สงครามเพลง (ภาพยนตร์ไทยปี พ.ศ. 2526)
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สงครามเพลง | |
---|---|
กำกับ | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
เขียนบท | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
อำนวยการสร้าง | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
นักแสดงนำ | ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ยอดรัก สลักใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ กรุง ศรีวิไล ธิติมา สังขพิทักษ์ |
เพลงประกอบ |
|
วันฉาย | 29 เมษายน พ.ศ. 2526 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
สงครามเพลง เป็นภาพยนตร์ว่าด้วยธุรกิจเพลง กำกับภาพยนตร์โดย ฉลอง ภักดีวิจิตร ออกฉายเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2526 สร้างโดย บางกอกการภาพยนตร์ ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร นำแสดงโดย ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ , เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ , ยอดรัก สลักใจ , เศรษฐา ศิระฉายา , พุ่มพวง ดวงจันทร์ , กรุง ศรีวิไล , พิงค์แพนเตอร์ , ฮอตเปปเปอร์ , มานพ อัศวเทพ , ฤทธิ์ ลือชา , รณ ฤทธิชัย , สายัณห์ จันทรวิบูลย์ , ธิติมา สังขพิทักษ์ และ ดาวใต้ เมืองตรัง ภาพยนตร์ดังกล่าวยังเป็นผลงานการแสดงเรื่องแรกของพุ่มพวง ดวงจันทร์ด้วย หลังจากในปี พ.ศ. 2533 สงครามเพลงก็ได้ถูกนำมาสร้างในภาค 2 สงครามเพลงแผน 2 นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, ทิพย์ ธรรมศิริ, ตรีรัก รักการดี สร้างโดย บางกอกเอ็นเตอร์ไพรส์ โดย ธนารุ่งโรจน์ กำกับการแสดงโดย สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ออกฉายครั้งแรกวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 [1][2]
ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์และได้มีพิธีบวงสรวงในปี พ.ศ. 2558 กำกับการแสดงโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร ลูกชายคนเล็กของฉลอง ภักดีวิจิตรมีนักแสดงนำอาทิ ชนาธิป โพธิ์ทองคำ ลักษณ์นารา เปี้ยทา เปาวลี พรพิมล สมชาย เข็มกลัด และ เต๋า ภูศิลป์ [3][4]
เรื่องย่อ
[แก้]เรื่องราวการขับเคี่ยวแข่งขันทางธุรกิจระหว่างสองค่ายเพลง ที่ห้ำหั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ชิงไหวชิงพริบ งัดกลยุทธ์นานามาสู้กัน หรือเรียกสั้นๆ ว่าสงครามเพลง ซึ่งมีทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง ที่สุดเมื่อเหนื่อยหนักหมดแรง จึงไม่มีใครเป็นผู้ชนะ [5]
การนำภาพยนตร์กลับมาทำใหม่
[แก้]พ.ศ. 2558
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สงครามเพลง ภาค 1 (กรุง ศรีวิไล, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ) ผลงานการกำกับของ ฉลอง ภักดีวิจิตร
- ↑ "286 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย สงครามเพลง แผน 2 (2533 สรพงศ์-ทิพย์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ขึ้นแท่นผู้จัดละครเรื่องแรก สงครามเพลง
- ↑ กอล์ฟ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ไม่ซีเรียส โดนแซวเป็นตำนานย่างไก่ หลังย้ายมาช่อง 3
- ↑ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ก้าวเข้าสู่วงการหนังไทย