ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:The great emperror/กระบะทราย-ถวายพระนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ถวายพระนาม"
ซิงเกิลโดยเพลิน พรหมแดน
จากอัลบั้มพระพุทธประวัติ
วางจำหน่ายค.ศ. 2013 (2013)
ความยาว5:14
ผู้ประพันธ์เพลงสมส่วน พรหมสว่าง
ลำดับซิงเกิลของเพลิน พรหมแดน
"กาลเทวิลดาบส"
(2013)
"ถวายพระนาม"
(160)
"วันแรกนาขวัญ"
(2013)

ถวายพระนาม เป็นเพลงลำดับที่หกของเพลงพระพุทธประวัติ ประพันธ์เนื้อเพลง/ เรียบเรียงโดย สมส่วน พรหมสว่าง ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน เพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงการถวายพระนามพระกุมาร จนจบลงที่เหตุการณ์การสวรรคตของพระนางสิริมหามายา เพลงนี้มีความยาว 5 นาที 14 วินาที

เนื้อเพลง

[แก้]
  • พระกุมารมีชันษาได้ 5 วัน

พระราชบิดา สั่งการดังพระประสงค์

ให้เชิญพราหมณ์ 108 คนมาเสริมส่ง

ให้ทำนายองค์ลักษณะ พระกุมาร


คัดเลือกหาพราหมณ์ลือนามเพียง 8 คน

ที่เลิศล้นวิชา อย่างเชี่ยวชาญ

ทั้ง 7 พราหมณ์ทูลความนั้น 2 ประการ

หากอยู่ครองบ้านเมืองนั้น จะเดชา


จะได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ

รุ่งเรืองอำนาจ ราชทรัพย์ นับคณนา

ถ้าออกบวช บำเพ็ญภาวนา

จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ


แต่โกณฑัญญะ พราหมณะได้ทำนาย

เป็นคนสุดท้าย ทำนายพระกุมาร

จะต้องไป ออกบวช เพศพรหมจรรย์

อย่างเดียวเท่านั้น มิผันเป็นอื่นไป


กษัตริย์เจ้าจึงตรัสถามพราหมณ์ทั้ง 8 คน

พระโอรสตน บรรพชา สาเหตุใด

เห็นนิมิต 4 คนแก่ คนเจ็บ คนตาย

และบรรพชิต พราหมณ์ได้ถวายคำ


พระเจ้าสุทโธทนะ คะนึงพระทัย

มิอยากให้ พระโอรส ออกบวชนำ

จึงมีบัญชาเด็ดขาด ประกาศคำ

นิมิต 4 ห้าม นำใกล้ โอรสเรา

บทบรรยาย

[แก้]

บทบรรยาย : สมส่วน พรหมสว่าง

ผู้บรรยาย : เพลิน พรหมแดน (ผู้บรรยาย)

แล้วพราหมณ์ทั้งหลาย ก็พร้อมกันถวายพระนามพระกุมารว่า สิทธัตถะ ซึ่งมีความหมายว่า ประสงค์สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมได้ดังประสงค์ และบรรดาขัตติยวงศ์ทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมพิธีในวันนั้น ต่างก็มีความปิติโสมนัสยิ่งนัก จึงพร้อมใจกันถวายพระโอรสของตนสกุลละองค์ เพื่อเป็นราชบริพารของพระราชกุมารสิทธัตถะ ส่วนพระนางสิริมหามายาเทวี เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าล่วงไปเพียง 7 วัน ก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก ตามประเพณีพระพุทธมารดาทุกๆพระองค์ พระเจ้าสุทโธทนะ จึงได้มอบหน้าที่การบำรุงรักษาเลี้ยงดู พระสิทธัตถะกุมาร ให้เป็นภาระของพระนางปชาบดี (พระน้านาง) ซึ่งในเวลาต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะ ก็ทรงยกขึ้นเป็นพระมเหสี พระนางปชาบดีโคตมี ก็ทรงมีพระเมตตารักใคร่บำรุงรักษาพระกุมารเป็นอย่างดียิ่ง ถึงแม้ว่าต่อมาพระนางเจ้านั้น จะมีพระโอรสและพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ คือ นันทกุมาร และรูปนันทกุมารี แต่พระนางก็ยังคงคอยบำรุงดูแลเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยตัวของพระนางเอง ส่วนพระโอรสและธิดานั้น พระนางได้มอบให้เป็นภาระหน้าที่ของพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลาย คอยบำรุงรักษาแทนพระนางตลอดมา[1]

ความหมาย และเนื้อหาของเพลง

[แก้]

ครั้นพระกุมารประสูติมาได้ 5 วัน ก็ได้มีการเชื้เชิญเหล่าพราหมณ์และนักปราชญ์มาประชุม เพื่อทำพิธีสระเกล้าให้พระกุมาร บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายได้ทำนายว่า "พระกุมารนั้น หากเป็นฆราวาสก็จักเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ หากออกบวชก็จะบรรลุเป็นศาสดาเอกของโลก" แต่โกณฑัญญพราหมณ์แย้งว่า "พระกุมารเมื่อเติบใหญ่นั้นจะไม่เป็นพระราชาแน่นอน แต่จะสละราชบัลลังก์ และทุกสิ่งไว้เบื้องหลัง เพื่ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น"

พระเจ้าสุทโธทนะทรงไม่สบายพระทัยนักเมื่อรู้ว่าพระกุมารจักไม่เป็นพระราชาในอนาคต เมื่อได้เจอนิมิต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์ทรงปรารถนาให้พระกุมารขึ้นครองราชบัลลังก์เพื่อปกครองนครเหมือนดังเช่นพระองค์ จึงทรงสั่งห้ามให้บุคคลทั้ง 4 ประเภทอยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์อย่างเด็ดขาด[2] แล้วพราหมณ์ทั้งหลาย ก็พร้อมกันถวายพระนามพระกุมารว่า สิทธัตถะ ซึ่งมีความหมายว่า ประสงค์สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมได้ดังประสงค์ และบรรดาขัตติยวงศ์ทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมพิธีในวันนั้น ต่างก็มีความปิติโสมนัสยิ่งนัก จึงพร้อมใจกันถวายพระโอรสของตนสกุลละองค์ เพื่อเป็นราชบริพารของพระราชกุมารสิทธัตถะ ส่วนพระนางสิริมหามายาเทวี เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าล่วงไปเพียง 7 วัน ก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก ตามประเพณีของพระพุทธมารดาทุกๆพระองค์ พระเจ้าสุทโธทนะ จึงได้มอบหน้าที่การเลี้ยงดู เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ให้เป็นภาระหน้าที่ของพระนางปชาบดี (พระน้านาง) ซึ่งในเวลาต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะ ก็ทรงยกขึ้นเป็นพระมเหสี พระนางปชาบดีโคตมี ก็ทรงมีพระเมตตารักใคร่พระกุมารเป็นอย่างดียิ่ง ราวกับเป็นโอรสของพระองค์เอง ถึงแม้ว่าต่อมาพระนางเจ้านั้น จะมีพระโอรสและพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ คือ นันทกุมาร และรูปนันทกุมารี แต่พระนางก็ยังคงคอยดูแลเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยตัวของพระนางเอง ส่วนพระโอรสและธิดานั้น พระนางได้มอบให้เป็นภาระหน้าที่ของพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลาย คอยดูแลเลี้ยงดูแทนพระนางตลอดมา

เกร็ดความรู้

[แก้]

รายนามพราหมณ์ที่ถวายพระนามพระกุมาร

[แก้]

ภายหลังพระราชโอรสประสูติได้ 5 วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมมีพระญาติวงศ์ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา มุขอำมาตย์ ราชมนตรี และพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวท เพื่อทำพิธีมงคลในการนี้คือพราหมณ์ มีทั้งหมด 108 แต่พราหณ์ผู้ทำหน้าที่นี้จริงๆ มีเพียง 8 นอกนั้นมาในฐานะคล้ายพระอันดับ พราหมณ์ทั้ง 8 มีรายนามดังนี้ คือ

1. รามพราหมณ์

2. โภชพราหมณ์

3. ลักษณพราหมณ์

4. สุทัตตพราหมณ์

5. อัญญพราหมณ์

6. สุยามพราหมณ์

7. ธุชพราหมณ์

8. โกณทัญญพราหมณ์

ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็นมงคลนามมีความหมายสองนัย นัยหนึ่งหมายความว่า "ผู้ทรงปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์" อีกนัยหนึ่งหมายความว่าพระโอรสพระองค์แรกสมดังที่พระราชบิดาทรงปรารถนา แปลให้เป็นเข้าสำนวนไทยในภาษาสามัญก็ว่า "ได้ลูกชายคนแรกสมตามที่ต้องการ"

พระนามนี้ คนอินเดียทั่วไปในสมัยนั้นไม่นิยมเรียก แต่นิยมเรียกพระโคตรแทน

'พระโคตร' ตรงกับภาษาไทยทุกวันนี้ว่า 'นามสกุล' คนจึงนิยมเรียกพระราชกุมารว่า 'เจ้าชายโคตมะ' หรือ 'โคดม' [3]

ประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะ (เบื้องต้น)

[แก้]

พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียนจบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ

ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ 108 คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระราชประเพณี ได้คัดเลือกพราหมณ์ 8 คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงานและท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก

โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง 7 คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

2. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก

ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น[4]

อ้างอิง

[แก้]