ข้ามไปเนื้อหา

พีระมิดลูฟวร์

พิกัด: 48°51′39″N 2°20′09″E / 48.860854°N 2.335812°E / 48.860854; 2.335812
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดกระจกยามค่ำคืน

พีระมิดลูฟวร์ (อังกฤษ: Louvre Pyramid) เป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นจากกระจกและโลหะ มีพีระมิดขนาดเล็กกว่า 3 หลังตั้งอยู่โดยรอบ ตั้งอยู่ที่ลานหน้าพิพิธภัณฑสถานลูฟวร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2532[1] และกลายเป็นหนึ่งในจุดสังเกตของกรุงปารีส

การออกแบบและก่อสร้าง

[แก้]
The solid is for the dead, but the transparent is for the living
 

การก่อสร้างพีระมิดนี้มอบหมายโดยฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เพ สถาปนิกที่เคยรับผิดชอบการออกแบบ Miho Museum ที่ญี่ปุ่น โครงสร้างพีระมิดนี้สร้างขึ้นจากแผ่นกระจกทั้งหลัง มีความสูง 20.6 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ 35 เมตร ประกอบขึ้นจากแผ่นกระจกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 603 แผ่น และแผ่นกระจกรูปสามเหลี่ยม 70 แผ่น[2]

พีระมิดและโถงทางเข้าที่อยู่ข้างใต้ สร้างขึ้นเนื่องจากทางเข้าเดิมของลูฟวร์ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้มาเยือนที่มีมากในแต่ละวันได้อีกแล้ว ผู้มาเยือนที่เข้าจากพีระมิดจะลงไปโถงทางเข้ากว้างขวาง แล้วกลับขึ้นไปยังอาคารหลักของลูฟวร์ พิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ เช่น Museum of Science and Industry ในชิคาโก การก่อสร้างพีระมิดและโถงทางเข้าใต้ดินดำเนินการโดย Dumez[3]

กระจก 666 แผ่น: ตำนานเมือง

[แก้]
พีระมิดล้อมรอบด้วยอาคารของลูฟวร์

บางคนกล่าวอ้างว่าแผ่นกระจกบนพิระมิดลูฟวร์มีทั้งหมด 666 แผ่น ซึ่งเป็น "number of the beast" ที่มักจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับซาตาน ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น หนังสือของ Dominique Stezepfandt ที่มีชื่อว่า François Mitterrand, Grand Architecte de l'Univers ได้กล่าวไว้ว่า "พีระมิดถูกอุทิศให้แก่พลังที่เล่ากันว่าเป็น Beast ใน พระคัมภีร์วิวรณ์ (...) โครงสร้างทั้งหลังมีรากฐานอยู่บนเลข 6"

เรื่องราวของกระจก 666 แผ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523-2532) โดยแผ่นพับโฆษณาอย่างเป็นทางการที่ตีพิมพ์ระหว่างการก่อสร้างได้กล่าวอ้างถึงตัวเลขนี้ถึงสองครั้ง แต่หน้าก่อน ๆ ในแผ่นพับกล่าวไว้ว่ากระจกมี 673 แผ่น ตัวเลข 666 ยังถูกกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑสถานลูฟวร์ได้แถลงว่า พีระมิดประกอบขึ้นจากแผ่นกระจก 673 แผ่น (รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 603 แผ่น และรูปสามเหลี่ยม 70 แผ่น) [4] มีผู้พยายามนับจำนวนแผ่นกระจกบนพีระมิดอยู่หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งจะนับได้จำนวนที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่จะมากกว่า 666 แผ่นทุกครั้ง

ข่าวลือได้กลับมาอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 เมื่อนวนิยาย The Da Vinci Code ของแดน บราวน์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ โดยที่ตัวเอกของเรื่องครุ่นคิดว่า "พีระมิดหลังนี้สร้างขึ้นด้วยแผ่นกระจก 666 แผ่นพอดี ตามความต้องการของประธานาธิบดีมิตแตร์รองด์ ซึ่งกลายเป็นหัวข้อร้อนท่ามกลางผู้สนใจทฤษฎีสมคบคิดที่กล่าวอ้างว่า 666 เป็นตัวเลขของซาตาน" อย่างไรก็ตาม David A. Shugarts ได้รายงานว่า จากคำกล่าวของโฆษกประจำสำนักงานของไอ. เอ็ม. เพ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสไม่เคยระบุจำนวนแผ่นกระจกที่ต้องการให้ใช้ในการก่อสร้างพีระมิด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Simons, Marlise (1993-03-28). "5 Pieces of Europe's Past Return to Life: France; A vast new exhibition space as the Louvre renovates". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  2. "Glass on the web". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-01-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  3. "Vinci website: Louvre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-01-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

48°51′39″N 2°20′09″E / 48.860854°N 2.335812°E / 48.860854; 2.335812