ข้ามไปเนื้อหา

พยาธิเข็มหมุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Pinworm

ICD 127.4

Pinworms(U.S.)/Threadworms(U.K.) (Enterobius vermicularis).
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Nematoda
ชั้น: Secernentea
ชั้นย่อย: Spiruria
อันดับ: Oxyurida
วงศ์: Oxyuridae
สกุล: Enterobius
Species
  • Enterobius vermicularis (Linnaeus, 1758)[1]
  • Enterobius anthropopitheci (Gedoelst, 1916)[1]
  • Enterobius gregorii (Hugot, 1983) (disputed)[2][3][4]
วงชีวิตของพยาธิเข็มหมุด

พยาธิเข็มหมุด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Enterobius vermiclaris) เป็นหนอนตัวกลมในสกุล Enterobius ที่เป็นปรสิตในสัตว์ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกอาการติดพยาธิเข็มหมุดว่า enterobiasis

การจัดจำแนก

[แก้]

ในปัจจุบัน พยาธิเข็มหมุดมี 3 สปีชีส์ [5] มนุษย์เป็นเจ้าบ้านของ Enterobius vermicularis (เดิมคือ Oxyuris vermicularis)เท่านั้น [6] ชิมแปนซีเป็นเจ้าบ้านของ Enterobius anthropopitheci ซึ่งมีรูปร่างต่างจากพยาธิเข็มหมุดในมนุษย์[3] Hugot (1983) กล่าวว่ามีอีกสปีชีส์หนึ่ง Enterobius gregorii, ซึ่งเป็นพี่น้องกับ E. vermicularisโดยมีสปิคุลเล็กกว่า[7] แต่ Totkova et al. (2003) กล่าวว่ามีหลักฐานไม่พอ [4] และ Hasagawa et al. (2006) กล่าวว่า E. gregorii เป็นระยะตัวอ่อนของ E. vermicularis.[2][3] ในทางการแพทย์ E. gregorii จะถูกพิจารณาเป็น E. vermicularis[6]

อาการ

[แก้]

เมื่อมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด ส่วนมากไม่มีอาการ แต่บางรายพบว่าพยาธิตัวแก่ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อพยาธิตัวเมียวางไข่ที่ทวารหนักตอนกลางคืน ทาให้คันทวารหนัก การเกาอย่างรุนแรงอาจ ทาให้เกิดแผลถลอกและติดเชื้อ ในผู้หญิงพยาธิอาจไปที่บริเวณช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดอักเสบ การอักเสบของปีกมดลูก หรือเป็นก้อน ในช่องท้อง และกระเพาะปัสสาวะ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hasegawa et al. 2005.
  2. 2.0 2.1 Hasegawa et al. 1998
  3. 3.0 3.1 3.2 Hasegawa et al. 2006
  4. 4.0 4.1 Totkova et al. 2003
  5. NCBI taxonomy database 2009
  6. 6.0 6.1 dpdx 2009
  7. Hugot 1983
  8. ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ และ สรญา แก้วพิทูลย์. 2553. พยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนปฐมวัย อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี[ลิงก์เสีย] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 หน้า 47-53