พูดคุย:ภาษาอีสาน
เพิ่มหัวข้อ
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ ภาษาอีสาน
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
ชื่อบทความ
[แก้]แนะนำให้เปลี่ยนชื่อบทความเป็น "ภาษาอีสาน" เพราะภาษาอีสานเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาไทย --奥虎 ボンド 15:54, 11 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
เห็นด้วยครับ การใช้ชื่อบทความว่า "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" นั้นค่อนข้างมีความกำกวม ถึงแม้จะเห็นการใช้คำนี้มากในเอกสารราชการ หรือเอกสารทางวิชาการที่พิมพ์โดยรัฐไทย แต่ "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" ไม่มีความชัดเจนในการสื่อความว่าคือภาษาอะไรกันแน่ ภาษาในภาคอีสานนั้นมีหลากหลาย (ยกตัวอย่างเช่น ภาษาลาวอีสาน ภาษาผู้ไท ภาษากูย ภาษาส่วย ภาษาเขมรสุรินทร์ ภาษาไทยโคราช) หากหมายถึงบทความที่พูดถึงภาษาลาวอีสาน ก็เห็นว่าควรใช้ชื่อหลักของบทความว่า "ภาษาอีสาน" หรือ "ภาษาลาวอีสาน" ให้เฉพาะเจาะจงไปเลย หนึ่ง เพราะไม่ว่าจะอ้างอิงการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสานจากแหล่งใด ๆ ก็จะพบตรงกันว่า ภาษาอีสาน มีพัฒนาการร่วมรากมาจากกลุ่มตระกูลย่อยภาษาลาว-ผู้ไท มีความใกล้ชิดกับภาษาลาว หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว (สำเนียงที่ถูกภาษาไทยเข้ามามีอิทธิพล) แต่ก็ไม่ได้เป็นสำเนียงหรือภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาไทย(ภาคกลาง)อยู่ดี ภาษาลาวอีสานไม่ได้พัฒนามาจากกลุ่มตระกูลย่อยภาษาสุโขทัยที่เป็นรากของภาษาไทยแต่อย่างใด สอง ในแง่ของภาษาศาสตร์การสื่อสารของผู้พูดภาษาไทยกลาง และภาษาอีสานนั้นมีความแตกต่างกันมาก ทั้งการใช้คำศัพท์ วรรณยุกต์ การออกเสียง และอื่น ๆ ผู้พูดสองภาษานี้ไม่สามารถเข้าใจกันได้ จึงไม่ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน และไม่ได้เป็นสำเนียงจากภาษาเดียวกัน
ดังนั้นการให้ชื่อ "ภาษาอีสาน" ว่าเป็น "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" จึงไม่ถูกต้องทั้งในแง่ของภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และชาติพันธุ์วิทยา ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องภาษาอีสานคือ ภาษาถิ่น(dialect; ภาษาที่มีการใช้ในประเทศหนึ่ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภาษาประจำชาติ)ภาษาหนึ่งในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่ภาษาไทย
แต่ถ้าเจตนาให้บทความนี้กล่าวถึงภาษาที่ผู้คนในภาคอีสานใช้โดยรวม ๆ ก็ควรใช้ชื่อบทความว่า "ภาษาในภาคอีสาน" "ภาษาถิ่นในภาคอีสาน" หรือ "ภาษาที่ใช้ในภาคอีสาน" และควรมีเนื้อหาที่กล่าวถึงภาษาต่าง ๆ ไม่ได้เจาะจงถึงภาษาลาวอีสานเพียงอย่างเดียว
อนึ่งผมเห็นว่า การตั้งชื่อบทความโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม หรือชาติพันธุ์วิทยา ควรสื่อความหมายถึงอัฒนลักษณ์หนึ่ง ๆ อย่างเจาะจงและชัดเจน มากกว่าแค่ตั้งชื่อล้อไปกับหน่วยงานรัฐนะครับ
Austin (คุย) 17:45, 12 มกราคม 2565 (+07)
- ตามหลักที่วิกิพีเดียใช้กัน ถ้าคุณบอกว่าเป็นการเปลี่ยนชื่อบทความเพื่อให้สอดคล้องกับหลักวิชาการ ก็น่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่จับต้องได้มาให้ดูหน่อย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือลิงก์ไปยังเว็บเพจ นอกจากนี้ บางทีถึงจะถูกตามหลักวิชาการ แต่พวก misnomer ต่าง ๆ ที่ใช้กันมานานและแพร่หลาย ก็ถือเป็นเหตุผลหนึ่งในการตั้งชื่อบทความด้วยเช่นกัน สรุปว่าการจะยึดตามเอกสารราชการ ชื่อที่นิยมใช้กัน หรือความถูกต้องตามหลักวิชาการ มันต้องมีการชั่งน้ำหนักกันอยู่ดีครับ --Horus (พูดคุย) 22:34, 12 มกราคม 2565 (+07)
- ตาม ethonologue ก็มีการขึ้นทะเบียนภาษาอีสานไว้ พร้อมระบุ autonyms (ชื่อที่เจ้าของภาษาเรียกภาษาตนเอง) ว่า"ภาษาอีสาน"ครับ เว็บไซต์รวบรวมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยของ [1]ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ก็ mention ด้วยคำว่าภาษาอีสาน ในวารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ฉบับปี 2559 ก็ระบุด้วยคำว่าภาษาอีสาน คุณคำพูน บุณทวี ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ผู้เขียนพจนานุกรมภาษาอีสาน ก็เลือกใช้คำว่าภาษาอีสานขึ้นปก
- ในแง่ความนิยมใช้ โดยทั่วไปคนไทยเราก็รู้จักกันและเอ่ยถึงในฐานะชื่อ "ภาษาอีสาน" นะครับ (ถึงแม้ว่าจริง ๆ คนที่ใช้คนภาคอีสานส่วนใหญ่จะเรียกภาษาของตนว่า "ภาษาลาว", "ภาษาลาวอีสาน" มากกว่าอ้างอิงจาก Formation of Ethnonyms in Southeast Asia ซึ่งนี่ก็คือ misnomer อย่างหนึ่ง)
- จากสถิติการใช้คำว่า ภาษาอีสาน จากการเทียบจำนวนผลลัพธ์การค้นหาใน google เยอะกว่าคำว่า ภาษาไทยถิ่นอีสาน อยู่มาก (24ล้าน ต่อ 8แสน) และวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Isan language ไม่ใช้ Thai northeastern language (ซึ่งก็มีการอภิปรายในประเด็นนี้มาก่อนแล้วเช่นกัน)
- ความกระชับ ผมเห็นว่าการใช้คำว่าภาษาอีสานสะดวกในการเอ่ยถึงต่อไปในบทความมากกว่าคำว่า ภาษาไทยถิ่นอีสาน ซึ่งคำนี้จะก่อให้เกิดความสับสนต่อไปเมื่อมี section ที่ต้องเอ่ยถึงภาษาไทยภาคกลาง สลับกับภาษาไทยถิ่นอีสานหลาย ๆ ครั้ง นำไปสู่ความลำบากในการอ่าน ไม่สะดวกต่อทั้งผู้อ่านและผู้เขียนครับ
- สุดท้าย การใช้คำว่า "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" เป็นชื่อหลักบทความ ผมเห็นว่าจะมีปัญหาเรื่อง การทำให้เป็นไทย (Thaification) มากจนเกินไป และมีนัยยะของการลดความสำคัญและศักดิ์ศรีทางภาษาลง (Language Prestige) (อ้างอิงวารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ฉบับปี 2559 และหนังสือ Ethnic Identity and Loyalty of Villagers in Northeastern Thailand โดย Keyes, Charles F. ) ซึ่งจะมีปัญหาในหลักนโยบายความเป็นกลาง อีกทั้งวิกิพีเดียภาษาไทยก็มีคนอ่านที่เป็นคนภาคอีสานใช้ภาษาอีสานอยู่จำนวนไม่น้อย ผมเห็นว่าใช้คำว่า "ภาษาอีสาน" น่าจะเหมาะสมกว่าครับ Austin (คุย) 14:26, 13 มกราคม 2565 (+07)
- ตามหลักที่วิกิพีเดียใช้กัน ถ้าคุณบอกว่าเป็นการเปลี่ยนชื่อบทความเพื่อให้สอดคล้องกับหลักวิชาการ ก็น่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่จับต้องได้มาให้ดูหน่อย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือลิงก์ไปยังเว็บเพจ นอกจากนี้ บางทีถึงจะถูกตามหลักวิชาการ แต่พวก misnomer ต่าง ๆ ที่ใช้กันมานานและแพร่หลาย ก็ถือเป็นเหตุผลหนึ่งในการตั้งชื่อบทความด้วยเช่นกัน สรุปว่าการจะยึดตามเอกสารราชการ ชื่อที่นิยมใช้กัน หรือความถูกต้องตามหลักวิชาการ มันต้องมีการชั่งน้ำหนักกันอยู่ดีครับ --Horus (พูดคุย) 22:34, 12 มกราคม 2565 (+07)