ประวุฒิ ถาวรศิริ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ประวุฒิ ถาวรศิริ | |
---|---|
รักษาราชการแทน ผู้บัญชาตำรวจสอบสวนกลาง | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 14 มกราคม พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ |
ถัดไป | พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ |
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2557 – 25 ตุลาคม 2558 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 กรุงเทพมหานคร |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 31 มหาวิทยาลัยมหิดล |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก ประวุฒิ ถาวรศิริ (25 กุมภาพันธ์ 2499 -) อดีตที่ปรึกษา (สบ 10) (ด้านสืบสวนทางเทคโนโลยีและนิติวิทยาศาสตร์) ประธานสโมสรโอสถสภา เอ็ม-150 สระบุรี อดีตโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก่อนหน้านั้นมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คำสั่งที่ 595/2558 ตั้งพลตำรวจเอก เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา เป็นโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558[1] เขาลาออกจากราชการตำรวจ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558[2]
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก ประวุฒิ ถาวรศิริ หรือ พลตำรวจเอก ดร.ประวุฒิ ถาวรศิริ เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2499 ที่ กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า ตุ้ย บรรดาสื่อมวลชนจึงมักเรียกท่านว่า บิ๊กตุ้ย จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 6 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 15 และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 31
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่น 34 (ภาคบัณฑิตรหัส 48) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมจากมหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาเอกสาขาอาชญาวิทยาการบริหารและงานสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล เช่นเดียวกัน
การทำงาน
[แก้]หลังจากได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี พลตำรวจโทประวุฒิได้เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่ง รอง สวส.สน.คลองตัน และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเดียวกันที่ สน.ลุมพินี หลังจากนั้นพลตำรวจโทประวุฒิก็ได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่เรื่อยมา เป็นหนึ่งในนายตำรวจที่ควบคุม การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
[แก้]เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 พลตำรวจโทประวุฒิได้รับการแต่งตั้งรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบ สวนกลางแทนพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ที่ถูกปลดเนื่องจากผิดวินัยอาญาร้ายแรง
วันที่ 26 ธันวาคม 2557 พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้พลตำรวจตรี ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ มารักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแทนพลตำรวจโทประวุฒิโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2558[3]นอกจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวน เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศคำสั่งที่ 595/2558[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ ตั้ง'พล.ต.ต.ฐิติราช'รักษาราชการแทนผบช.ก.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕