ศราวุธ เพชรพนมพร
ศราวุธ เพชรพนมพร | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ก่อนหน้า | วิเชียร ขาวขำ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | สุรทิน พิมานเมฆินทร์ |
ถัดไป | ณัฐพงษ์ พิพัฒนไชยศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย |
ถัดไป | สุรทิน พิมานเมฆินทร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 เมษายน พ.ศ. 2513 อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2544–2548) ไทยรักไทย (2548–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550–2552) เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นุดี เพชรพนมพร |
ศราวุธ เพชรพนมพร (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2513) ชื่อเล่น ป๊อบ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ประวัติ
[แก้]ศราวุธ เกิดวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายสุวิทย์ กับนางวิไล เพชรพนมพร มีพี่น้อง 5 คน ด้านครอบครัวสมรสกับนางนุดี เพชรพนมพร (สกุลเดิม: พรหมนอก) บุตรของ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนแรก และอดีตรองนายกรัฐมนตรี มีบุตร 2 คน
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนดอสบอสโกวิทยา จังหวัดอุดรธานี จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน การคลัง และการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานการเมือง
[แก้]ศราวุธ อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และได้รับเลือกให้เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก สังกัดพรรคชาติพัฒนาได้รับการเลือกตั้งเป็น สส.ครั้งแรก และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) และได้รับเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ประชา พรหมนอก)[2]
ต่อมาในปี 2548 ศราวุธ ได้ย้ายไปสังกัด พรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. เป็นสมัยที่ 2
ต่อมาในปี 2550 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการพรรค เมื่อปี 2551[3] และได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[4] เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
ต่อมาพรรคพลังประชาชน ถูกยุบ และเปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] และลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็น สส.สมัยที่ 3
ตำแหน่งที่เคยดำรงด้านการเมือง
[แก้]- อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เขตอำเภอเมือง (2538 – 2542)
- อดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (2541 – 2542)
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี (2544 – 2549, 2554 – 2556 , 2562 - 2566)
- อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2545 – 2548) (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์)
- อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน (2551 – 2552)
- อดีตเลขานุการรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2551 – 2552) (มั่น พัธโนทัย)
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
บทบาทที่สำคัญทางการเมือง
[แก้]ศราวุธ มีบทบาทสำคัญในปี 2544–2545 ที่ได้ยื่นกระทู้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ถามไปยัง วันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น เกี่ยวกับการเร่งแก้ไขปัญหาในการก่อสร้างถนนนิตโย ซึ่งเป็นถนนคมนาคมสายหลักของจังหวัดอุดรธานี ที่เชื่อมต่อระหว่างถนนโพธิ์ศรี (ถนนใจกลางเมือง) กับ ถนนอุดรธานี-สกลนคร (ถนนเชื่อมเส้นรอบเมือง) มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ที่กระทรวงคมนาคมในขณะนั้นก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ประชาชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งถนนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการแก้ไขและก่อสร้างแล้วเสร็จในเวลาต่อมาไม่นานภายหลังจากการอภิปรายในสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2545-10-15.html เก็บถาวร 2012-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
มติคณะรัฐมนตรี เรื่องที่27 ข้อ11 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพรเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 15 ตุลาคม 2545
สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ http://politicalbase.in.th/index.php/พรรคเพื่อแผ่นดิน เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย ลำดับที่ 11 นายศราวุธ เพชรพนมพร รองเลขาธิการพรรค สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ http://www.ryt9.com/s/cabt/304137 จากเว็บไซต์
ryt9 มติคณะรัฐมนตรี ข้อ31 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพร
เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2551
สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ ยุทธพงศ์อดีตสส.ปชป.ย้ายซบพท.พร้อมลูกเขยประชา จากเว็บไซต์TTN24 สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://mp.parliament.go.th/map2554/person_detail.aspx?id=P5MymlwYap0SsYrtoBosgQ== เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
นายศราวุธ เพชรพนมพรเว็บไซต์รัฐสภาไทย
- http://www.ptp.or.th/member/m-detail.aspx?ss_id=510 เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
นายศราวุธ เพชรพนมพร เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย
นายศราวุธ เพชรพนมพร ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.