มาริเอะ คนโด
มาริเอะ คนโด | |
---|---|
近藤 麻理恵 | |
คนโดใน ค.ศ. 2016 | |
เกิด | โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1984
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยสตรีคริสเตียนโตเกียว |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1997–ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | การจัดบ้านด้วยวิธีการ "คมมาริ" |
ผลงานเด่น | ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว |
เว็บไซต์ | konmari |
มาริเอะ คนโด (ญี่ปุ่น: 近藤 麻理恵; โรมาจิ: Kondō Marie[1]) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดระเบียบภายในบ้าน นักเขียน และพิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่น[2]
คนโดเขียนหนังสือเกี่ยวกับการจัดระเบียบจำนวน 4 เล่ม ซึ่งมียอดขายรวมทั่วโลกหลายล้านเล่ม และแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอื่น ๆ เช่นเกาหลี จีน สเปน อินโดนีเซีย[3] อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน สวีเดน โปรตุเกส กาตาลา และอังกฤษ[2] โดยหนังสือ ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว[4] (ญี่ปุ่น: 人生がときめく片づけの魔法; โรมาจิ: Jinsei ga Tokimeku Katazuke no Mahō; ทับศัพท์: จินเซงะโทกิเมกุคาตาซูเกะโนะมาโฮ) ตีพิมพ์จำหน่ายในมากกว่า 30 ประเทศ[5] ใน ค.ศ. 2019 เน็ตฟลิกซ์ได้เผยแพร่ซีรีส์ Tidying Up with Marie Kondo ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในสหรัฐและสหราชอาณาจักรอย่างมาก และเธอยังได้รับเสนอชื่อให้เข้ารับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขาพิธีกรยอดเยี่ยมประเภทรายการเรียลลิตีโชว์หรือรายการแข่งขันในปีเดียวกัน[6][7]
คนโดถูกจัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด 100 อันดับแรกใน ค.ศ. 2015 โดยนิตยสารไทม์[8]
ประวัติ
[แก้]คนโดเล่าในบทสัมภาษณ์ในนิตยสารเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่าเธอสนใจการจัดระเบียบตั้งแต่สมัยเด็ก[5] โดยในขณะที่เพื่อนในชั้นเรียนของคนโดเล่นกีฬากันในคาบพลศึกษา ตัวเธอกลับสนใจจัดหนังสือบนชั้นวางในห้องเรียน[9] และเธอมักจะอาสาเป็นคนจัดหนังสือในห้องเรียนเป็นประจำ ครั้งหนึ่งเธอเครียดกับการจัดระเบียบสิ่งของจนสลบไปประมาณสองชั่วโมง ขณะที่เธอกำลังฟื้นตัว เธอรู้สึกว่ามีเสียงจากภายในบอกให้ลองมองดูอีกครั้งให้ดี ก่อนที่เธอจะระลึกได้ว่าก่อนหน้านี้เธอสนใจแค่เพียงว่าจะทิ้งของชิ้นไหน แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่เธอควรทำคือสนใจว่าของชิ้นไหนที่ควรเก็บไว้ เลือกสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสุข นั่นคือหลักการจัดระเบียบ[10]
เธอทำหน้าที่เป็นมิโกะในศาลเจ้าชินโตเป็นเวลาห้าปี[10] เธอเริ่มกิจการรับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดระเบียบเมื่ออายุได้ 19 ปี โดยในขณะนั้นเธอกำลังศึกษาด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยสตรีคริสเตียนโตเกียว[11] เธอเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับการจัดระเบียบภายในบ้านในมุมมองของสถานะเพศ[12]
คนโดแต่งงานกับทากูมิ คาวาฮาระใน ค.ศ. 2012[5][13] โดยตอนที่ทั้งสองเริ่มคบกันนั้น คาวาฮาระทำงานในแผนกการขายที่บริษัทแห่งหนึ่งในโอซากะ ก่อนที่คาวาฮาระจะลาออกจากงานและผันตัวมาเป็นผู้จัดการให้กับคนโด[14] ทั้งคู่มีลูกสาวสองคนได้แก่ซัตสึกิและมิโกะ[13][15] หลังจากแต่งงานแล้วทั้งสองได้ย้ายไปอยู่โตเกียวก่อนจะย้ายไปแคลิฟอร์เนียในเวลาต่อมา[16]
วิธีคมมาริ
[แก้]วิธีการจัดบ้านของคนโดมีชื่อเรียกว่าวิธีคมมาริ (ญี่ปุ่น: こんまり; โรมาจิ: KonMari) ซึ่งย่อมาจากชื่อของเธอ วิธีคมมาริเริ่มจากการนำของทั้งหมดที่มีมารวมกัน โดยไล่เรียงไปทีละหมวดหมู่ ก่อนที่จะเลือกเก็บเฉพาะสิ่งที่กระตุ้นให้รู้สึกมีความสุข (ญี่ปุ่น: ときめく; โรมาจิ: tokimeku)[17] ก่อนจะหาที่อยู่ให้กับของที่เลือกเก็บไว้[18][19] คนโดแนะนำว่าให้เริ่มจากการทิ้งอะไรก็ตามที่ไม่ได้กระตุ้นให้รู้สึกมีความสุขไปอย่างทันทีและสิ้นเชิง และพิจารณาของทุกชิ้นที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ไม่ว่าจะก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ใดในบ้านก็ตาม[20]
เธอกล่าวว่าวิธีการของเธอได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโต[21] การทำความสะอาดและจัดระเบียบสิ่งของนั้นสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการฝึกตนในหลักศาสนาชินโต ซึ่งเชื่อมโยงกับพลังและจิตวิญญาณของสิ่งของต่าง ๆ หรือคามิ และครรลองการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องหรือคันนางาระ
"การให้คุณค่ากับสิ่งของที่มีอยู่ การปฏิบัติกับสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ละทิ้งได้แต่มีคุณค่าไม่ว่าแท้จริงแล้วจะมีราคาเท่าใดก็ตาม และการจัดแสดงสิ่งของเพื่อให้เปิดเผยคุณค่าออกมา ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตในแบบชินโต"[22]
สื่อ
[แก้]หนังสือ ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว ถูกดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์สองตอนใน ค.ศ. 2013[23] ในขณะที่ตัวคนโดเองก็ได้บรรยายและปรากฏตัวทางโทรทัศน์หลายครั้ง[2][10] นอกจากนี้เธอยังเผยแพร่วิดีโอสาธิตวิธีการพับเสื้อผ้าให้ดูดีที่สุดอีกด้วย[18]
เน็ตฟลิกซ์ได้เผยแพร่ซีรีส์ ไทดีอิงอัปวิทมาริเอะ คนโด (อังกฤษ: Tidying Up with Marie Kondo)[24] โดยในแต่ละตอน คนโดจะเดินทางไปกับมาริเอะ อีดะ (ญี่ปุ่น: 飯田まりえ; โรมาจิ: Iida Marie) ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่าม[25] ทั้งสองเข้าไปเยี่ยมบ้านของครอบครัวชาวอเมริกันและช่วยจัดระเบียบภายในบ้านด้วยวิธีคมมาริ เธอได้รับความนิยมอย่างมากจากซีรีส์ดังกล่าว โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทำอินเทอร์เน็ตมีมเกี่ยวกับเธอเป็นจำนวนมาก[26][27] มีมหนึ่งที่เป็นคลิปขณะที่เธอกำลังพูดว่า "ฉันชอบความยุ่งเหยิง" ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในมีมที่ดีที่สุด 10 อันดับแรกแห่ง ค.ศ. 2019 โดยนิตยสารไทม์[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stern, Claire (23 January 2016). "Who Is Marie Kondo? 7 Things You Might Not Know About the Japanese Decluttering Guru". InStyle. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Kissing Your Socks Goodbye: Home Organization Advice from Marie Kondo". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- ↑ "Gramedia.com – Marie Kondo, "The Life Changing Magic Of Tidying Up" (Indonesian version)". Gramedia Indonesia – Online books. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-16. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
- ↑ "ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว". ซีเอ็ดยูเคชั่น. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Maloney, Jennifer; Fujikawa, Megumi (26 February 2015). "Marie Kondo and the Cult of Tidying Up". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
- ↑ Du, Lisa; Reynolds, Isabel; Reinicke, Carmen (29 January 2019). "Marie Kondo's Tidying Up Won Netflix. Next? Cleaning Consultants". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
- ↑ Kelly, Tamara (18 January 2019). "John Lewis is selling 47% more of this thanks to the Marie Kondo effect". Ideal Home. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
- ↑ Jamie Lee Curtis (2015). "Marie Kondo". Time Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.
- ↑ Maldonado, Camilo (22 Jan 2019). "How To Use The KonMari Method". The Finance Twins (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 Apr 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Marie Kondo is the maiden of mess". Theaustralian.com.au. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- ↑ Maguire, Katy (7 July 2016). "6 surprising things about Marie Kondo and her life-changing method". Well+Good LLC. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
- ↑ Aihara, Hitoshi (13 May 2015). "こんまりキレイ術の心は感謝 31カ国200万部超". Nikkan Sports. Retrieved 11 February 2019.
- ↑ 13.0 13.1 Fujikawa, Megumi (9 August 2017). "Should You Kondo Your Kids?". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
...2-year-old Satsuki Younger sister Miko, 10 months, Ms. Kondo’s husband, Takumi Kawahara, 33, ...
- ↑ Nilles, Billy (24 January 2019). "How Marie Kondo's Obsession With Organizing Built a Tidy Empire". E! Online. สืบค้นเมื่อ 27 January 2019.
- ↑ Tonya C. Snyder. The real reasons Marie Kondo’s life-changing magic doesn't work for parents. The Washington Post, 14 January 2016.
- ↑ "As Marie Kondo gets her own Netflix show, can she help me tidy up?". iNews. 31 December 2018. สืบค้นเมื่อ 12 January 2019.
- ↑ "Japanese-English translation: tokimeku: Dictionary". kanjijapanese.com. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
- ↑ 18.0 18.1 "Japan's 'queen of clean' promotes benefits of a tidy home". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- ↑ "How KonMari's phenomenal book can help put your house in order". Japantimes.co.jp. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- ↑ Kondo, Marie (2014). the life-changing magic of tidying up. New York: Ten Speed Press. pp. 63–150. ISBN 978-1-60774-730-7.
- ↑ Demetriou, Danielle (16 January 2016). "Japan's decluttering guru says she is on a mission to 'organise the world'". Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 14 January 2019.
- ↑ Dilloway, Margaret (2019-01-22). "What White, Western Audiences Don't Understand About Marie Kondo's 'Tidying Up'". Huffington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-27.
- ↑ "人生がときめく片づけの魔法". ntv.co.jp. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
- ↑ "5 Ways Marie Kondo Can Declutter Your Home And Help You Reach Your Financial Goals". Forbes.com. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ Sophia Mitrokostas (30 January 2019). "Marie Kondo's interpreter reveals what it's really like working on 'Tidying Up'". Insider. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ Slattery, Peter (7 January 2019). "These 'Tidying Up with Marie Kondo' Memes Are Guaranteed to Spark Joy". Vice. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
- ↑ Westenfeld, Adrienne (11 April 2020). "Marie Kondo Is Here to Help You Spark Joy, Even While in Quarantine". Esquire. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
- ↑ Bruner, Raisa (22 November 2019). "The 10 Best Memes of 2019". Time. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.