ข้ามไปเนื้อหา

ละครเร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ละครเร่
กำกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
เขียนบทภาณุพันธุ์ / เวตาล
อำนวยการสร้างปริม บุนนาค
นักแสดงนำสุทิศา พัฒนุช
มานพ อัศวเทพ
ดอกดิน กัญญามาลย์
สาหัส บุญ-หลง
หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร
มาลี เวชประเสริฐ
ชรินทร์ นันทนาคร
ล้อต๊อก
จันตรี สาริกบุตร
สมพงษ์ พงษ์มิตร
กนกวรรณ ด่านอุดม
จารุวรรณ ปัญโญภาส
สายัณห์ จันทรวิบูลย์
ประวิตร สุจริตจันทร์ ฯลฯ
กำกับภาพโชน บุนนาค
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ตัดต่อมนัส โตเพาะญาติ
ดนตรีประกอบพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
ดอกดิน กัญญามาลย์
สง่า อารัมภีร์
หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์
หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
นริศ ทรัพย์ประภา
บริษัทผู้สร้าง
อัศวินภาพยนตร์
วันฉาย12 เมษายน พ.ศ. 2512
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ละครเร่ [1] ภาพยนตร์ไทยประกอบเพลง แนวดราม่า ระบบ 35 มม.อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป สีอัศวินอิสต์แมน เสียง(พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์และกำกับโดย ภาณุพันธ์ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล บทภาพยนตร์โดย เวตาล ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นตัวแทนจากประเทศไทย ร่วมงานมหกรรมภาพยนตร์เอเซีย-แปซิฟิค ที่ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ ในปีเดียวกัน ได้รับรางวัลชมเชยด้านกำกับศิลป์

นำเสนอเอกลักษณ์ไทยด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อคิดเกี่ยวกับความสำนึก ความเสียสละและความกตัญญูรู้คุณที่ยังทันสมัยทุกกาลเวลา บวกกับงานสร้างและการแสดงระดับคุณภาพทำให้เป็นงานคลาสสิคอีกเรื่องของอัศวิน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่นับเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีคุณค่าในตัวเองและเจตนารมณ์อย่างชัดเจนของผู้สร้างที่มุ่งเสนอผลงานเพื่อศิลป์อย่างแท้จริง

ช่วงทศวรรษ 2530-2540 เอสทีวิดีโอ เผยแพร่ในรูปแบบตลับแถบวีดิทัศน์ (Video Cassette) ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตราบริษัทจนถึงภาพสุดท้ายขึ้นคำว่า "จบ" และต่อมา บริษัทมูวี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกเป็นวีซีดี (VCD) ซึ่งหลายตอนขาดหายไป รวมทั้งสร้างคำ "อวสาน" ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิคแทน (เข้าใจว่าสาเหตุจากปลายฟิล์มชำรุด)

พ.ศ. 2535 ดาราวิดีโอ สร้างเป็นละครโทรทัศน์ นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ, กมลชนก โกมลฐิติ, บดินทร์ ดุ๊ก, อรอนงค์ ปัญญาวงศ์, ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง รักษ์สุดา สินวัฒนา, สิรคุปต์ เมทะนี, เมตตา รุ่งรัตน์, ชลิต เฟื่องอารมย์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สีเทา, ระจิต ภิญโญวนิช และ หวังเต๊ะ ทางช่อง 7 สี

เรื่องย่อ

[แก้]

คณะละครรำครูทัพ มีบุญเอก (มานพ อัศวเทพ/สันติสุข พรหมศิริ) เป็นตัวชูโรงและขวัญใจแม่ยก คู่กับ กะถิน (สุทิศา พัฒนุช/อรอนงค์ ปัญญาวงศ์) ลูกสาวพ่อครู (หวังเต๊ะ นิมา) เป็นนางเอก ตลอดมา ค่ำวันหนึ่ง แววนภา (จารุวรรณ ปัญโญภาส/รักษ์สุดา สินวัฒนา) ลูกสาวเจ้าของวิกฉายหนัง พบเขาโดยบังเอิญที่ตลาดและแอบชอบจึงพยายามสนับสนุนให้เป็นนักร้องในไนท์คลับที่กรุงเทพโดยอาสาพารับส่งจนมีชื่อเสียง ทำให้การแสดงละครมีปัญหาเกิดเรื่องถึงขั้นต้องลาออกจากคณะ เมื่อขาดพระเอกยอดนิยม คณะละครซบเซา นายทองดำ (ดอกดิน กัญญามาลย์/ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง) ผู้จัดการต้องเอาสมบัติส่วนตัวไปขายเป็นเงินเดือนจ่ายชาวคณะ และใส่ทองเก๊โดยไม่มีใครรู้

ชรินทร์ (ชรินทร์ นันทนาคร/สิรคุปต์ เมทะนี) คู่หมั้นของแววนภา เห็นใจคณะละคร จึงแต่งเพลงให้บุญเอกคิดถึงชีวิตตนเองที่ผ่านมาจนทำให้เขาสะเทือนใจมากและกลับไปอยู่กับคณะละครตามเดิม ขณะที่ทองดำตัดสินใจครั้งสุดท้ายแลกชีวิตกับเงินประกันก้อนใหญ่เพื่อพ่อครูและความอยู่รอดของทุกคนที่ยังต้องมีชีวิตต่อไป

จุดเด่น

[แก้]
  • รวมศิลปการขับร้องและการแสดงประจำชาติที่เปลี่ยนไปเป็นแนวสากลหลากหลายในเมืองไทย ได้แก่ รำเบิกโรงซัดชาตรี ,พรานบุญถวายนางมโนราห์แก่พระสุธน ,มโนราห์บูชายัญ ,เจ้าเงาะ-นางรจนาเสี่ยงพวงมาลัย , เพลงไทยลูกกรุง จังหวะลีลาศด้วยวงดนตรีสากล จนถึงเพลงป๊อบ จังหวะอะโกโก้กับวงสตริงคอมโบ้
  • บรรยากาศงานวัด ,วิกละคร/วิกหนัง ชีวิตไทยริมน้ำ และตลาดของกินย่านห้องแถวพื้นเมือง (ซึ่งอัศวินมักสอดแทรกเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทยแง่มุมต่างๆไว้ในสองเรื่องก่อนหน้า ได้แก่ เรือนแพ และ เป็ดน้อย )
  • กำกับภาพ (โชน บุนนาค กับ พูนสวัสดิ์ ธีมากร) และจัดแสง (วิรัช วาสนาส่ง) สวยงามมีมิติเป็นธรรมชาติ ซึ่งอัศวินให้ความสำคัญด้านนี้กับทุกเรื่องที่สร้าง
  • ระบบบันทึกเสียงเวสเทร็กซ์ ( Westrex Recording System) ระดับสตูดิโอฮอลลีวูด ที่มีเฉพาะห้องบันทึกเสียงอัศวิน
  • ฝีมือการแสดงของดาราอาวุโสของอัศวินตั้งแต่ยุคละครเวที ได้แก่ สาหัส บุญ-หลง ,มาลี เวชประเสริฐ ,จันตรี สาริกบุตร ,ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ตลอดจนดารานักแสดงจอเงินจอแก้วรุ่นหลัง
  • ความสามารถในการรำของบรรดานักแสดงนำที่ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมเต็มที่ในเวลาจำกัดก่อนการถ่ายทำ (เหตุผลส่วนหนึ่งของการสร้างดาราใหม่ที่เหมาะกับบุคลิกตัวละครและมีความพร้อมเรื่องเวลา)

เกร็ด

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่องแรกของ มานพ อัศวเทพ ในฐานะดารานำ สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จารุวรรณ ปัญโญภาส ดาราร่วมแสดง และ กนกวรรณ ด่านอุดม ดาราจอแก้ว-ศิษย์นาฏศิลป์ ช่อง 4 บางขุนพรหม
  • ยุพน ธรรมศรี และ จุรี โอศิริ พากย์เสียงดารานำชายและหญิง ตามลำดับ
  • ดอกดิน กัญญามาลย์, สาหัส บุญ-หลง, หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชรินทร์ นันทนาคร, กนกวรรณ ด่านอุดม พากย์เสียงตนเอง
  • ธานินทร์ อินทรเทพ ร้องเพลงแทนเสียง มานพ อัศวเทพ
  • สง่า อารัมภีร และ ปรีชา เมตไตรย์ ผู้แต่งเพลงและนักดนตรี เป็นคามิโอ (cameo) นักเปียโนในไนท์คลับ
  • ลมุล ยมะคุปต์ ครูนาฏศิลป์อาวุโส แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ ผู้ฝึกท่ารำนักแสดงก่อนการถ่ายทำ เป็นคามิโอ (cameo) สตรีสูงวัยผู้ช่วยงานหลังโรงละคร
  • เพลง เรือนแพ ,ริน ริน ริน ,หากรู้สักนิด ,ในฝัน มาจากละครและภาพยนตร์ก่อนหน้าของอัศวินและไทยฟิล์ม
  • เพลง ลครชีวิต แต่งคำร้องโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ร้องโดย กนกวรรณ ด่านอุดม (ในเรื่อง) และ จินตนา สุขสถิตย์ (ตอนจบ)
  • อรวรรณ-ระวิวรรณ สร้อยหงษ์พราย คู่นักร้องดาวเต้นชื่อดังแห่งยุค ปรากฏตัวครั้งแรกครั้งเดียวบนจอเงินในฉากเพลงป๊อบ Gibbon says / ชะนีเรียกผัว
  • ใบปิดภาพยนตร์ เป็ดน้อย และ จำปูน ของผู้สร้างเรื่องนี้ ใช้ประกอบฉากด้านหลังที่ขายตั๋วหน้าวิก
  • ดอกดิน กัญญามาลย์ เคยมีประสบการณ์ใช้ชีวิตในคณะละครเร่ ก่อนเข้าสู่วงการภาพยนตร์[2] และได้แสดงเป็นผู้จัดการคณะละคเร่ โดยไม่รับค่าตัวเพื่อถวายเสด็จพระองค์ชายใหญ่ผู้ทรงมีอุปการคุณ
  • คำพูดที่แม่ยก (มาลี เวชประเสริฐ) มัวแต่มองพระเอกจนเผลอพูดกับแม่ค้าขายขนมว่า "พ่อบุญเอกสองห่อ" อาจมีเค้ามาจากเรื่องของพระเอกยี่เกสวยประจำวิกโรงหวยสามยอดชื่อ "พ่อเวก" ที่เรียกกันติดปากว่า "พ่อเวกสองห่อ" ราว พ.ศ. 2447-2448[3]
  • นางเอกคณะละครเร่ ฉบับภาพยนตร์ มีชื่อในไตเติ้ลและคำพูดของคนรอบข้างว่า กะถิน (ฉบับละครทีวี ชื่อ กระถิน ) ส่วนนางรองคือ มารำ นั้น เสด็จพระองค์ชายใหญ่ ทรงพระนิพนธ์ให้มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่าบทนำและต้องใช้ความสามารถสูง แสดงโดย กนกวรรณ ด่านอุดม (จอเงิน) และ กมลชนก โกมลฐิติ (จอแก้ว) ตามลำดับ

รางวัล

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาพยนตร์ ละครเร่ อัศวินภาพยนตร์ 2512
  2. อิงคศักดิ์ เกตุหอม ,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน ,หอภาพยนตร์ชาติ(องค์การมหาชน), 2554 ISBN 978-616-543-135-4 หน้า 41-42
  3. ยุคเพลงหนังและละครในอดีต กาญจนาคพันธุ์ สำนักพิมพ์เรืองศิลป์ 2518 หน้า 9,11,14