มงคล จงสุทธนามณี
มงคล จงสุทธนามณี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
มงคล จงสุทธนามณี (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 7 สมัย[1]
ประวัติ
[แก้]มงคล เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายประสพ กับนางอนงค์ จงสุทธนามณี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนดรุณศึกษา[2]
งานการเมือง
[แก้]มงคล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 7 ครั้ง จนถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 มงคล ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 8 จังหวัดเชียงราย ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายบัวสอน ประชามอญ จากพรรคไทยรักไทย
มงคล เคยเป็นแกนนำพรรคมหาชน[3] และในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ[4] และลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 53[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]มงคล จงสุทธนามณี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รู้จัก"วันชัย จงสุทธนามณี"กับทิศทางตระกูลจงสุทธนามณี และพรรคพลังประชารัฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-06-02.
- ↑ ประวัติย่อ นายมงคล จงสุทธนามณี
- ↑ สะพัด “จงสุทธนามณี” ยกทีมเข้า “ชาติไทย” - ส่งคนชิง ส.ส.เชียงราย-ชน “ยุทธ ตู้เย็น”
- ↑ เชียงรายเดือด!‘มงคล’อดีตส.ส.7สมัยซบ‘พปชร.’คุมทัพเลือกตั้งภาคเหนือ
- ↑ "เลือกตั้ง 62 | "ปาร์ตี้ลิสต์" จัดเต็ม 7 พรรค เปิดบัญชีรายชื่อ 56-150 คน ฉบับสมบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่ามะกา
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคพลเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สกุลจงสุทธนามณี