ข้ามไปเนื้อหา

ปางห้ามพระแก่นจันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ปางพระห้ามพระแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวาลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม

ประวัติ

[แก้]

ตามคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีตำนานกล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งนครสาวัตถีทรงลำลึกถึงพระพุทธองค์มาก ด้วยความเคารพรักและศรัทธาจึงสั่งให้ช่างหลวงทำพระพุทธรูปลักษณะคล้ายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยไม้แก่นจันทน์หอมอย่างดี ประดิษฐานไว้ในพระราชนิเวศน์เพื่อสักการบูชา พระไม้แก่นจันทน์องค์นี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมา และได้มาทรงเยี่ยมพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์องค์ดังกล่าวก็ได้แสดงปาฏิหาริย์ ลอยจากพระแท่น เพื่อให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงห้ามรูปเปรียบพระองค์ ไม่ให้ลอยไปที่อื่น และยังได้ทรงบอกถึงอานิสงส์ในการสร้างรูปเปรียบของพระองค์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลรับฟังอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล