ปลาบู่กล้วย
ปลาบู่กล้วย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Gobiidae |
สกุล: | Stigmatogobius |
สปีชีส์: | S. sadanundio |
ชื่อทวินาม | |
Stigmatogobius sadanundio (Hamilton, 1822) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาบู่กล้วย หรือ ปลาบู่จุด (อังกฤษ: Knight goby, Spotted goby) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stigmatogobius sadanundio ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae)
มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลม หางแบน หัวโต นัยน์ตามีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง ลำตัวมีจุดแต้มสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเด่น คือ มีจุดประสีเข้มขนาดเล็กกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบทั่วทั้งลำตัว ครีบหลังยาวแบ่งเป็นสองตอน ตอนหน้าเป็นเส้นยาว ตอนหลังแผ่กางมีจุดประสีดำกระจายทั่วอย่างเป็นระเบียบ ครีบหางใหญ่ปลายมนมีจุดประสีเข้มกระจายทั่ว ครีบท้องมีจุดประ ครีบอกใส
ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า ไปจนถึงอินโดนีเซียและสิงคโปร์ สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ มีอุปนิสัยอยู่อยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลหรือชะวากทะเล ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ชายทะเลฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้นไป
นับเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันในตู้ปลา โดยเฉพาะกับตู้ที่ปลูกพืชไม้น้ำไว้ โดยปลาจะมีพฤติกรรมนอนนิ่ง ๆ กับพ้น ในบางครั้งจะแผ่ครีบกางออกอวดสีสันสวยงาม[1]แต่ทว่าเมื่อเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นแล้วจะมีนิสัยดุร้ายมาก จะไล่กัดปลาชนิดอื่นและกินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร หากเลี้ยงรวมควรเลี้ยงรวมกับปลาบู่กล้วยด้วยกันเอง ซึ่งจากพฤติกรรมดัวกล่าวนี้เองทำให้ได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลากัดทะเล"