สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ
ชื่อย่อ | BFI |
---|---|
ก่อตั้ง | 18 กรกฎาคม 1983[1] |
ประเภท | องค์กรการกุศล ภาพยนตร์ โทรทัศน์ |
ภูมิภาค | สหราชอาณาจักร |
ภาษาทางการ | อังกฤษ / ฝรั่งเศส |
Chairman | Josh Berger |
Chief Executive | Amanda Nevill |
เว็บไซต์ | bfi |
สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (อังกฤษ: The British Film Institute (BFI); คำย่อ: บีเอฟไอ) เป็นองค์กรการกุศลและภาพยนตร์ ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร ทำหน้าที่ส่งเสริมและรักษาผลงานภาพยนตร์และโทรทัศน์ของสหราชอาณาจักร
ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Charter) สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาศิลปะทางด้านภาพยนตร์ โทรทัศน์ และภาพเคลื่อนไหว ทั่วสหราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมการใช้งานเพื่อประโยชน์ของการเก็บบันทึกชีวิตร่วมสมัยและขนบธรรมเนียม เพื่อส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์ โทรทัศน์ และภาพเคลื่อนไหวโดยทั่วไป และผลกระทบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและเห็นคุณค่าของภาพยนตร์กว้างที่สุด ทั้งภาพยนตร์อังกฤษและของโลก และเพื่อสร้าง ดูแล และพัฒนาคอลเลกชันต่างๆ ที่สะท้อนถึงประวัติของภาพเคลื่อนไหวและมรดกของสหราชอาณาจักร[1]
กิจกรรมของบีเอฟไอ
[แก้]คลังภาพยนตร์
[แก้]สถาบันบีเอฟไอบำรุงรักษาคลังภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่า คลังภาพยนตร์แห่งชาติ บีเอฟไอ (BFI National Archive) เดิมเรียกว่า ห้องสมุดภาพยนตร์แห่งชาติ (ปี 1935-1955) คลังภาพยนตร์แห่งชาติ (ปี 1955-1992) และคลังภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติ (ปี 1993-2006) คลังข้อมูลนี้จัดเก็บภาพยนตร์ประเภทบันเทิง มากกว่า 50,000 เรื่อง ประเภทสารคดี มากกว่า 100,000 เรื่อง และรายการโทรทัศน์ประมาณ 625,000 โปรแกรม คอลเลกชันส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของอังกฤษ แต่ก็มีผลงานสำคัญ ๆ ในระดับนานาชาติจากทั่วโลก คลังข้อมูลนี้เก็บรวบรวมภาพยนตร์ที่มีนักแสดงชาวอังกฤษที่สำคัญ ๆ และผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ
ซีนีมา
[แก้]การศึกษา
[แก้]สถาบันบีเอฟไอมีโครงการริเริ่มทางด้านการศึกษาจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนับสนุนการสอนทางด้านภาพยนตร์และสื่อในโรงเรียน ในปลายปี 2012 สถาบันได้รับงบจากกระทรวงศึกษา เพื่อสร้างเครือข่าย BFI Film Academy [2] [3][4]
เทศกาล
[แก้]สถาบันบีเอฟไอมีการจัดเทศกาลรายปี คือ London Film Festival โดยมี BFI Flare: London LGBT Film Festival และที่เน้นกลุ่มเยาวชน คือ Future Film Festival.[5]
กิจกรรมอื่น ๆ
[แก้]บีเอฟไอเผยแพร่นิตยสารรายเดือน Sight & Sound และจัดทำภาพยนตร์ในรูปของ Blu-ray, DVD และหนังสือ สถาบันดำเนินงานห้องสมุดแห่งชาติ BFI (ห้องสมุดอ้างอิง) และบำรุงรักษาฐานข้อมูลที่เรียกว่า BFI Film & TV Database และ Summary of Information on Film and Television (SIFT) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเครดิตของแต่ละการผลิต ข้อมูลเรื่องย่อ (synopses) และสารสนเทศอื่นๆ เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์. SIFT มีคอลเลกชันที่รวบรวมภาพนิ่งราว 7 ล้านภาพ (เฟรม) จากภาพยนตร์และโทรทัศน์
สถาบันได้ร่วมผลิตภาพยนตร์สารคดีและซีรีส์โทรทัศน์จำนวนหนึ่งที่มีเนื้อหาจากคลังภาพยนตร์แห่งชาติ (BFI National Archive) ร่วมกับ BBC รวมถึงภาพยนตร์ The Lost World of Mitchell & Kenyon, The Lost World of Friese-Greene และ The Lost World of Tibet
เกี่ยวกับองค์กร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- BFI The Top 50 Greatest Films of All Time
- BFI 75 Most Wanted – ภาพยนตร์ที่หาได้ยากที่สุดในขณะนี้ขาดหายไปจากที่คลังภาพยนตร์ของบีเอฟไอ
- BFI Top 100 British films
- รายชื่อ 50 ภาพยนตร์ที่ควรดูเมื่ออายุ 14 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Elizabeth II (18 กรกฎาคม 1983). "British Film Institute: Royal Charter" (PDF). Charity Commissioners for England and Wales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2008.
- ↑ "BFI Film Academy students premiere their work". TheNationalStudent.com. 24 เมษายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013.
- ↑ Katy Rice. "Brighton and Hove to take leading film industry role". The Argus.
- ↑ "Nothing to stop us now: the BFI Film Academy's graduates". British Film Institute.
- ↑ "BFI". British Film Institute. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Screen Online – ประวัติภาพยนตร์ (BFI Film History)
- British Film Institute at Google Cultural Institute
- "BFI Research Project on its history". School of History. Queen Mary University of London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2018.
- Cook, Pam. "BFI Watch".
Independent blog about events affecting the BFI