ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2016
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16
หลังต่อเวลาพิเศษ
เรอัลมาดริด ชนะ ลูกโทษ 5–3
วันที่28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
สนามซานซีโร, มิลาน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
เซร์คีโอ ราโมส (เรอัลมาดริด)[1]
ผู้ตัดสินมาร์ค แคลทเทนเบิร์ก (อังกฤษ)
ผู้ชม71,942 คน
สภาพอากาศมีเมฆเป็นส่วนมาก
27 °C (81 °F)
45% ความชื้นสัมพัทธ์[2]
2015
2017

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2016 เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 โดยเป็นฤดูกาลที่ 61 สำหรับการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรปที่จัดโดยยูฟ่า และเป็นฤดูกาลที่ 24 นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากยูโรเปียบแชมเปียนคลับคัพ มาเป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยการแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นที่ซานซีโร ในมิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[3]

โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์ในการลงเล่นยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2016 กับทีมที่ชนะเลิศของการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2015–16 อีกทั้งยังได้สิทธิ์ในการลงเล่นฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 ในรอบรองชนะเลิศ ในนามตัวแทนของยูฟ่า

สนามแข่งขัน

[แก้]
ซานซีโร ได้รับการเลือกเป็นสนามแข่งขันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557

ซานซีโร หรือชื่ออย่างเป็นทางการ "สตาดีโอจูเซปเปเมอัซซา" ได้รับการเลือกให้เป็นสนามแข่งขันในนัดชิงชนะเลิศจากคณะกรรมการของยูฟ่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557 ที่นียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3] โดยนับเป็นครั้งที่ 4 สำหรับการจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปที่สนามนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ใช้จัดแข่งขันในฤดูกาล 1965, 1970 และ 2001

ซานซีโรสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 และเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2469 โดยเป็นสนามเหย้าของเอซี มิลาน และถูกขายให้กับเมืองมิลานในปี พ.ศ. 2478 หลังจากนั้น สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน ได้ขอเช่าสนาม ในปี พ.ศ. 2490 ทำให้นับตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมาสนามนี้กลายเป็นสนามเหย้าของทั้ง 2 สโมสร โดยอินเตอร์ได้แชมป์ยูโรเปียนคัพครั้งแรกในซานซีโร เมื่อปี พ.ศ 2508 อีกทั้งสนามนี้ยังใช้ในการจัดแข่งขันฟุตบอลโลก 1934, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1980 และ ฟุตบอลโลก 1990 โดยปัจจุบันสามารถจุผู้ชมได้ 80,018 คน แต่ถูกลดเหลือ 80,000 ที่นั่งสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในรายการของยูฟ่า[3]

นัดชิงชนะเลิศ 2016 นี้เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันจัดที่ซานซีโร และสโมสรทั้ง 2 ที่ใช้เป็นสนามเหย้า ไม่ได้ลงเล่นในรายการนี้ ซึ่งมิลานและอินเตอร์ ไม่สามารถจบฤดูกาลด้วย 3 อันดับแรกที่ได้โควตาสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ได้ในเซเรียอา ฤดูกาล 2014–15

ก่อนการแข่งขัน

[แก้]

ทูต

[แก้]

ทูตสำหรับการแข่งขันครั้งนี้คือคาเบียร์ ซาเนตตี นักฟุตบอลอดีตทีมชาติอาร์เจนตินา ซึ่งเขาเคยได้แชมป์ในการแข่งขันรายการนี้กับ อินเตอร์มิลาน ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2010 กับ บาเยิร์นมิวนิก

สัญลักษณ์

[แก้]

ยูฟ่าได้เปิดตัวสัญลักษณ์หรือโลโก้สำหรับการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ที่โมนาโก ก่อนการจับสลากแบ่งสายรอบแบ่งกลุ่ม โดยสัญลักษณ์มีกัลเลเรียวิตตอริโอเอมานูเอเลดูเอ ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเป็นองค์ประกอบหลัก[4]

การจำหน่ายตั๋ว

[แก้]

กับความจุของสนามอยู่ที่ 71,500, ปริมาณของตั๋วจำนวน 46,000 ใบที่แจกจ่ายให้กับแฟนบอลและสาธารณชนทั่วไป, กับสองทีมคู่ชิงชนะเลิศที่ได้รับมาแต่ละทีมจำนวน 20,000 ใบ และคั๋วจำนวน 6,000 ได้ใช้สำหรับการจำหน่ายให้กับแฟนบอลทั่วโลกผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ UEFA.com ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 14 มีนาคม ค.ศ. 2016 ในหมวดหมู่ 4 ราคา: €440, €320, €160, และ €70. ตั๋วที่เหลือจะถูกแจกจ่ายให้กับคณะกรรมการการจัดงานท้องถิ่นยูฟ่า, ยูฟ่าและชาติสมาชิกต่างๆ, ผู้สนับสนุนหลักทางการค้าและสถานีการถ่ายทอดสด, และให้บริการโปรแกรมการบริการขององค์กร.[5]

พิธีเปิดการแข่งขัน

[แก้]

นักร้องอเมริกัน อลิเชีย คีส์ ได้มีส่วนร่วมในพิธีเปิดการแข่งขัน, ครั้งแรกที่ได้ร่วมการแสดงดนตรีสด.[6] เสียงร้องชาวอิตาลี อันเดรอา โบเชลลี เป็นผู้ขับร้อง เพลงประจำการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.[7]

เหตุการณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ

[แก้]

หมายเหตุ: (H: เหย้า; A: เยือน).

สเปน เรอัลมาดริด รอบ สเปน อัตเลติโกเดมาดริด
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ 4–0 (H) นัดที่ 1 ตุรกี กาลาตาซาราย 2–0 (A)
สวีเดน มัลเมอ เอฟเอฟ 2–0 (A) นัดที่ 2 โปรตุเกส ไบฟีกา 1–2 (H)
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 0–0 (A) นัดที่ 3 คาซัคสถาน อัสตานา 4–0 (H)
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 1–0 (H) นัดที่ 4 คาซัคสถาน อัสตานา 0–0 (A)
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ 4–3 (A) นัดที่ 5 ตุรกี กาลาตาซาราย 2–0 (H)
สวีเดน มัลเมอ เอฟเอฟ 8–0 (H) นัดที่ 6 โปรตุเกส ไบฟีกา 2–1 (A)
แชมป์กลุ่ม A
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 สเปน เรอัลมาดริด 6 16
2 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 6 13
3 ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ 6 3
4 สวีเดน มัลเมอ 6 3
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า
ตารางคะแนน แชมป์กลุ่ม C
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 6 13
2 โปรตุเกส ไบฟีกา 6 10
3 ตุรกี กาลาทาซาไร 6 5
4 คาซัคสถาน อัสตานา 6 4
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า
คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง
อิตาลี โรมา 4–0 2–0 (A) 2–0 (H) รอบ 16 ทีมสุดท้าย เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 0–0 (8–7 p) 0–0 (A) 0–0 (a.e.t.) (H)
เยอรมนี ว็อลฟส์บูร์ก 3–2 0–2 (A) 3–0 (H) รอบก่อนรองชนะเลิศ สเปน บาร์เซโลนา 3–2 1–2 (A) 2–0 (H)
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 0–0 (A) 1–0 (H) รอบรองชนะเลิศ เยอรมนี บาเยิร์นมิวนิก 2–2 (a) 1–0 (H) 1–2 (A)

การแข่งขัน

[แก้]

สำหรับ "ทีมเหย้า" จะมีการจับสลากหลังจากการจับสลากรอบรองชนะเลิศไปแล้ว ซึ่งจะมีการจับสลากในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 ที่สำนักงานใหญ่ของยูฟ่า ณ เมืองนียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[8]

เรอัลมาดริด
อัตเลติโกเดมาดริด
GK 1 คอสตาริกา เกย์ลอร์ นาบัส โดนใบเหลือง ใน 47th นาที 47'
RB 15 สเปน ดาเนียล การ์บาคัล โดนใบเหลือง ใน 11th นาที 11' Substituted off in the 52nd นาที 52'
CB 4 สเปน เซร์คีโอ ราโมส (c) โดนใบเหลือง ใน 90+3rd นาที 90+3'
CB 3 โปรตุเกส เปปี โดนใบเหลือง ใน 112th นาที 112'
LB 12 บราซิล มาร์เซลู
DM 14 บราซิล กาเซมีรู โดนใบเหลือง ใน 79th นาที 79'
RM 19 โครเอเชีย ลูคา โมดริช
LM 8 เยอรมนี โทนี โครส Substituted off in the 72nd นาที 72'
RF 11 เวลส์ แกเร็ธ เบล
CF 9 ฝรั่งเศส การีม แบนเซมา Substituted off in the 77th นาที 77'
LF 7 โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด
ตัวสำรอง:
GK 13 สเปน กีโก กาซียา
DF 6 สเปน นาโช
DF 23 บราซิล ดานีลู โดนใบเหลือง ใน 93rd นาที 93' Substituted on in the 52nd minute 52'
MF 10 โคลอมเบีย ฮาเมส โรดรีเกซ
MF 18 สเปน ลูกัส บัซเกซ Substituted on in the 77th minute 77'
MF 22 สเปน อิสโก Substituted on in the 72nd minute 72'
FW 20 สเปน เคเซ
ผู้จัดการทีม:
ฝรั่งเศส ซีเนดีน ซีดาน
GK 13 สโลวีเนีย ยัน ออบลัก
RB 20 สเปน ควนฟรัน
CB 15 มอนเตเนโกร สเตฟาน ซาวิช
CB 2 อุรุกวัย เดียโก โกดิน
LB 3 บราซิล ฟีลีปี ลูอีช Substituted off in the 109th นาที 109'
RM 17 สเปน ซาอุล ญีเกซ
CM 14 สเปน กาบี (c) โดนใบเหลือง ใน 90+3rd นาที 90+3'
CM 12 อาร์เจนตินา ออกุสโต เฟร์นันเดซ Substituted off in the 46th นาที 46'
LM 6 สเปน โกเก Substituted off in the 116th นาที 116'
SS 7 ฝรั่งเศส อ็องตวน กรีแยซมาน
CF 9 สเปน เฟร์นันโด ตอร์เรส โดนใบเหลือง ใน 61st นาที 61'
ตัวสำรอง:
GK 1 สเปน มีเกล อังเคล โมยา
DF 19 ฝรั่งเศส ลูกัส เอร์นันเดซ Substituted on in the 109th minute 109'
DF 24 อุรุกวัย โคเซ คีเมเนซ
MF 5 โปรตุเกส ตีอากู
MF 21 เบลเยียม ยานิก การ์รัสโก Substituted on in the 46th minute 46'
MF 22 กานา ทอมัส พาร์ทีย์ Substituted on in the 116th minute 116'
FW 16 อาร์เจนตินา อังเคล กอร์เรอา
ผู้จัดการทีม:
อาร์เจนตินา เดียโก ซีเมโอเน

แมนออฟเดอะแมตช์:
เซร์คีโอ ราโมส (เรอัลมาดริด)[1]


ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ไซมอน เบ็ค (อังกฤษ)
เจค คอลลิน (อังกฤษ)
ผู้ตัดสินที่สี่:
วิคเตอร์ คัสไซ (ฮังการี)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินหลังประตู:
แอนโธนี เทย์เลอร์ (อังกฤษ)
อันเดร มาร์ริเนอร์ (อังกฤษ)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:
สจ๊วร์ต เบิร์ต (อังกฤษ)

ข้อมูลในการแข่งขัน[10]

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเสมอกันในเวลาปกติ
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • ตัวสำรองของแต่ละทีมมีรายชื่อ 7 คน

สถิติ

[แก้]

หลังเกมการแข่งขัน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Spot-on Real Madrid defeat Atlético in final again". UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "Tactical Lineups – Final – Saturday 28 May 2016" (PDF). UEFA.org. Union of European Football Associations. 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "Milan to host 2016 UEFA Champions League final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 18 September 2014. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  4. "2016 UEFA Champions League final identity launched". UEFA.org. 27 August 2015.
  5. "2016 UEFA Champions League final ticket sales launch". UEFA.org. 1 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-07. สืบค้นเมื่อ 2016-06-01.
  6. "Alicia Keys to perform at UEFA Champions League final". UEFA. 27 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-06-01.
  7. "Andrea Bocelli to perform before final". UEFA.com. 26 May 2016.
  8. "Draws — Semi-finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
  9. "Full Time Report Final – Real Madrid v Atlético Madrid" (PDF). UEFA.org. Union of European Football Associations. 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "Regulations of the UEFA Champions League 2015/16 Season" (PDF). UEFA.com. 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "Team statistics" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]