พรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย
หน้าตา
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ตุลาคม 2023) |
สหพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย | |
---|---|
เลขาธิการ | คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ |
รองเลขาธิการ | เกียรติศักดิ์ ศรีวฤทธิ์ วัลย์วิภา จรูญโรจน์ สมาน ศรีงาม ชนินทร์ มหาตมัน นคร ศีลพิพัฒน์ ประภาส โงกสูงเนิน สมพร มูสิกะ สอิ้ง ไถวสินธ์ บัวพันธ์ โภชะคัง ศุภฤทธิ์ โรจนธรรม ลดาวัลย์ ปวีณชัย ชารีฟ ศรีเจริญ พงศ์ภัทร์ วรงค์พรพรหม ประเสริฐ เลิศยโส สาธุ อนุโมทามิ กนก อภิรดี ไม่เปิดเผยชื่อ (4) |
โฆษก | ณพลเดช มณีลังกา |
ผู้ช่วยเลขาธิการ | 120 คน |
กรรมการ | 500 คน |
ก่อตั้ง | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559 |
อุดมการณ์ | อธิปไตยปวงชนชาวไทย ยึดมั่นในหลักธรรมาธิปไตย มุ่งสร้างสภาปวงชนชาวไทย นำประเทศเข้าสู่ความศิวิไลซ์ เป็นรัฐสวัสดิการไทยอย่างสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางมหาอำนาจในภูมิภาค รักษาสถาบันหลักของชาติอย่างยั่งยืน |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
สหพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย หรือ พรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย (อปท.) หรือ คณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ปชก.)[1] เป็นกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ไม่จดทะเบียนในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]- วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายสมาน ศรีงาม เลขาธิการพรรค แถลงเปิดตัวพรรค ท่ามกลางสนใจของประชาชนว่าเป็นพรรคทหาร และน่าจะมีนายทหารชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยมุ่งประเด็นความเกี่ยวข้องกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งส่ง พล.ท.ธรากฤต ทับทองสิทธิ์ รอง ผอ.รมน.ภาค 2 เป็นตัวแทน มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดย นายสมาน ศรีงาม ประกาศสนับสนุนให้ คสช. โอนอำนาจสู่ประชาชน ก่อนจัดการเลือกตั้ง[2][3][4]
- วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้การปฏิเสธอยู่เบื้องหลังการตั้งพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย และย้ำว่าตนและนายกรัฐมนตรีไม่คิดที่จะเล่นการเมือง[5][6]
- วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559 น.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ปรากฏตัวเป็นเลขาธิการพรรค แทน นายสมาน ศรีงาม ได้ออกแถลงการณ์ ยืนยันว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งพรรค พร้อมแถลงถึงความเป็นมา โครงสร้าง และนโยบายของพรรค[7]
- วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 น.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ หัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ปชก.) และเลขาธิการสหพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย (อปท.) แถลงว่า ไม่ว่าจะหลังเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้ง การเมืองก็ถึงทางตัน คาดเกิดวิกฤติบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จี้หยุดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง หากเกิดวิกฤติขึ้นจริง ครั้งนี้ขอทหารอย่าปฏิวัติ ประชาชนขอปฏิวัติเอง[8]
คณะผู้บริหาร
[แก้]เลขาธิการ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Thai People Sovereignty Party". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
- ↑ "'บิ๊กป้อม'ส่งตัวแทนร่วมกิจกรรม'พรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย'ที่โคราช เลขาธิการพรรคยันไม่ใช่พรรคทหาร". มติชนออนไลน์. 2016-10-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เงาร่าง การเมือง "อธิปไตยปวงชนชาวไทย" ไม่ใช่ "พรรคทหาร"". ข่าวสด. 2016-10-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สัญญาณที่ต้องฟังหูไว้หู". www.thairath.co.th. 2016-10-25.
- ↑ ""บิ๊กป้อม" ปัด อยู่เบื้องหลัง ตั้งพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย". คมชัดลึกออนไลน์. 2016-10-25.
- ↑ "'บิ๊กป้อม' ปัดเบื้องหลังตั้งพรรคอธิปไตยฯ ยันไม่คิดเล่นการเมือง". www.thairath.co.th. 2016-10-25.
- ↑ "'พรรคอธิปไตยฯ'แถลงชูธง ปชช.ทุกสีแก้ขัดแย้ง ปัด'บิ๊กป้อม'อยู่เบื้องหลังตั้งพรรค". มติชนออนไลน์. 2016-10-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "คณะปวงชนชาวไทยฯ สหพรรคอธิปไตยฯ คาดหลังเลือกตั้งเกิดวิกฤต จี้หยุดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง". มติชนออนไลน์. 2018-12-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)