รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566
รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่ภูมิประเทศของประเทศกาบอง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อาลี บองโก ออนดิมบา โรซ คริสตียาน ราปงดา อาแล็ง โกลด บีลี บี อึนเซ | บริส กลอแตร์ ออลีกี อึงแกมา |
เกิดรัฐประหารขึ้นในประเทศกาบองเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ไม่นานหลังจากที่มีการประกาศว่าอาลี บองโก ออนดิมบา ประธานาธิบดีที่กำลังดำรงตำแหน่ง ชนะการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม
รัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองกาบองยาวนาน 56 ปีของตระกูลบองโก รวมถึงยังเป็นการก่อรัฐประหารสำเร็จเป็นครั้งที่แปดในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางนับตั้งแต่ปี 2020 ถัดจากประเทศมาลี (สองครั้งเมื่อปี 2020 และปี 2021), ชาด,[2] กินี, บูร์กินาฟาโซ (สองครั้งเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกันยายน 2022) และไนเจอร์[3]
ภูมิหลัง
[แก้]นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในปี 1960 ตระกูลบองโกเป็นผู้ปกครองกาบองเป็นหลักมาตลอด เริ่มต้นจากประธานาธิบดีโอมาร์ บองโก ในปี 1967[4] ตามด้วยอาลี บองโก ออนดิมบา บุตรชายซึ่งสืบทอดตำแหน่งหลังจากโอมาร์เสียชีวิตในปี 2009 และชนะเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งปี 2016 ซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้งและนำไปสู่ความพยายามก่อรัฐประหารในปี 2019 แต่ไม่สำเร็จ[5] ภายใต้การปกครองของบองโก ประเทศกาบองถูกกล่าวหาว่าเต็มไปด้วยการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการเอื้อผลประโยชน์แก่เครือญาติและพวกพ้อง[6][7][8][9][10][11][12] การเลือกตั้งหลายครั้งได้รับรายงานการฉ้อโกงหรือสิ่งผิดปกติ[13][14][15] และการเลือกตั้งปี 2016 ก็ถูกตั้งข้อสงสัยอย่างมากจนนำไปสู่การประท้วงในประเทศ ดังเช่นที่พบในผลการเลือกตั้งของจังหวัดโอโตกูเอบ้านเกิดของบองโก ซึ่งรายงานผลคะแนนของบองโกอยู่ที่ 95.5% ในการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ 99.9%[13] ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญกาบองและกฎหมายการเลือกตั้งถูกเปลี่ยนไปมาหลายครั้งเพื่อยกเลิกการจำกัดวาระดำรงตำแหน่ง เปลี่ยนระบบการลงคะแนนเพื่อแสวงผลประโยชน์จากฝ่ายค้านที่แตกกลุ่ม และเปลี่ยนกำหนดเวลาการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติและการเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่าพรรคฝ่ายค้านจะไม่สามารถผนึกกำลังกันได้ทันหลังจากที่พรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "General Nguema appointed transitional president of Gabon following coup". Anadolu Agency. Kigali, Rwanda. 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ "Chad military council names transitional government". Aljazeera (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ Kwon, Jake; Yeung, Jessie; Stambaugh, Alex; Kennedy, Niamh; Halasz, Stephanie; Noor Haq, Sana (30 August 2023). "Gabon military officers claim to have seized power after election". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ "Gabon President Bongo detained in coup attempt after winning third term". Al Jazeera. 30 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ Obangome, Gerauds Wilfried; Ross, Aaron (12 January 2019). Donovan, Kirsten (บ.ก.). "Gabon's Bongo names new prime minister after thwarted coup attempt". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
- ↑ "The corrupt nepotist who ruled Gabon for 40 years". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 8 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2022. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ Chrisafis, Angelique (30 December 2010). "Omar Bongo pocketed millions in embezzled funds, claims US cable". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ "France charges five of Gabon ex-president Bongo's children with embezzlement, corruption". Le Monde (ภาษาอังกฤษ). 29 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ Symons, Emma-Kate (1 May 2015). "A fight inside Gabon's kleptocratic dynasty exposes the complicity of French business". Quartz (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ Toto, Elodie. "One family has led Gabon for 55 years. Can this election bring a new era?". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ "Attempted coup in Gabon aims to remove President Ali Bongo from power and end 50-year dynasty". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 30 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ Halvorssen, Thor; Gladstein, Alex (19 September 2016). "Why Did the Atlantic Council Even Consider Giving African Dictator Ali Bongo Ondimba a 'Global Citizen Award'?". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ 13.0 13.1 "Gabon's parliament set ablaze after President Bongo wins disputed election". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-01. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
- ↑ Yates, Douglas (15 June 2019). "The Dynastic Republic of Gabon". Cahiers d'études africaines (234): 483–513. doi:10.4000/etudesafricaines.25961. ISSN 0008-0055. S2CID 182502199. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ "Gabon: Freedom in the World 2023 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
- ↑ Yates, Douglas (17 August 2023). "Gabon: how the Bongo family's 56-year rule has hurt the country and divided the opposition". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.