พระเจ้ากึนโชโก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้ากึนโชโก | |
---|---|
ฮันกึล | 근초고왕 |
ฮันจา | 近肖古王 |
อักษรโรมันฉบับปรับปรุง | Geunchogo-wang |
พระเจ้ากึนโชโก (เกาหลี: 근초고왕; อังกฤษ: Geunchogo) (?-375, r. 346-375) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอาณาจักรแพ็กเจหนึ่งในสามก๊กแห่งเกาหลี[1] ทรงเป็นกษัตริย์ที่แข็งแกร่งของอาณาจักรแพ็กเจ
พระราชประวัติ
[แก้]พระเจ้ากึนโชโก เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าบีรยู และหลังจากพระเจ้ากเยสวรรคตโดยที่ไม่มีพระราชโอรสสืบต่อบัลลังก์ เจ้าชายกึนโชโกจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากึนโชโก พระองค์เป็นองค์ชายที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าโชโก
สร้างความเข้มแข้งและพระราชอำนาจ
[แก้]เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ทรงลดอำนาจของเหล่าชนชั้นสูงลง เนื่องจากชนชั้นสูงมีอำนาจมากมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบีรยู และทรงตั้งระบบปกครองท้องถิ่นขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ ทรงก่อตั้งศาลขึ้น พระองค์ทรงอภิเษกพระมเหสีที่มาจากตระกูลจิน พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองฮันซอง[2] ปัจจุบัน คือโซล
ขยายอาณาเขต
[แก้]ในรัชสมัยพระเจ้ากึนโชโกนั้นอาณาจักรแพ็กเจเรืองอำนาจอย่างมากในคาบสมุทรเกาหลี ใน ค.ศ. 369 พระเจ้ากึนโชโกทรงทัพทัพไปยึดครองดินแดนที่เหลือของอาณาจักรมาฮัน ทำให้อาณาจักรมาฮันรวมเขากับอาณาจักรแพ็กเจโดยสมบูรณ์ในรัชสมัยพระเจ้ากึนโชโก และสมัยของพระองค์อาณาจักรแพ็กเจมีความสัมพันธ์อย่างดีกับอาณาจักรคายา พระเจ้ากึนโชโกขยายอาณาเขตของอาณาจักรแพ็กเจไปจนถึงแม่น้ำนักดง
ใน ค.ศ. 369 อาณาจักรแพ็กเจได้ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือโดยร่วมมือกับอาณาจักรนังนังทำสงครามกับจักรวรรดิโคกูรยอ อาณาจักรแพ็กเจได้ส่งทหารจำนวน 30,000 นายไปยังจักรวรรดิโกคูรยอ นำทัพโดยองค์ชายรัชทายาทกึนกูซูสามารถยึดป้อมปราการของเมืองเปียงยางและสังหารจักรพรรดิโกกุกวอนของจักรวรรดิโคกูรยอด้วย
เมื่ออาณาจักรแพ็กเจมีอำนาจมากกว่าจักรวรรดิโคกูรยอแล้วทำให้อาณาจักรแพ็กเจมีอำนาจมากที่สุดในคาบสมุทรเกาหลีและในทะเลเหลืองด้วย อาณาจักรแพกเจสามารถยึดครองเมืองคยองกิ ชุงชอง จอลลา คังวอน และควางแฮของจักรวรรดิโกคูรยอทำให้อาณาจักรแพกเจมีอาณาเขตจรดแม่น้ำยาลูทางทิศเหนือ
ความสัมพันธ์ต่างประเทศ
[แก้]ในรัชสมัยพระเจ้ากึนโชโก ค.ศ. 366 อาณาจักรแพ็กเจมีอำนาจครอบคลุมทั้งหมดทางด้านตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี ส่วนด้านตะวันออกเป็นของอาณาจักรซิลลา ด้านทิศเหนือเป็นของอาณาจักรนังนังและจักรวรรดิโคกูรยอ
พระเจ้ากึนโชโกทรงรับวัฒนธรรมต่างๆมาจากจีน ในสมัยราชวงศ์จินปกครองประเทศจีน ใน ค.ศ. 372 ราชวงศ์จินส่งทูตมายังอาณาจักรแพ็กเจและพระเจ้ากึนโชโกก็ส่งทูตไปที่อาณาจักรจินด้วย พระเจ้ากึนโชโกทรงสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรนังนังด้วย ทำให้สมัยของพระองค์เข็มแข็งมาก
ในสมัยพระเจ้ากึนโชโกอาณาจักรแพ็กเจเปิดทำการค้ากับประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าการค้าสามเหลี่ยมมีศูนย์กลางอยู่ที่อาณาจักรแพ็กเจ ที่ครั้งแรกการค้าอยู่ในการควบคุมของพระจักรพรรดิอาณาจักรจิน แต่หลังจากอาณาจักรจินไม่สามารถควบคุมอาณาจักรนังนัง เผ่าซ่งนู๋ และเผ่าเสี้ยนเป่ย ทำให้การค้าส่วนใหญ่ควบคุมโดยอาณาจักรแพ็กเจ การค้ากับอาณาจักรทางเหนือต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะเนื่องจากเรือไม่เหมาะสม อาณาจักรแพ็กเจจัดตั้งศูนย์การค้าขึ้นที่อาณาจักรนังนัง แพ็กเจส่งทูตไปที่เกาะคิวชูของญี่ปุ่นด้วย ซึ่งได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการค้าในเอเชียตะวันออก[3]
อาณาจักรแพ็กเจได้ส่งทูตไปเผยแพร่วัฒนธรรมของอาณาจักรแพ็กเจไปยังญี่ปุ่นในยุคยามาโตด้วย ปัจจุบันมีหลักฐานอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วยคือดาบเจ็ดเขี้ยวของอาณาจักรแพ็กเจ ที่พระเจ้ากึนโชโกมอบให้กับผู้ว่ายามาโต พระเจ้ากึนโชโกได้ส่งทูตไปยังญี่ปุ่นอีกเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อและอักษรจีนด้วย
วัฒนธรรม
[แก้]อาณาจักรแพ็กเจมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองโดยได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมมาจากประเทศจีนแล้วหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมของตนเอง แล้วถ่ายทอดต่อไปยังญี่ปุ่น
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้ากึนโชโก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Il-yeon: Samguk Yusa: Legends and History of the Three Kingdoms of Ancient Korea, translated by Tae-Hung Ha and Grafton K. Mintz. Book Two, page 120. Silk Pagoda (2006). ISBN 1-59654-348-5
- ↑ Il-yeon: Samguk Yusa: Legends and History of the Three Kingdoms of Ancient Korea, translated by Tae-Hung Ha and Grafton K. Mintz. Book Two, page 120. Silk Pagoda (2006). ISBN 1-59654-348-5
- ↑ http://kdaq.empas.com/koreandb/history/kpeople/person_view.html?n=9587&in=29204#his http://100.naver.com/100.nhn?docid=26587[ลิงก์เสีย]