เอเชียนเกมส์ 2014
เมืองเจ้าภาพ | อินช็อน |
---|---|
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
คำขวัญ | อณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่ (เกาหลี: 평화의 숨결, 아시아의 미래; อาร์อาร์: Pyeonghwaui sumgyeol, asiaui mirae) |
ประเทศเข้าร่วม | 45 ประเทศ |
นักกีฬาเข้าร่วม | 9,501 คน |
กีฬา | 36 ชนิดกีฬา |
ชนิด | 439 ประเภท (50 การลงโทษ) |
พิธีเปิด | 19 กันยายน 2557 |
พิธีปิด | 4 ตุลาคม 2557 |
ประธานพิธีเปิด | พัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ |
ประธานพิธีปิด | อาห์เหม็ด อัล-ฟาฮัด อัล-อาห์เหม็ด อัล-ซาบาห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย |
นักกีฬาปฏิญาณ | โอ จิน-ฮย็อก นัม ฮยุน-ฮี |
ผู้ตัดสินปฏิญาณ | Kim Hong-lae Shu Hea-jung |
ผู้จุดคบเพลิง | อี ย็อง-แอ |
สนามกีฬาหลัก | อินช็อนเอซีแอดเมนสเตเดียม |
เว็บไซต์ทางการ | incheon2014ag.org |
เอเชียนเกมส์ 2014 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 17 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557[1] ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้
เมืองอินช็อนสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกรุงนิวเดลีของอินเดีย และได้รับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งนี้ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ อินช็อนถือว่าเป็นเมืองที่สามของเกาหลีใต้ที่ได้จัดกีฬาเอเชียนเกมส์ นับตั้งแต่กรุงโซลเมื่อ พ.ศ. 2529 และเมืองปูซานเมื่อ พ.ศ. 2545
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
[แก้]เมืองที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2014 มีทั้งสิ้น 2 เมือง ได้แก่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และเมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หลังจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006
การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ เอเชียนเกมส์ 2014 | ||
---|---|---|
เมือง | ประเทศ | คะแนน |
อินช็อน | เกาหลีใต้ | 32 |
เดลี | อินเดีย | 13 |
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้คัดเลือกเมืองเจ้าภาพระหว่างการประชุมที่กรุงคูเวตซิตี ประเทศคูเวตเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 ในการนำเสนอในรอบสุดท้าย เมืองอินช็อนของเกาหลีใต้ได้นำเสนอถึงการลงทุนสำหรับการแข่งขันกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการเดินทางและที่พักฟรีสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ส่วนกรุงนิวเดลีของอินเดียไม่ได้นำเสนออะไร ปรากฏว่าอินช็อนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจากที่เสนอตัว
หลังจากการลงมติ ทำให้เกิดกระแสอย่างกว้างขวางถึงการขาดความกระตือรือร้นในการรับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพของกรุงนิวเดลี โดยรัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของอินเดียได้รับการโจมตีจากประชาชนที่ยากจนอย่างมากว่า จะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถ้าเงินจัดสรรของรัฐบาลที่ใช้จัดการแข่งขันจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนยากจน โดยทางด้านของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นถึงความกังวล ด้านงบประมาณ และด้านมลพิษ หรือด้านจราจรในเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
[แก้]สนามแข่งขัน
[แก้]ทางเมือง อินช็อน ได้มีสนามการแข่งขัน 49 และสร้างขึ้นมาใหม่อีก 23 สนาม[2] และยังมีบ้านพักนักกีฬาและที่พักของสื่อมลวชน[3]
สนามกีฬาหลักของเมืองอินช็อนที่ใช้เปิดพิธีการแข่งขันคาดว่าที่นั่งประมาณ 61,000 ที่นั่ง และ 30,000 ที่นั่งอาจะเป็นตัวแปรของสนาม[4][5]
สนามแข่งขัน | กีฬา | ความจุ | การอ้างอิง |
---|---|---|---|
ดรีมพาร์กสเตเดียม | กอล์ฟ, ว่ายน้ำ, ยิงปืน, ขี่ม้า | 1,000 – 1,500 | [6] |
คังฮวาสเตเดียม | เทควันโด, วูซู, จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ | 1,010 – 4,026 | [7] |
คเยยังสเตเดียม | แบดมินตัน, ยิงธนู | [8] | |
มุนฮักพาร์กแท-ฮวันอะแควติกส์เซ็นเตอร์ | ว่ายน้ำ | 3,004 | [9] |
นัมดงสเตเดียม | ยิมนาสติก, รักบี้ | 5,200 – 8,100 | [10] |
ซ็อนฮักสเตเดียม | ฮอกกี้, ยูโด, มวยปล้ำ | 2,050 – 5,010 | [11] |
ชิบจ็องสเตเดียม | เทนนิส, สควอช | 1,207 – 5,061 | [12] |
ซงริมจิมเนเซียม | วอลเลย์บอล | 5,010 | [13] |
อินช็อนฟุตบอลสเตเดียม | ฟุตบอล | 20,000 | [14] |
การเดินทาง
[แก้]ระยะเวลาในการก่อสร้างรถไฟใต้ดินอินช็อนได้เสร็จสิ้นเร็วกว่าแผนที่วางไว้เดิมที่ปี ค.ศ. 2018
การแข่งขัน
[แก้]พิธีเปิด
[แก้]ในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ นายหญิงพัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ชีค อะห์เหม็ด อัล-ฟะฮัด อัล-ซะบะฮ์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เป็นต้น
พิธีปิด
[แก้]พิธีปิดการแข่งขันจะจัดขึ้นในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 4 ตุลาคม 2014 ในอินช็อนเอซีแอดเมนสเตเดียม[15]
ชนิดกีฬา
[แก้]เอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ บรรจุชนิดกีฬาทั้งหมด 36 ประเภท เป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ทั้งหมด 28 ชนิดกีฬา และไม่ได้แข่งขันในโอลิมปิก 8 ชนิดกีฬา ได้แก่
กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2014 |
---|
|
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
[แก้]คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน |
---|
|
ปฏิทินการแข่งขัน
[แก้]OC | พิธีเปิด | ● | รอบคัดเลือก | 1 | รอบชิงชนะเลิศ (ตัวเลข = จำนวนเหรียญทอง) | CC | พิธีปิด |
กันยายน/ตุลาคม 2014 | 14 อา. |
15 จ. |
16 อ. |
17 พ. |
18 พฤ. |
19 ศ. |
20 ส. |
21 อา. |
22 จ. |
23 อ. |
24 พ. |
25 พฤ. |
26 ศ. |
27 ส. |
28 อา. |
29 จ. |
30 อ. |
1 พ. |
2 พฤ. |
3 ศ. |
4 ส. |
เหรียญ ทอง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กระโดดน้ำ | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 10 | ||||||||||||||||
ว่ายน้ำ | 6 | 6 | 7 | 7 | 6 | 6 | 38 | |||||||||||||||
ระบำใต้น้ำ | 1 | ● | 1 | 1 | 3 | |||||||||||||||||
โปโลน้ำ | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | |||||||||
ยิงธนู | ● | ● | ● | ● | 4 | 4 | 8 | |||||||||||||||
กรีฑา | 5 | 8 | 7 | 4 | 11 | 11 | 1 | 47 | ||||||||||||||
แบดมินตัน | ● | ● | 1 | 1 | ● | ● | ● | 1 | 2 | 2 | 7 | |||||||||||
เบสบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ||||||||||||||
ซอฟท์บอล | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ||||||||||||||||
บาสเกตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | ||||||||
โบว์ลิ่ง | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | 2 | ● | 4 | ● | 2 | 12 | |||||||||||
มวยสากลสมัครเล่น | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 3 | ● | 10 | 13 | ||||||||||
เรือแคนูสลาลม | ● | 4 | 4 | |||||||||||||||||||
เรือแคนูสปรินต์ | ● | ● | 12 | 12 | ||||||||||||||||||
คริกเกต | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | |||||||
จักรยาน-บีเอ็มเอ็กซ์ | 2 | 2 | ||||||||||||||||||||
จักรยาน-เสือภูเขา | 2 | 2 | ||||||||||||||||||||
จักรยาน-ถนน | 2 | 1 | 1 | 4 | ||||||||||||||||||
จักรยาน-ลู่ | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 3 | 10 | |||||||||||||||
ขี่ม้า | 1 | ● | 1 | ● | ● | 2 | 1 | 1 | 6 | |||||||||||||
ฟันดาบ | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 12 | |||||||||||||||
ฟุตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | ||||
กอล์ฟ | ● | ● | ● | 4 | 4 | |||||||||||||||||
ยิมนาสติก-สากล | 1 | 1 | 2 | 5 | 5 | 14 | ||||||||||||||||
ยิมนาสติก-ลีลา | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||||
ยิมนาสติก-แทรมโพลีน | 2 | 2 | ||||||||||||||||||||
แฮนด์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | ||||||||||
ฮอกกี้ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||||
ยูโด | 4 | 5 | 5 | 2 | 16 | |||||||||||||||||
กาบัดดี้ | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | |||||||||||||||
คาราเต้ | 5 | 5 | 3 | 13 | ||||||||||||||||||
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ | 2 | 2 | 4 | |||||||||||||||||||
เรือพาย | ● | ● | ● | ● | 7 | 7 | 14 | |||||||||||||||
รักบี้ | ● | ● | 2 | 2 | ||||||||||||||||||
เรือใบ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 14 | 14 | |||||||||||||
เซปักตะกร้อ | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 2 | 6 | |||||||
ยิงปืน | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 10 | 6 | 6 | ● | 2 | 44 | |||||||||||
สควอช | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | 2 | 4 | |||||||||||||
เทเบิลเทนนิส | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | 3 | 2 | 7 | |||||||||||||
เทควันโด | 4 | 4 | 4 | 4 | 16 | |||||||||||||||||
เทนนิส-เทนนิส | ● | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 3 | 2 | 7 | ||||||||||
เทนนิส-ซอฟท์เทนนิส | ● | 2 | 1 | 2 | ● | 2 | 7 | |||||||||||||||
ไตรกีฬา | 2 | 1 | 3 | |||||||||||||||||||
วอลเลย์บอลชายหาด | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||||||
วอลเลย์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||||
ยกน้ำหนัก | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 3 | 15 | ||||||||||||||
มวยปล้ำ | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 20 | ||||||||||||||||
วูซู | 2 | 2 | 2 | 2 | 7 | 15 | ||||||||||||||||
พิธีการ | OC | CC | ||||||||||||||||||||
จำนวนเหรียญทอง | 18 | 24 | 27 | 29 | 38 | 38 | 22 | 24 | 30 | 32 | 29 | 46 | 41 | 34 | 7 | 439 | ||||||
เหรียญทองรวม | 18 | 42 | 69 | 98 | 136 | 174 | 196 | 220 | 250 | 282 | 311 | 357 | 398 | 432 | 439 | |||||||
กันยายน/ตุลาคม 2014 | 14 อา. |
15 จ. |
16 อ. |
17 พ. |
18 พฤ. |
19 ศ. |
20 ส. |
21 อา. |
22 จ. |
23 อ. |
24 พ. |
25 พฤ. |
26 ศ. |
27 ส. |
28 อา. |
29 จ. |
30 อ. |
1 พ. |
2 พฤ. |
3 ศ. |
4 ส. |
เหรียญ ทอง |
สรุปเหรียญการแข่งขัน
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
* เจ้าภาพ ( เกาหลีใต้)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน (CHN) | 151 | 109 | 85 | 345 |
2 | เกาหลีใต้ (KOR)* | 79 | 70 | 79 | 228 |
3 | ญี่ปุ่น (JPN) | 47 | 77 | 76 | 200 |
4 | คาซัคสถาน (KAZ) | 28 | 23 | 33 | 84 |
5 | อิหร่าน (IRI) | 21 | 18 | 18 | 57 |
6 | ไทย (THA) | 12 | 7 | 28 | 47 |
7 | เกาหลีเหนือ (PRK) | 11 | 11 | 14 | 36 |
8 | อินเดีย (IND) | 11 | 10 | 36 | 57 |
9 | จีนไทเป (TPE) | 10 | 18 | 23 | 51 |
10 | กาตาร์ (QAT) | 10 | 0 | 4 | 14 |
11–37 | Remaining | 59 | 97 | 179 | 335 |
รวม (37 ประเทศ) | 439 | 440 | 575 | 1454 |
การตลาด
[แก้]คำขวัญ
[แก้]คำขวัญอย่างเป็นทางการ ถูกเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 คือ Diversity Shines Here แปลว่า อณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่ โดยในคำขวัญคำว่า อณูแห่งความหลากหลาย หมายถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ของชาวเอเชีย ที่แตกต่างกันไป
สัญลักษณ์
[แก้]แมวน้ำ 3 ตัว ถูกเปิดตัวให้เป็นมาสคอตประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่เกาะซงโด ประเทศเกาหลีใต้ ชื่อ "บาราเม", "ชูมือโร" และ "บีชูอน" ซึ่งชื่อเป็นภาษาเกาหลีแปลว่า ลม การเต้นรำ และแสงสว่าง ตามลำดับ อีกทั้งมาสคอตแมวน้ำ 3 ตัวนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์การเชื่อมมิตรภาพระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้
ส่วนสัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นคล้ายตัว A ไม่มีขีดกลาง สีฟ้าและเขียว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายปีกซ้ายล้อมดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือนชาวเอเชียจับมือกันกลางท้องฟ้า
ความกังวลและข้อถกเถียง
[แก้]เอเชียนเกมส์ครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เกี่ยวกับการตัดสินของกรรมการในหลายชนิดกีฬาว่า เข้าข้างนักกีฬาชาติเจ้าภาพ คือ เกาหลีใต้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มวยสากลสมัครเล่น หรือฟุตบอลชาย ในมวยสากลสมัครเล่นมีหลายคู่ที่น่ากังขา ไม่ว่าจะเป็นในรอบ 16 คนสุดท้าย ในรุ่นไลต์เวต (60 กิโลกรัม) ระหว่าง สายลม อาดี นักมวยทีมชาติไทย กับ ฮัน-ซุลชู นักมวยทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งสายลมเป็นฝ่ายแพ้ไปอย่างค้านสายตา[61] หรือ ทักส์ซอกต์ ยัมไบร์ นักมวยทีมชาติมองโกเลีย เป็นฝ่ายแพ้ ฮัม ซัง-เมียง ไปแบบเอกฉันท์ ในรุ่นแบนตั้มเวต (56 กิโลกรัม) ในรอบ 8 คนสุดท้าย ทั้งที่ยัมไบร์เป็นฝ่ายชกเอาจนใบหน้าของซัง-เมียงอาบไปด้วยเลือด แม้ทางทีมชาติมองโกเลียพยายามจะประท้วงแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล และที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุด คือ การปฏิเสธรับเหรียญทองแดงและนำเหรียญดังกล่าวไปคล้องไว้ที่คอของ ปาร์ค-จีนา นักมวยหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ที่ได้เหรียญเงิน ของ สาริตา เทวี นักมวยหญิงทีมชาติอินเดียในพิธีรับเหรียญ เนื่องจากผิดหวังและไม่ยอมรับการตัดสินของกรรมการที่ตัดสินให้ตัวเองแพ้ในรอบรองชนะเลิศ ในรุ่นไลต์เวต อีกทั้งเมื่อเทวีทำการประท้วงหลังการชกก็ไม่เป็นผล[ต้องการอ้างอิง]
ในส่วนของฟุตบอลชาย ในรอบรองชนะเลิศที่ ทีมชาติไทย พบกับ ทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายแพ้ไป 0-2 กรรมการที่ทำหน้าที่ตัดสินในครั้งนี้ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการไม่ให้จุดโทษแก่ทีมชาติไทยในครึ่งหลัง ที่ทางทีมชาติเกาหลีใต้ล้มเอาแขนและลำตัวปัดลูกฟุตบอลในเขตโทษ แต่กลับให้จุดโทษแก่ทีมชาติเกาหลีใต้ในช่วงท้ายครึ่งแรก ทั้งที่การทำฟาวล์เกิดขึ้นในนอกเขตโทษชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]
ในกีฬาแบดมินตัน ก็ถูกตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับระบบปรับอากาศในสนามแข่งขันที่ส่งแรงลมแรงเกินจนทำให้ลูกขนไก่ของคู่แข่งของนักกีฬาชาติเจ้าภาพเปลี่ยนแปลงหรือเบี่ยงเบนทิศทางไป ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขัน[ต้องการอ้างอิง]
ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ได้ทำให้แฟนกีฬาของชาติที่เชื่อว่าตนถูกโกงได้พากันเข้าไปเขียนข้อความโจมตีเจ้าภาพและองค์กรกีฬาประเภทนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและตัดสินทางเฟซบุ๊คและเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จนบางเพจต้องปิดหน้าเพจไป[62]
อีกทั้งระบบการจัดการแข่งขันก็ยังถูกวิจารณ์อีกด้วยถึงเรื่องความไม่สะดวกสบาย เช่น ลิฟต์ในที่พักของนักกีฬาที่ต้องรอนานถึงกว่าครึ่งชั่วโมง[63] รวมถึงพิธีเปิดที่มีการแสดงคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ของบรรดานักร้องเค-ป๊อป รวมถึงดารานักแสดงชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก จนทำให้ดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญกับดารามากเกินไป ทั้งที่เป็นพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเอเชีย[64]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Incheon Wins 2014 Asian Games Bid เก็บถาวร 2007-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 เมษายน 2550
- ↑ "Incheon 2014 Progress; Olympic Medalist Coach Banned for Life". Around the Rings. 2011-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-09. สืบค้นเมื่อ 2011-12-03.
- ↑ Kyu-wook, Oh (2010-11-11). "Incheon being readied for 2014 Asian Games". The Korean Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-21.
- ↑ "Groundbreaking ceremony held for Incheon Asian Games main stadium". Korea.net. 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "2014 premiere in Korea for Populous". World Architecture News. 2009-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.
- ↑ "Dream Park Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Ganghwa Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Gyeyang Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Munhak Aquatics Center". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
- ↑ "Namdong Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Seonhak Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Sipjeong Stadium". incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "Songrim Gymnasium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
- ↑ "Sungui Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "仁川亚组委揭秘第17届亚运会". gxnews.com.cn (ภาษาจีน). 11 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Cambodia". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Qatar". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Korea". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "DPR Korea". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Kazakhstan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Kyrgyzstan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Kuwait". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Jordan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "China". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Japan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Saudi Arabia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Syria". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Timor-Leste". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Turkmenistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Chinese Taipei". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Tajikistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Thailand". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Nepal". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Brunei Darussalam". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Bangladesh". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Bahrain". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Pakistan". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Palestine". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Myanmar". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Philippines". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Bhutan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Mongolia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Maldives". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Macau, China". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Malaysia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Yemen". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Laos". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Lebanon". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Vietnam". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Sri Lanka". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "United Arab Emirates". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Singapore". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Afghanistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "India". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Indonesia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Iraq". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Iran". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Uzbekistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Oman". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "Hong Kong, China". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
- ↑ "ค้านสายตา"สายลม"แพ้เจ้าถิ่นตกรอบมวย อชก". ผู้จัดการออนไลน์. 26 September 2014. สืบค้นเมื่อ 26 September 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ หน้า 22 กีฬา, เอเชี่ยนเกมส์ เอเชี่ยนโกง??? โดย ผยองเดช. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,732: วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย
- ↑ "โค้ชกรีฑาติงที่พักนักกีฬาไทยที่อินชอน มีลิฟต์ตัวเดียว". เรื่องเล่าเช้านี้. 25 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
- ↑ "พิธีเปิดเอเชียนเกมส์ 2014 คนเกาหลีใต้วิจารณ์ยับ เป็นพิธีเปิดที่บ้าดาราและน่าอาย". boxza.com. 21 September 2014. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอเชียนเกมส์ 2014 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- เอเชียนเกมส์ 2014 ที่เฟซบุ๊ก
- IAGOC official website เก็บถาวร 2010-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
37°58′N 124°39′E / 37.967°N 124.650°E
ก่อนหน้า | เอเชียนเกมส์ 2014 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เอเชียนเกมส์ 2010 (กว่างโจว ประเทศจีน) |
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (19 กันยายน – 4 ตุลาคม ค.ศ. 2014) |
เอเชียนเกมส์ 2018 (จาการ์ตา–ปาเล็มบัง, ประเทศอินโดนีเซีย) |