วัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว
วัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
ประวัติพระธาตุจอมหมอกแก้ว
[แก้]เมื่อร้อยปีที่แล้ว เดิมบริเวณที่ตั้งพระธาตุจอมหมอกแก้ว เป็นป่าเขาเชิงดิน ไม่มีหมู่บ้านตั้งอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ มีชาวบ้านอพยพมาจากลำปางบ้าง เชียงใหม่บ้าง เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านป่าแดง บ้านดงมะเฟื่องและบ้านท่ามะโอ สมัยนั้นเป็นตำบลบัวสลี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่าและพบองค์พระธาตุตั้งอยู่ บนเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่งมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเบียดกับองค์พระธตุจนมองแทบไม่เห็นองค์พระธาตุมองเห็นเพียงบางส่วน ยอดพระธาตุหักพังตกลงมากองกับพื้น ส่วนกลางองค์พระธาตุและฐานพระธาตุมีร้อยแตกร้าว มีรากไม้แทงรัดตรึงอยู่ทั่วทั้งองค์พระธาตุ ลักษณะขององค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อด้วยหินก้อนที่ผ่านกระการหนึ่งบดและผสมกับเปลือกไม้ยางบง (ชาวเหนือเรียกว่า ไม้ไก๋) ซึ่งเปลือกไม่ยางบงจะมียางเหนียว แล้วนำไปเผาไฟเพื่อให้ก่อนอิฐมีความแข็งสามารถให้ก่อเป็นเจดีย์ได้ ในบริเวณที่ตั้งองค์พระธาตุเป็นป่ามีต้นไม้ที่ชาวเหนือเรียกว่าส้มป่อยขึ้นอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพนญานาค อีกทั้งใกล้ๆ กันยังพบจอมปลวกและมีเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นเชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของเชื้อพระวงศ์ในสมัยโบราณ ชาวบ้านที่ที่เข้าไปหาของป่าบริเวณนี้จะไปกราบไหว้บูชาทุกครั้งเพื่อขออนุญาต ไม่เช่นนั้นก้จะจะอันเป็นไปต่างๆ นาๆ
พระธาตุจอมหมอกแก้ว เดิมเรียกว่า “พระธาตุจอมหมอกแก้ววังควาย” วังควาย เป็นชื่อเรียกลำน้ำห้วยส้านบริเวณข้างล่างพระธาตุจอมหมอกแก้ว ด้านทิศเหนือมีคุ้งน้ำวน ห่างไปประมาณ ๗๐๐ เมตร มีเรื่องเล่าว่า “มีชาวบ้านจำนวนมากไปหาปลาที่คุ้งน้ำวนแห่งนี้ และมีชาวบ้านคนหนึ่งได้ทอดแหในคุ้งน้ำวนแล้วมีควายทองคำติดแหขึ้นมา ขนาดเท่าลูกหมู ชาวบ้านจึงช่วยกันจับควายทองแต่จับควายทองไม่ได้ จึงพากันเรียกคุ้งน้ำวนแห่นี้ว่า “วังควาย” และเรียกพระธาตุจอมหมอกแก้วว่า “พระธาตุจอมหมอกแก้ววังควาย” คุ้งน้ำวนนี้ปัจจุบันมีขนาดเล็กลงเนื่องจาชาวบ้านได้ใช้พื้นที่ทำการเกษตร
ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๗๓ ตรงกับเดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุล ท่านครูบาแก้ว สิริวิชโย (พระครูรัตนวุฒิคุณ) พร้อมด้วยคณะศรัทธาสาธุชนหลายท่านได้ไป กราบนิมนต์ท่านพระคณูบากัญจนะ ลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห้งล้านนาไทย ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดเจริญเมือง อำเภอพาน มาเป็นประธานดำเนินการบูรณะก่อสร้างองค์เจดีย์ครอบใหม่ และมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นองค์เจดีย์สีขาว เนื่องจากเจดีเดิมชำรุด (หลักฐานเป็นแผ่นซีเมนต์จารึกเป็นตัวอักษรล้าน) แต่ถูกทำลายไปแล้ว
ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์โดยซ่อมแซมพร้อมกับได้ทำพิธียกฉัตรเจดีย์และได้กำหนดเป็นประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมหมอกแก้ว โดยกำหนดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือของทุกปี (เดือน ๖ ตาม)ปฏิทิน)
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ พระครูอรุสวัสดิ์ มุนิวฺโส พร้อมกับคณะศิษย์สายพระป่า ได้รับนิมนต์จากคณะศรัทธาให้มาจำพรรษา ณ วัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว ในช่วงที่ท่านพระคุณเจ้าได้จำพรรษาอยู่นั้นได้เป็นผู้นำในการพัฒนาปรับปรุงบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัดร่วมกับศรัทธาผู้ใจบุญทั่วสาระทิศ องค์เจดีย์จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเจดีย์สีขาวเป็นองค์เจดีย์สีทองและมีขนาดสูงใหญ่ขึ้น กระทั้งในปี พ.ศ.๒๕๓๘ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายได้ประกาศให้เป็นวัดพัฒนตัวอย่าง จึงทำให้วัดพระธาตุจอมหมอกแก้วเป็นที่ปูชนียสถานอันสำคัญของอำเภอแม่ลาว และเป็นหนึ่งในจำนวนพระพระธาตุ ๙ จอม อันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดเชียงราย นับวันก็ยิ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วทั้งในเอเชีย แลยุโรป ต่างก็เดินทางมาแสวงบุญและปฏิบัติธรรมมิขาดสายทุกปี สมกับคำขวัญของอำเภอแม่ลาวที่ว่า “แม่น้ำลาวคู่บ้า ห้วยส้านพลับพลาคู่เมือง พระธาตุจอมหมอกแก้วลือเลื่อง นามประเทืองแผ่นดินทอง”
ความเชื่อ
ในการไหว้พรธาตุจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่า อุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำ ถ้ากราบไหวและตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้งหลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้ว และประสบความสำเร็จ
คำบูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
“อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะนตุเม”
การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ (1211) ผ่านทางแยกไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านสามแยกที่จะไปศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้านหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้วอยู่ตรงขวามือ หรือ ตรงข้ามกับองค์การบริหารส่วนตำบลจอมหมอกแก้ว
ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้วเชื่อกันว่าอุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้งหลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ </ref>
อ้างอิง
[แก้]m-culture.in.th