรเจิด ชลวิจารณ์

พ.ศ. 2521 – 2522 พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร

พ.ศ. 2523 – 2525 ดร. ถาวร พรประภา

พ.ศ. 2525 – 2529 นายพงส์ สารสิน

พ.ศ. 2529 – 2530 นายชุมสาย หัสดิน

พ.ศ. 2530 – 2533 นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กิตติมศักดิ์

[แก้]

พ.ศ. 2533 – 2534 ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน

พ.ศ. 2534 – 2541 ดร. โชคชัย อักษรนันท์  

พ.ศ. 2541 – 2545 นายทวี บุตรสุนทร

พ.ศ. 2545 – 2549 นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ

พ.ศ. 2549 – 2553 นายสันติ วิลาสศักดานนท์

พ.ศ. 2553 – 2555 นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล

พ.ศ. 2555 – 2557 นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล  

พ.ศ. 2557 – 2559 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี

พ.ศ. 2559 – 2561 นายเจน นำชัยศิริ 

พ.ศ. 2561 – 2563 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี

พ.ศ. 2563 – 2565 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

[แก้]

พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

กลุ่มอุตสาหกรรม

[แก้]

กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปัจจุบันประกอบด้วย 46 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่

  1. กลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ
  2. กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
  3. กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม
  4. กลุ่มอุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน
  5. กลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
  6. กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี
  7. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร
  8. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ
  9. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
  10. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
  11. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  12. กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
  13. กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก
  14. กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล
  15. กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก
  16. กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
  17. กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล
  18. กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
  19. กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  20. กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
  21. กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  22. กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์
  23. กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า
  24. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
  25. กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก
  26. กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  27. กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  28. กลุ่มอุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น
  29. กลุ่มอุตสาหกรรมยา
  30. กลุ่มอุตสาหกรรมยาง
  31. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
  32. กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ
  33. กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า
  34. กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  35. กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้
  36. กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร
  37. กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  38. กลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง
  39. กลุ่มอุตสาหกรรมหล่อโลหะ
  40. กลุ่มอุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์
  41. กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์
  42. กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก
  43. กลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
  44. กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
  45. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
  46. กลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่จัดตั้งล่าสุดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงภารกิจ กิจกรรมและโครงการไปยังทั้ง 46 กลุ่มอุตสาหกรรม

สภาอุตสาหกรรมจังหวัด

[แก้]

นอกจากนั้นได้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขึ้น ในส่วนภูมิภาค โดยในปัจจุบันมี สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้งสิ้น 76 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร ไม่มีสภาอุตสาหกรรมจังหวัด)

รายชื่อสถาบันภายใต้การดูแล

[แก้]

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งสถาบันต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสมาชิกสามารถรับสิทธิประโยชน์จากสถาบันและหน่วยงานในเครือของสภาอุตสาหกรรมได้ตามการให้บริการ สถาบันต่าง ๆ มีดังนี้

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530