ข้ามไปเนื้อหา

รหัสคิวอาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รหัสคิวอาร์เก็บข้อมูลยูอาร์แอลของหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
ผนังอาคารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น แสดงภาพรหัสคิวอาร์สำหรับการโฆษณา

รหัสคิวอาร์ (อังกฤษ: QR code ย่อจาก Quick Response code) หรือ คิวอาร์โค้ด เป็นเครื่องหมายการค้าของบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือบาร์โค้ดสองมิติ) ถูกคิดค้นโดยมาซาฮิโระ ฮาระ วิศวกรชาวญี่ปุ่นในปี 1994[1] เดิมออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น บาร์โค้ดเป็นป้ายสำหรับให้เครื่องอ่านด้วยแสงที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของที่ตัวรหัสติดอยู่ รหัสคิวอาร์มีมาตรฐานของหลักการเข้ารหัส 4 แบบ (ตัวเลข อักขระอักษรเลข ไบต์/เลขฐานสอง และคันจิ) สำหรับเก็บข้อมูลดิบ[2]

รหัสคิวอาร์ยังเป็นที่นิยมนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากความสามารถในการอ่านเร็วและพื้นที่เก็บข้อมูลที่มากกว่าเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดรหัสผลิตภัณฑ์สากล8114 รหัสคิวอาร์นำมาใช้ในการตามรอยผลิตภัณฑ์ การระบุสิ่งของ การระบุเวลา การจัดการเอกสาร และการตลาดทั่วไป[3]

รหัสคิวอาร์ประกอบด้วยมอดูลสีดำ (จุดสี่เหลี่ยม) จัดวางในกริดบนพื้นหลังสีขาว ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องมืออ่านภาพ (เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกน เป็นต้น) และประมวลผลด้วยกระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาดรี้ด-โซโลมอน จนกระทั่งภาพถูกแปลความหมายอย่างเหมาะสม และถอดออกมาจากรหัสที่นำเสนอเป็นภาพในแนวตั้งและแนวนอนจนได้ข้อมูลที่ต้องการ[3]

ความจุ

[แก้]
รหัส ประเภท จำนวนบิตต่อตัวอักษร ความจุข้อมูลรหัสคิวอาร์[4]
0001 ตัวเลขอย่างเดียว 10บิตต่อ3ตัวออักษร มากสุด 7,089 ตัวอักษร
0010 ตัวอักษร ผสม ตัวเลข 11บิตต่อ2ตัวอักษร มากสุด 4,296 ตัวอักษร
0100 ไบนารี (8 บิต) 8บิตต่อตัวอักษร มากสุด 2,953 ไบต์
1000 คันจิ/คะนะ 13บิตต่อตัวอักษร มากสุด 1,817 ตัวอักษร
ความจุการแก้ไขความผิดพลาด
Level L 7% ของรหัสที่สามารถทำให้กลับมาสมบูรณ์ได้
Level M 15% ของรหัสที่สามารถทำให้กลับมาสมบูรณ์ได้
Level Q 25% ของรหัสที่สามารถทำให้กลับมาสมบูรณ์ได้
Level H 30% ของรหัสที่สามารถทำให้กลับมาสมบูรณ์ได้

วิธีเข้ารหัส

[แก้]
รหัส ตัวอักษรผสมตัวเลข
รหัส อักษร รหัส อักษร รหัส อักษร รหัส อักษร รหัส อักษร
00 0 09 9 18 I 27 R 36 วรรค
01 1 10 A 19 J 28 S 37 $
02 2 11 B 20 K 29 T 38 %
03 3 12 C 21 L 30 U 39 *
04 4 13 D 22 M 31 V 40 +
05 5 14 E 23 N 32 W 41
06 6 15 F 24 O 33 X 42 .
07 7 16 G 25 P 34 Y 43 /
08 8 17 H 26 Q 35 Z 44 :


ลิขสิทธิ์

[แก้]

รหัสคิวอาร์ไม่มีลิขสิทธิ์ แต่กำหนดและเผยแพร่ ในลักษณะของมาตรฐานไอเอสโอ โดยทางเดนโซเป็นผู้ถือสิทธิบัตรของรหัสคิวอาร์ แต่มิได้สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด[5]

ประโยชน์ในการนำไปใช้งานสื่อสารข้อมูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "他嫌掃條碼太累…拿「圍棋創造QR碼」 就此改變世界25年". ettoday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  2. "QR Code features". Denso-Wave. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 3 October 2011.
  3. 3.0 3.1 "QR Code Essentials". Denso ADC. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  4. "About 2D Code | QR Code.com". Denso-wave.com. สืบค้นเมื่อ 2009-04-23.
  5. "QR Code Standardization | QR Code.com". Denso-wave.com. สืบค้นเมื่อ 2009-04-23.