ภาษาลัตเวีย
ภาษาลัตเวีย | |
---|---|
เล็ตทิช[1] | |
latviešu valoda | |
ออกเสียง | [ˈlatviɛʃu ˈvaluɔda] |
ประเทศที่มีการพูด | ลัตเวีย |
ภูมิภาค | ทะเลบอลติก |
ชาติพันธุ์ | ชาวลัตเวีย |
จำนวนผู้พูด | 1.5 ล้านคน[2] (2023) |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | ละติน (อักษรลัตเวีย) อักษรเบรลล์ภาษาลัตเวีย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ลัตเวีย สหภาพยุโรป |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | lv |
ISO 639-2 | lav |
ISO 639-3 | lav – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: lvs – ภาษาลัตเวียมาตรฐานltg – ภาษาลัตกาเล |
Linguasphere | 54-AAB-a |
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาลัตเวียเป็นภาษาหลักในบ้านใน ค.ศ. 2011 ตามเทศบาลในประเทศลัตเวีย | |
ภาษาลัตเวีย (เอนดะนิม: latviešu valoda, ออกเสียง [ˈlatviɛʃu ˈvaluɔda] ลัตวิเอชูวาลูออดา)[3] รู้จักกันใน ภาษาเล็ตทิช (Lettish)[4] เป็นภาษาบอลต์ตะวันออกที่อยู่ในสาขาย่อยบอลต์ของสาขาบอลต์-สลาฟ ภายในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และมีผู้พูดในภูมิภาคบอลติก โดยเป็นภาษาของชาวลัตเวียและภาษาราชการในประเทศลัตเวีย เช่นเดียวกันกับหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป[5] มีผู้พูดภาษาลัตเวียเป็นภาษาแม่ประมาณ 1.2 ล้านคนในประเทศลัตเวีย และ 100,000 คนที่ต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ 2 ล้านคน หรือร้อยละ 80 ของประชากรลัตเวียที่พูดภาษาลัตเวียในคริสต์ทศวรรษ 2000 ก่อนที่จำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 1.8 ล้านคนใน ค.ศ. 2022[6] ในจำนวนนั้น ประมาณ 1.16 ล้านคนหรือร้อยละ 62 ของประชากรลัตเวียใช้ภาษานี้เป็นภาษาหลักที่บ้าน แม้ว่าไม่รวมภูมิภาคลัตกาเลกับรีกาที่ประชากรมากกว่าร้อยละ 90 ใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ในหมู่บ้านและเมือง[7][8][9]
ภาษาลัตเวีย ในฐานะภาษาบอลต์ มีความใกล้ชิดกับภาษาลิทัวเนียเพื่อนบ้านมากที่สุด (เช่นเดียวกันกับภาษาปรัสเซียเก่า ภาษาบอลต์ที่สูญหายแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาษาลัตเวียมีการพัฒนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น[10] นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งบางส่วนว่า ภาษา Latgalian กับ Kursenieki ที่สามารถเข้าใจร่วมกันกับภาษาลัตเวีย[11] ควรเป็นวิธภาษาหรือภาษาต่างหาก[12]
อักขรวิธี
[แก้]ภาษาลัตเวียในอักษรละตินตอนแรกอิงตามอักขรวิธีเยอรมัน ในขณะที่ชุดตัวอักษรในภาษาย่อย Latgalian อิงจากอักขรวิธีโปแลนด์ จากนั้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงแทนที่ด้วยอักขรวิธีที่ตรงตามเสียงทางสัทวิทยามากกว่าเดิม
อักขรวิธีมาตรฐาน
[แก้]ปัจจุบัน อักขรวิธีมาตรฐานลัตเวียมีอักษรทั้งหมด 33 ตัว:
ตัวพิมพ์ใหญ่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
A | Ā | B | C | Č | D | E | Ē | F | G | Ģ | H | I | Ī | J | K | Ķ | L | Ļ | M | N | Ņ | O | P | R | S | Š | T | U | Ū | V | Z | Ž |
ตัวพิมพ์เล็ก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
a | ā | b | c | č | d | e | ē | f | g | ģ | h | i | ī | j | k | ķ | l | ļ | m | n | ņ | o | p | r | s | š | t | u | ū | v | z | ž |
ชุดตัวอักษรลัตเวียมาตรฐานสมัยใหม่ใช้ชุดตัวอักษรละตินที่ไม่ดัดแปลง 22 ตัว (ยกเว้นอักษร ⟨q, w, x, y⟩) แล้วเพิ่มอักษรดัดแปลงอีก 11 ตัว อักษรสระ ⟨a⟩, ⟨e⟩, ⟨i⟩ และ ⟨u⟩ สามารถใช้สัญลักษณ์ macron เพื่อแสดงความยาวสระ โดยอักษรที่ไม่มีสัญลักษณ์นี้ถือเป็นสระเสียงสั้น แต่เวลาเรียงตัวอักษรจะไม่แยกกัน (เช่นในพจนานุกรม) อักษร ⟨c⟩, ⟨s⟩ และ ⟨z⟩ ออกเสียงเป็น [ts], [s] และ [z] ตามลำดับ ในขณะที่อักษรเดียวกันที่มีสัญลักษณ์ caron ⟨č, š, ž⟩ ออกเสียงเป็น [tʃ], [ʃ] และ [ʒ] ตามลำดับ อักษร ⟨ģ, ķ, ļ, ņ⟩ ที่เขียนพร้อมสัญลักษณ์จุลภาคข้างใต้อักษร (หรือข้างบนสำหรับอักษร g ตัวพิมพ์เล็ก) ซึ่งระบุรูปเสียงใช้เพดานแข็งของ ⟨g, k, l, n⟩ แทนเสียง [ɟ], [c], [ʎ] และ [ɲ] อักขรวิธีลัตเวียยังมีทวิอักษร 9 ตัว ประกอบด้วย ⟨ai, au, ei, ie, iu, ui, oi, dz, dž⟩ ส่วนวิธภาษาลัตเวียไม่มาตรฐานเพิ่มอักษรพิเศษลงในชุดอักษรมาตรฐานนี้
เปรียบเทียบอักขรวิธี
[แก้]ตัวอย่างจากคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าในภาษาลัตเวียเขียนในแบบต่าง ๆ:
อักขรวิธีแรก (Cosmographia Universalis, ค.ศ. 1544) |
อักขรวิธีเก่า, ค.ศ. 1739[13] | อักขรวิธีสมัยใหม่ | แบบอินเทอร์เน็ต |
---|---|---|---|
Muuſze Thews exkan tho Debbes | Muhſu Tehvs debbeſîs | Mūsu tēvs debesīs | Muusu teevs debesiis |
Sweetyttz thope totws waerdtcz | Swehtits lai top taws wahrds | Svētīts lai top tavs vārds | Sveetiits lai top tavs vaards |
Enaka mums touwe walſtibe | Lai nahk tawa walſtiba | Lai nāk tava valstība | Lai naak tava valstiiba |
Tows praetcz noteſe | Taws prahts lai noteek | Tavs prāts lai notiek | Tavs praats lai notiek |
ka exkan Debbes tha arridtczan wuerſſon ſemmes | kà debbeſîs tà arirdſan zemes wirsû | Kā debesīs, tā arī virs zemes | Kaa debesiis taa arii virs zemes |
Muſze beniſke mayſe bobe mums ſdjoben | Muhsu deeniſchtu maizi dod mums ſchodeen | Mūsu dienišķo maizi dod mums šodien | Muusu dienishkjo maizi dod mums shodien |
Vnbe pammet mums muſſe parrabe | Un pametti mums muhſu parradus [later parahdus] | Un piedod mums mūsu parādus | Un piedod mums muusu paraadus |
ka mehs pammettam muſſims parabenekims | kà arri mehs pamettam ſaweem parrahdneekeem | Kā arī mēs piedodam saviem parādniekiem | Kaa arii mees piedodam saviem paraadniekiem |
Vnbe nhe wedde mums exkan kaerbenaſchenne | Un ne eeweddi muhs eekſch kahrdinaſchanas | Un neieved mūs kārdināšanā | Un neieved muus kaardinaashanaa |
Seth atpeſthmums no to loune | bet atpeſti muhs no ta launa [later łauna] | Bet atpestī mūs no ļauna | Bet atpestii muus no ljauna |
Aefto thouwa gir ta walſtibe | Jo tew peederr ta walſtiba | Jo tev pieder valstība | Jo tev pieder valstiiba |
Vnbe tas ſpeez vnb tas Goobtcz tur muſſige. | Un tas ſpehks un tas gods muhſchigi [later muhzigi]. | Spēks un gods mūžīgi. | Speeks un gods muuzhiigi. |
Amen. | Amen. | Āmen. | Aamen. |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lettish". TheFreeDictionary.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
- ↑ Valsts valoda
- ↑ Prauliņš (2012), p. 1
- ↑ Prauliņš (2012), p. 1
- ↑ "EU official languages". European-union.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 1 August 2022.
- ↑ "Dažādu tautu valodu prasme". vvk.lv (ภาษาลัตเวีย).
- ↑ "At Home Latvian Is Spoken by 62% of Latvian Population; the Majority – in Vidzeme and Lubāna County" (ภาษาอังกฤษ). Central Statistical Bureau of Latvia. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
- ↑ "Latvian Language Is Spoken by 62% of the Population" (ภาษาอังกฤษ). Baltic News Network. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
- ↑ Žemaitis, Augustinas. "Languages". OnLatvia.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2022.
- ↑ Dahl, Östen; Koptjevskaja-Tamm, Maria, บ.ก. (2001). The Circum-Baltic Languages (ภาษาอังกฤษ). John Benjamins Publishing. ISBN 9027230579. OCLC 872451315.
- ↑ "How Latgale chose to join Latvia". Public Broadcasting of Latvia. 2 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
The Latgalian language falls within the High Latvian dialect and is of course mutually intelligible with the other dialects.
- ↑ "Latgalian Language in Latvia: Between Politics, Linguistics and Law". International Centre for Ethnic and Linguistic Diversity. 30 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 August 2018.
- ↑ BIBLIA, published Riga, 1848 (reprint), original edition 1739; "modern" old orthographies published into the 20th century do not double consonants
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Derksen, Rick (1996). Metatony in Baltic (ภาษาอังกฤษ). Amsterdam: Rodopi.
- Kalnača, Andra; Lokmane, Ilze (2021). Latvian Grammar (ภาษาอังกฤษ). Rīga: University of Latvia Press. doi:10.22364/latgram.2021. ISBN 978-9934-18-635-6.
- Prauliņš, Dace (2012). Latvian: An Essential Grammar (ภาษาอังกฤษ). London: Routeledge. ISBN 9780415576925.