ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1945–1969)
ปี ค.ศ. 1945 หลังจากการกลับมาแข่งขันฟุตบอลอีกครั้ง ได้นำไปสู่การติดต่อ แมตต์ บัสบี ให้เข้ามาคุมทีม เพื่อปฏิวัติสโมสรครั้งใหญ่ทั้งการเลือกตัวผู้เล่น การซื้อขายนักเตะ และรูปแบบการฝึกสอน[1] บัสบี้ทำทีมได้อันดับ 2 ในปี ค.ศ.1947 1948 และ 1949 และแชมป์เอฟเอคัพในปีค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นแชมป์แรกในรอบ 37 ปี ของสโมสร ในปีค.ศ. 1952 สโมสรก็ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ดีวิชั่น 1 ซึ่งถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศ หลังจากห่างหายไป 41 ปี [2]
ด้วยนักเตะอายุเฉลี่ยแค่ 22 ปี และสามารถครองแชมป์ได้ติดต่อกันในปี ค.ศ.1956 และ 1957 สื่อมวลชนได้ขนานนามทีมว่าบัสบีเบบส์ บัสบี้ได้ใส่ศรัทธาให้กับทีม ทำการปลุกปั้นผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแทนที่นักเตะที่อายุโรยราไป[3] ในปีค.ศ.1956-57 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้กลายเป็นทีมแรกของอังกฤษที่สามารถคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าปีนั้นสโมสรเชลซี มีโอกาสก่อนจากการเข้าชิง[4] แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับสโมสรรีล มาดริด ที่สามารถชนะทีมอันเดอร์เลช แชมป์ของลีกเบลเยียมได้ 10-0 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในการชนะคู่แข่งของสโมสร[5]
ฤดูกาลถัดมา ระหว่างการเดินทางกลับจากการแข่งขันรายการยูโรเปี้ยนคัพกับทีมเรด สตาร์ เบลเกรด เครื่องบินโดยสารที่บรรทุกนักเตะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด พร้อมผู้โดยสารอื่น ได้เกิดอุบัติเหตุระหว่างแวะเติมเชื้อเพลิงที่ มิวนิก เยอรมนี ซึ่งเรียกว่า ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1958 ได้คร่าชีวิตผู้โดยสารทั้งหมด 23 ชีวิต ซึ่ง 8 ในนั้นเป็นนักเตะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อันประกอบด้วย เจฟฟ์ เบนท์ โรเจอร์ เบิร์น เอดดี้ โคลแมน ดังคัน เอดเวิดส์ มาร์ค โจนส์ เดวิด เพกก์ ทอมมี่ เทย์เลอร์ และ บิลลี่ วีแลน และบาดเจ็บอีกจำนวนมากซึ่งสองในนั้นไม่สามารถเล่นฟุตบอลได้อีก[6][7]
ช่วงระยะเวลาที่บัสบีกำลังรักษาตัวอยู่ จิมมี เมอร์ฟี ผู้จัดการทีมสำรองและผู้ช่วยผู้จัดการทีมของบัสบีในทีมชุดใหญ่ได้เข้ามาคุมทีมแทนชั่วคราวและก็สามารถพาทีมเข้าถึง รอบชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพ แม้จะต้องพ่ายแพ้ให้แก่โบลตัน วันเดอเรอส์ ในช่วงเหตุการณ์ร้ายแรงนี้เอง ทางยูฟ่า ได้เชิญให้สโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ ปี 1958-59 พร้อมกับวูฟแฮมตัน วันเดอเรอร์ แชมป์ลีกสูงสุดในเวลานั้น แม้ว่าทางเอฟเอ จะไม่เห็นควรในการเข้าแข่งขันในครั้งนี้เพราะไม่ผ่านเงื่อนไขในการเข้าแข่งขัน[8][9] หลังจากเกิดเหตุการณ์มิวนิก 2 ปี บัสบี้ได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่จากผู้เล่นที่รอดชีวิต เช่น บ็อบบี ชาร์ลตัน แฮร์รี เกร็กก์ และ บิล โฟร์ค รวมทั้งนักเตะใหม่อันประกอบด้วย อัลเบิร์ต ควิแซล โนเอล แคนท์เวลและ มัวไรซ์ เซตเตอร์
บัสบีได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่ในช่วงทศวรรษท 1960 ในการซื้อนักเตะใหม่เข้ามาเสริม เช่น เดนนิส ลอว์ และ แพต ครีแลนด์ รวมทั้งผู้เล่นดาวรุ่งอย่าง จอร์จ เบสต์ และสามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพ ได้ในปี ค.ศ.1963 ซึ่งถือเป็นแชมป์แรกหลังจากเหตุการณ์ที่มิวนิก ปีต่อมาได้อันดับที่ 2 แต่ก็สามารถคว้าแชมป์ได้ในปี ค.ศ. 1965 และ 1967 ปี ค.ศ.1968 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้กลายเป็นสโมสรอังกฤษทีมแรกที่คว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ หลังจากเอาชนะ 4-1 ต่อทีมเบนฟิกาในนัดชิงชนะเลิศ[10] 3 นักเตะในทีมยังได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นแห่งปีของยุโรป อันประกอบด้วย บ็อบบี ชาร์ลตัน เดนิส ลอว์ และ จอร์จ เบสต์[11] แมตต์ บัสบี ลาออกในปี ค.ศ.1969 และถูกแทนที่โดยโค้ชทีมสำรองอย่าง วิล์ฟ แมคกินเนส ซึ่งเขายังเป็นอดีตนักเตะของยูไนเต็ดด้วย[12]
การแต่งตั้งแมตต์ บัสบี
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่กี่เดือน แมตต์ บัสบีได้เข้าพบกับประธานสโมสร เจมส์ กิ๊บสันในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยเริ่มต้นบัสบีได้รับข้อเสนอสัญญาเพียง 3 ปี แต่เจ้าตัวขอเพิ่มเป็น 5 ปี เนื่องจากว่าในเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง บัสบีมีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น[13] หลังจากเพิ่งยุติการค้าแข้งที่ผ่านมากับสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี และ ลิเวอร์พูล รวมถึงในลีกสก็อตติช การแต่งตั้งบัสบีในครั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เขาสามารถเลือกสตาฟฟ์ด้วยตัวเอง และการสามารถควบคุมทุกอย่างโดยต้องไม่ถูกแทรกแซง อาทิ การเลือกนักเตะลงแข่งขัน หรือความรับผิดชอบต่าง ๆ ในส่วนของผู้อำนวยการหรือประธาน บัสบีเริ่มงานในปี ค.ศ.1945 โดยสิ่งแรกที่ทำ คือ การแต่งตั้งจิมมี เมอร์ฟี เป็นโค้ชทีมสำรอง[14]
ฟุตบอลลีกกลับมาแข่งขันในปี ค.ศ.1946-47 และยูไนเต็ดจบฤดูกาลในอันดับ 2 ด้วยผู้เล่น แจค รอว์ลี่ ชาร์ลี มิทเทน และ จอห์น แอสตัน ในช่วงนี้กัปตันทีมคือ จอห์นนี่ คาเรย์ ผู้เล่นตำแหน่งกองหลังฝั่งขวาชาวไอริช โดยเขาเคยเล่นมาทุกตำแหน่งให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ยกเว้นตำแหน่งปีกขวา
พวกเขาจบอันดับนี้อีกครั้งในปีถัดไป พร้อมกับความผิดหวัง แต่ก็กลับมาได้โดยการคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ในปีค.ศ. 1948 หลังจากเอาชนะสโมสรแบล็คพูล ไปด้วยสกอร์ 4–2 ซึ่งเป็นถ้วยรางวัลแรกหลังจากห่างหายไปกว่า 37 ปี และเป็นก้าวเริ่มของการกอบโกยแชมป์ของยูไนเต็ด สนามโอล์ด แทรฟฟอร์ต ถูกระเบิดได้รับความเสียหายในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่สามารถใช้การแข่งขันได้ในช่วงปี ค.ศ.1945 ถึง 1949 โดยได้ย้ายไปใช้สนามเมนโร้ด ของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นการชั่วคราว[15]
หลังจากรอคอยมานานถึง 41 ปี ยูไนเต็ดก็สามารถกลับมาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศได้อีกครั้งในปี ค.ศ.1952 ภายใต้การนำทีมของจอห์นนี คาเรย์ โดยในนัดสุดท้าย พวกเขาชนะอาร์เซนอลทีมที่เบียดแย่งแชมป์ ได้ 6–1 จบฤดูกาลแต้มนำหน้าอาร์เซนอล และ ทอตนัมฮอตสเปอร์ และเข้าสู่การผลัดใบของนักเตะภายในทีม บัสบี้ได้เซ็นสัญญานักเตะตำแหน่งปีกคนสำคัญเข้าทีม คือ จอห์นนี่ เบอร์รี จากสโมสรเบอร์มิงแฮม ซิตี้ ในราคา 25,000 ปอนด์ และในปี ค.ศ.1949 ได้เซ็นสัญญาคว้าตัวผู้รักษาประตูดาวรุ่ง เรย์ วู้ด จากสโมสร ดาร์ลิงตัน รวมทั้งผู้เล่นดาวรุ่งตำแหน่งปีกซ้าย โรเจอร์ เบิร์นและในอีกหลายตำแหน่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง
บัสบีเบบส์
[แก้]ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟุตบอลได้หยุดพักการแข่งขัน และเจมส์ กิ๊บสันได้เริ่มก่อตั้งศูนย์ฝึกเยาวชนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ขึ้นในปี ค.ศ.1938 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนานความสามารถนักเตะคลื่นลูกใหม่ นักเตะดาวรุ่ง นักเตะเยาวชน เพื่อป้อนสู่นักเตะอาชีพอย่างมีคุณภาพ ซึ่งมันได้เป็นจุดเริ่มต้น ของการเพาะเมล็ดพันธ์ของนักเตะของสโมสรอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ[16] หลังจากคุมทีมมาถึงปี ค.ศ.1945 บัสบี้ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่ นักเตะ 7 คนถูกขึ้นบัญชีย้ายทีม นักเตะหลาย ๆ คนต้องเปลี่ยนตำแหน่งการเล่น รวมทั้งการเซ็นสัญญาคว้าตัว จิมมี่ เดลานี่มาจากกลาสโกว์เซลติก ผลจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ทีมสามารถจบอันดับในฤดูกาล 1946-1947 ในการเลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในปี ค.ศ.1948 สโมสรชนะรายการเอฟเอ คัพ ด้วยการชนะแบล็คพูล 4–2 ในนัดชิงชนะเลิศ ในฤดูกาลถัดมา บัสบีเริ่มต้นด้วยการขายนักเตะอายุมากออกจากทีมและแทนที่ด้วยนักเตะดาวรุ่งและนักเตะสำรอง ด้วยทีมวัยรุ่นคะนอง บัสบีเบบส์ ชุดนี้ ทีมสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1951 หลังจากการแจ้งเกิดของดาวรุ่งวัย 18 ปี แจ็คกี้ บลันช์ฟวาเวอร์ และโรเจอร์ เบิร์น วัยย 22 ปี ด้วยการเอาชนะลิเวอร์พูล ที่สนามแอนฟิล์ด ทอม แจ็คสัน ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์แมนเชสเตอร์อีฟนิ่งได้ขนานนามทีมชุดนี้ว่า ยูไนเต็ดเบบส์[17]
ฤดูกาล 1952 -53 จอห์นนี่ คาเรย์ ได้ยุติการค้าแข้งของตัวเอง ซึ่งมันก็เป็นจุดเริ่มของนักเตะชุด บัสบีเบบส์ ในการก้าวสู่ยุคแห่งแชมเปี้ยน ดาวิด เพ็กก์ เดนิส ไวโอเล็ต ดังคัน เอดเวิดส์ และ บิล โฟร์ค โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 16-21 ปี ทั้งหมดได้ลงเล่นครั้งแรกในฤดูกาลค.ศ.1952-53 นักเตะหลาย ๆ คนในชุดนี้ ถูกดึงเข้ามาภายใต้สายตาอันเฉียบคมของหัวหน้าแมวมอง โจ อาร์มสตรอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้ค้นหานักเตะในแถบเหนือของประเทศ บ็อบ บิช้อบ(เบลฟาร์ท) บิลลี่ บีฮาน(ดับบลิน) และบ็อบ ฮาเปอร์ ภายใต้การสนับสนุนของนโยบายสนับสนุนนักเตะเยาวชนของ แมตต์ บัสบี ยูไนเต็ดจบอันดับที่ 8 ในปี ค.ศ.1954 และอันดับ 5 ในปี ค.ศ.1955 ก่อนที่จะได้แชมป์ลีกในฤดูกาล 1955-56 โดยมีแต้มห่าง 11 แต้มจากอันดับ 2 ด้วยผู้เล่น ทอมมี เทย์เลอ และ เดนิส ไวโอเลต ด้วยผู้เล่นเฉลี่ย 22 ปี มี 2 ผู้เล่นจากยุค 1956 โรเจอร์ เบิร์น และ จอห์นนี่ เบอรรี่
หนึ่งในดาวเด่นของทีม คือ ดังคัน เอดเวิดส์ ผู้ซึ่งถูกบันทึกในประวิติศาสตร์ว่าเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ติดทีมชาติอังกฤษ ในเกมที่อังกฤษต้องเล่นกับสก๊อตแลนด์ ขณะที่เขามีอายุเพียง 17 ปี 8 เดือน โดยสถิตินี้ได้คงอยู่นานถึง 40 ปี ก่อนที่จะถูกทำลายโดยไมเคิล โอเว่น ในปี 1998 โดยโอเว่น ได้เป็นนักเตะของยูไนเต็ดหลังจากนั้นอีก 10 ปี ความยิ่งใหญ่ของเจ้าตัวนั้น สามารถดูได้จากการจัดอันดับ 50 นักเตะยอดเยี่ยมของยูไนเต็ดตลอดกาล ในปี ค.ศ.1999 ซึ่งดังคัน เอดเวิดส์ได้อันดับที่ 6 จากผลสำรวจของแฟนบอล ทั้ง ๆ ที่เขามีช่วงเวลากับยูไนเต็ดแค่ 5 ปี ด้วยอายุเพียง 21 ปีเท่านั้น
ปี ค.ศ.1957 ยูไนเต็ดป้องกันแชมป์ได้ โดย ทอมมี่ เทย์เลอร์ ยิงไป 22 ประตู เลียม วีแลน 26 ประตู รวมทั้งได้จากผู่เล่นดาวรุ่ง บ็อบบี ชาร์ลตัน อีก 10 ประตู ในปีเดียวกันนี้ ยูไนเต็ดได้เข้าชิงรายการเอฟเอ คัพ และต้องขาดผู้รักษาประตูตัวหลัก เรย์ วู๊ด เกือบทั้งเกม ในที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับ แอสตันวิลลาด้วยสกอร์ 2 - 1
สำหรับในเกมแรกของฟุตบอลยุโรป ยูไนเต็ดออกสตาร์ทด้วยการบุกไปเอาชนะทีมแชมป์ของลีกเบลเยียม อันเดอร์เลท ไปด้วยสกอร์ 2-0 และสามารถเปิดบ้านถล่มไปได้อีกถึง 10-0 ผ่านเข้ารอบไปได้อย่างสบาย ซึ่งนี่ถือเป็นสถิติชนะด้วยสกอร์สูงที่สุดในรายการยุโรปของยูไนเต็ด[18]
จากนั้นก็สามารถเอาชนะทีมอย่าง โบรุสเซีย ดอร์ทมุน และ แอตเลทิค บิลเบา ซึ่งพวกเขากลับมาได้หลังจากตามหลังอยู่ 2 ประตู ก่อนที่จะจบเส้นทางยุโรปด้วยความพ่ายแพ้ต่อ รีล มาดริด ในรอบรองชนะเลิศ
อุบัติเหตุทางอากาศที่มิวนิก
[แก้]วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1958 ยูไนเต็ดลงเล่นฟุตบอลยุโรปในรอบ 8 ทีมสุดท้ายนัดที่สองกับ เรด สตาร์ เบลเกรด ที่ ยูโกสลาเวีย การแข่งขันจบลงด้วยสกอร์ 3-3 แต่ยูไนเต็ดพกความได้เปรียบจากนัดแรกที่ชนะมา 2-1 ทำให้สกอร์รวมผ่านเข้ารอบไปได้ด้วยสกอร์ 5-4 ผ่านเข้าสู่รอบเซมิ ไฟนอล ได้สำเร็จเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
เครื่องบินเช่าเหมาลำแอร์สปีด แอมบาสเดอร์ ของบริษัทบริติช ยูโรเปียน แอร์เวย์ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่นักเตะยูไนเต็ดใช้โดยสารกลับ โดยออกจากเบลเกรด วันที่ 6 กุมภาพันธ์ และจอดเติมเชื้อเพลิงที่มิวนิก การนำเครื่องขึ้นเกิดปัญหาถึงสองครั้ง เกี่ยวกับปัญหาทางด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับสนามบินมิวนิกทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงอีก
หลังจากความพยายามถึง 3 ครั้ง นักบินก็สามารถนำเครื่องขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ แต่การที่พวกเขาอยู่ในสถานการณ์ วี1 "การตัดสินใจเกี่ยวกับความเร็ว" ความเร็วเครื่องบินลดลงอย่างกะทันหัน เครื่องบินได้ตกกระทบพื้น ชนเข้ากับรั้วและบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนปีกซ้ายและหางของเครื่องบินหักลง ส่วนกราบเครื่องบินด้านขวากระแทกเข้ากับถังน้ำมันและเกิดระเบิดขึ้น โดยผลการพิสูจน์หลักฐานอย่างเป็นทางการสรุปว่า สาเหตุเกิดจากน้ำแข็งที่หลอมละลาย และทำให้ความเร็วในขณะขึ้นเครื่องลดลง จนไม่สามารถนำเครื่องบินขึ้นได้สำเร็จ
มาร์ค โจนส์ เดวิด เปกก์ โรเจอร์ เบิร์น (กัปตันทีมตั้งแต่ปีค.ศ. 1953) เจฟฟ์ เบนท์ เอดดี้ โคลแมน เลียม วีแลน และ ทอมมี่ เทย์เลอร์ เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ รวมทั้ง วอล์เตอร์ คริกเมอร เลขานุการ โค้ชทอม เคอร์รี่ ส่วน เบิร์ท วาล์เลย์ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด แมตต์ บัสบี้ และ จอร์นนี่ เบอรี่ ได้รับบาดเจ็บสาหัส เอ็ดเวิร์ดเสียชีวิตหลังจาก 15 วันของการรักษาตัว เบอร์รี่ และ แจ็คกี้ บลันซ์ฟวาเวอร์ รอดชีวิตแต่ก็ไม่สามารถกลับมาลงสนามได้อีกครั้ง เบิร์น เทย์เลอร์ และเอ็ดเวิร์ด เป็นตัวหลักในทีมชาติอังกฤษ ลงเล่นทั้งหมด 70 นัด ทำไปได้ 21 ประตู ขณะที่ เปกก์ วีแลน เบอร์รี่ และบลันซ์ฟวาเวอร์ ทั้งหมดเคยรับใช้ทีมชาติอังกฤษ ไอร์แลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ
สรุปผู้เสียชีวิตจากเหตุการ์หลังได้รับบาดเจ็บมีทั้งสิ้น 23 ชีวิต 4 ชีวิตเป็นผู้โดยสาร 2 ชีวิตเป็นลูกเรือ 8 คอลัมนิสส์ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ แฟรงค์ สวิฟท์ อดีตผู้รักษาประตูทีมชาติอังกฤษของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี สำหรับผู้รอดชีวิตประกอบด้วยผู้รักษาประตู แฮรรี่ เกร็กก์ ซึ่งเพิ่งเซ็นสัญญาร่วมทีมมาจากสโมสร ดอนคาสเตอร์ โรเวอร ฟูลแบ็ก บิลล์ โฟล์ก และศูนย์หน้า บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน
เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมในปี ค.ศ.1949 ซึ่งเป็นเหตุการณ์เครื่องบินตกของสโมสรโตริโน ในปีค.ศ.1987ที่ลิม่า เปรู ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 43 คน (ลูกเรือรอดชีวิตเพียงคนเดียว) ส่งผลให้ลูกทีมทั้งหมดของสโมสรอลิแอนซ่า ลิม่ากองเชียร์ และสต้าฟโค้ชเสียชีวิต และเหตุการณ์เครื่องบินตกในปี ค.ศ.1993 สูญเสีย 18 ชีวิตของนักเตะทีมชาติแซมเบีย
สร้างทีมใหม่
[แก้]แจ็คกี้ บลันซ์ฟวาเวอร์ และ จอร์นนี่ เบอรี่ ได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นฟุตบอลต่อได้อีก ส่วนเคนนี่ มอร์แกนส์ หลังจากพักรักษาตัวและกลับมาลงเล่นต่อ เค้าก็ไม่สามารถคืนสู่ฟอร์มการเล่นเก่าได้อีก แมตต์ บัสบี้ ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 2 เดือน ด้วยอาการแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง ด้วยโอกาสรอดชีวิตในเบื้องต้นมีแค่ 50-50 เท่านั้น
ช่วงเวลาที่บัสบี้พักรักษาตัวอยู่ ทีมอยู่ภายใต้การคุมทีมของผู้ช่วยผู้จัดการ จิมมี่ เมอร์ฟี่ (เมอร์ฟี่ไม่ได้เดินทางไปยูโกสลาเวียด้วยเนื่องจากภารกิจทีมชาติเวลส์ในเกม ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ที่ต้องพบกับอิสราเอล) ซึ่งยูไนเต็ดต้องดิ้นรนอย่างหนักในการแข่งขันเกมลีกด้วยผู้เล่นที่เหลืออยู่ พวกเค้าชนะแค่ 1 จาก 14 เกมการแข่งขัน และจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 9 แต่ก็สามารถทำผลงานได้ดีในเกมการแข่งขันเอฟเอ คัพ จนสามารถผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่ก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ให้กับโบลตันด้วยสกอร์ 2–0 จบฤดูกาล ยูฟ่า ได้เสนอไปทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งยูไนเต็ดและแชมเปี้ยนในปี ค.ศ.1958-59 วูล์ฟแฮมตัน ให้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ เพื่อชดเชยจากการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยมีการทำอย่างนี้มาก่อน แต่อย่างไรก็ดี สมาคมฟุตบอลอังกฤษก็ได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ไป
หลังจากนั้น ช่วงระหว่างปีค.ศ.1958 ถึง 1962 เป็นช่วงเวลาของการสร้างทีมใหม่ขึ้นมาด้วยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะใหม่เข้ามาเสริมทีม ประกอบไปด้วย อัลเบิร์ต ควิกซอลล์ เมาไรซ์ เซทเทอส์ เดนิส ลอว์ แพต ครีแรนด์ และ โนเอล แคนท์เวลล์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการลงทุนสำหรับอนาคต เพราะด้วยช่วงเวลาอันนั้น เหล่านักเตะสายเลือดใหม่ยังไม่สามารถทำผลงานได้ประทับใจและอันดับที่ดี ๆ ได้ นักเตะที่เหลือรอดจากเหตุการณ์มิวนิก บางส่วนก็อยู่รับใช้สโมสรอีกหลายปี อันได้แก่ แฮรรี่ เกรกก์ บิลล์ โฟล์ค และบ็อบบี ชาร์ลตัน ขณะที่ เรย์ วู้ด อัลเบิร์ด สแกนลัน และ เคนนี่ มอร์แกนส์ ย้ายทีมในปี ค.ศ.1961 และเดนิส ไวโอเล็ต ถูกขายให้กับสโมสรสโต้ค ซิตี้ ในปี ค.ศ.1962
ผลงานของทีมในช่วงนี้ดูจะไม่ค่อยสม่ำเสมอ ในลีกฤดูกาล 1962–63 พวกเค้าจบที่อับดับ 19 แต่ก็สามารถเอาชนะเลสเตอร์ซิตี ได้ 3–1 ที่สนามเวมบลีย์ ได้ครองแชมป์ถ้วยเอฟเอ คัพ
หลังเหตุการณ์เครื่องบินตก ชื่อบัสบี้ เบปป์ ดูจะไม่ค่อยเหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องการนิกเนมใหม่มาแทน เพื่อเป็นการขู่ขวัญคู่ต่อสู้ไปในตัว ในขณะนั้น ทีมสโมสรรักบี้ของอังกฤษแซลฟอร์ด ได้เดินทางไปทัวร์ที่ฝรั่งเศส ในปีค.ศ.1930 โดยใส่ชุดสีแดงภายใต้ชื่อที่รู้จักในหมู่แฟน ๆ ว่า "ปีศาจแดง" บัสบี้ ชอบชื่อนี้มากและคิดว่าปีศาจน่าจะเหมาะและเพิ่มกำลังขวัญให้กับนักเตะและขู่ขวัญคู่แข่งได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเค้าจึงกำหนดให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นที่รู้จักกันในนาม "ปีศาจแดง" และในเวลาต่อมาสโมสรก็ได้นำโลโก้รูปปีศาจมาติดไว้ที่หนังสือโปรแกรมการแข่งขันและผ้าพันคอ[19] จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 ตราสโมสรได้ถูกออกแบบให้เป็นรูปปีศาจยืนอยู่ตรงกลางพร้อมทั้งถือง่ามด้วย
กลางยุค 60
[แก้]เดือน กันยายน ปีค.ศ.1963 วงการลูกหนังได้ก่อกำเนิดอัจฉริยะนักเตะศูนย์หน้าในวัยเพียงแค่ 17 ปี นามว่า จอร์จ เบสต์ ซึ่งเป็นการก่อกำเนิด 3 ประสาน อันประกอบด้วยชาร์ลตัน ลอว์ และเบสท์ทำให้ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ในปีช่วงศตวรรษที่ 60 ปีค.ศ.1963-64 ลอว์ทำไปได้ถึง 46 ลูกในทุกรายการการแข่งขัน ยูไนเต็ดจบในอันดับที่ 2 จากนั้นพวกเค้าได้แชมป์ลีกในปีค.ศ.1964-65 เฉือนทีมลีด ยูไนเต็ด ด้วยประตูได้เสีย และชนะ 13 จาก 15 เกมในช่วย กันยายน ถึง ธันวาคม ค.ศ.1964 การสร้างทีมใหม่เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดย บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน และบิล โฟล์ก เป็นเพียงผู้เล่นที่รอดชีวิตจากมิวนิกและยังอยู่ในทีม ส่วน แฮรรี่ เกร็ก ยังอยู่กับทีมแม้จะได้รับบาดเจ็บค่อนข้างหนักที่หัวไหล่ จนกระทั่งถึงฤดูกาล 1966-67[20]
ฤดูกาลดังกล่าว ยังมีส่วนพัฒนาอีกด้านหนึ่ง ก็คือ สนามโอล์ด แทรฟฟอร์ด ได้รับการขยับขยายด้วยเงินสนับสนุนของรัฐบาล อันเนื่องมาจากอังกฤษจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 โดยฝั่งนอร์ทสแตนด์ถูกสร้างใหม่ด้วยโครงสร้างเหล็ก นักเตะยูไนเต็ด คือ บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน และน็อบบี้ สไตส์ ได้มีโอกาสลงเล่นให้อังกฤษในนัดชิงชนะเลิศ ซึ่งผลปรากฏว่า อังกฤษสามารถเอาชนะเยอรมนีตะวันตกไปได้ด้วยสกอร์ 4-2 ปีก จอร์น คอนเนลลี่ ก็ได้รับเลือกให้เป็นหนุ่งในสมาชิกของอักฤษชุดบอลโลกด้วย แต่ก็ไม่ถูกเลือกสำหรับใช้งานในนัดชิงชนะเลิศ
ยูไนเต็ดได้แชมป์ลีกอีกในปี ค.ศ.1966-67 โดยไม่แพ้ใครเลยใน 20 นัดหลังสุดและการันตีตำแหน่งแชมป์ของพวกเค้าด้วยการชนะเวสท์แฮม ไปด้วยสกอร์ 6-1 และได้สิทธ์ไปแข่งขันในรายการยูโรเปี้ยน คัพ ในปีถัดไป ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของยุคแห่งความสำเร็จ พวกเค้าจบรายการฟุตบอลถ้วยลีก คัพ แค่รอบสอง ด้วยฝีมือของทีมแบล็คพูล ที่ชนะบลูมฟิล์ด โร้ด มาด้วยสกอร์ 5–1[21]
เจ้ายุโรป (1967–68)
[แก้]ยูไนเต็ดเริ่มต้นฟุตบอลยุโรปด้วยงานไม่ยากนัก พวกเค้าผ่านเข้ารอบด้วยผลประตูรวม 4-0 ชนะทีมฮิเบอร์เนียน จากนั้นตามด้วยทีมซาราเยโว และทีม โกนิค ซาเบอร์ จากโปแลนด์ ซึ่งยูไนเต็ดสามารถเอาชนะด้วยสกอร์รวม 2-1 ผ่านเข้าสู่รอบเซมิ ไฟนอล ไปพบกับงานหินชิ้นโต รีล มาดริด โดยในเลคแรกที่ต้องเจอกันที่สนามโอล์ด แทรฟฟอร์ด ด้วยการตั้งรับอย่างเหนียวแน่นของรีล มาดริด ทำให้ยูไนเต็ดเก็บชัยชนะได้เพียงสกอร์ 1-0 ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบว่านัดต่อไปจะต้องไปเยือนที่สนามเบอร์นาบิว
เดนิส ลอว์ มีอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าจนไม่สามารถลงช่วยเกมที่เบอร์นาบิวได้ ดังนั้นบัสบี้จึงตัดสินใจใช้นักเตะกองหลังวัย 36 ปี บิลล์ โฟล์ค มาแทนตำแหน่งทางด้านขวา ยูไนเต็ดออกสตาร์ทได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควรและต้องตามหลังถึง 3-1 เมื่อจบเวลาในครึ่งแรก สกอร์รวมตอนนี้ รีล มาดริดนำอยู่ 3-2 เริ่มครึ่งหลัง หลังจากการแก้เกม ยูไนเต็ดเริ่มทำได้ดีขึ้น บุกกดดันรีล มาดริดอย่างหนัก จนกระทั่งเดวิด แซดเลอร์ มาทำประตูตีเสมอสกอร์รวมเท่ากันที่ 3-3 แล้วสุดท้าย บิลล์ โฟล์ก ก็กลายเป็นฮีโร่ซัดประตูชัยให้ยูไนเต็คจากการผ่านบอลของจอร์จ เบสต์ ซึ่งเป็นเพียงประตูเดียวที่เค้ายิงได้ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยยุโรป และเป็นประตูสุดท้ายใน 9 ประตูในการลงเล่นเกือบ 700 นัดให้สโมสร
ยูไนเต็ดผ่านเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศพบกับสโมสรเบนฟิกาที่สนามเวมบลีย์ ซึ่งถือว่าเป็นคืนอันพิเศษสำหรับบัสบี้ หลังจากที่เคยให้คำมั่นสัญญาว่าเค้าจะพาทีมยูไนเต็ดก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่งของยุโรป โดยอาศัยความสามารถของบัสบี้ในการปลุกปั่นทีมจากผู้เล่นดาวรุ่งให้กลายเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่ โดยในนักเตะชุดที่ลงชิงชนะเลิศ มีนักเตะแค่ 2 คนที่มาจากการย้ายทีมเท่านั้น
บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน เบิกร่องประตูขึ้นนำให้ยูไนเต็ด แต่เบนฟิกาก็ตีเสมอได้ทันควันจากเจม กราซ่า และยังโหมกระหน่ำอย่างต่อเนื่องเพื่อประตูขึ้นนำยูไนเต็ดให้ได้ แต่ก็ต้องขอบคุณอเล็ก สเต๊ปนี่ ที่ป้องกันประตูจากความพยายามของยูเซบิโอ และยูไนเต็ดก็สามารถยื้อได้จนถึงช่วงต่อเวลาพิเศษ ในที่สุดความพยายามของยูไนเต็ดก็ประสบความสำเร็จจากการทำประตูด้วยความสามารถเฉพาะตัวของจอร์จ เบสต์ และ ไบรอัน คิดด์ ฉลองวัย 19 ปี และบ๊อบบี้ ชาร์ลตันก็มาทำประตูตอกย้ำชัยชนะ ไปด้วยสกอร์ 4–1 ยูไนเต็ดกลายเป็นทีมแรกของอังกฤษที่สามารถครองแชมป์เป็นเจ้ายุโรปถ้วยใหญ่สุดไปครองได้สำเร็จ[22]
แมตต์ บัสบี้ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินจากความสำเร็จในครั้งนี้[22] และยังได้ขนานนามว่าเป็นผู้ปลดปล่อยของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[23]
สิ้นสุดยุค (1968–69)
[แก้]จากการเป็นแชมป์ยูโรเปี้ยน แมนยูไนเต็ดมีคิวต้องลงฟาดแข้งกับทีมเอสตูเดียนเต้ เดอร์ ลา พลาต้าทีมแชมป์จากอเมริกาใต้ ในการแข่งขันอินเตอร์คอนติเนนตอล คัพ ปี ค.ศ.1968 เอสตูเดียนเต้ชนะเมื่อรวมสกอร์ทั้ง 2 นัด โดยนัดแรกที่สนามบูโนส ไอเรส เลอร์ บอมโบเนร่า เอสตูเดียนเต้เป็นฝ่ายชนะไปก่อนด้วยสกอร์ 1-0 และกลับมาเสมอกัน 1–1 ที่สนามโอล์ด แทรฟฟอร์ด ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ยูไนเต็ดพลาดการคว้าแชมป์ในสนามเหย้าของตัวเอง[24] ในถ้วยยูโรเปี้ยน คัพ ยูไนเต็ดแพ้ให้กับมิลาน ในรอบเซมิไฟนอลล์ หลังจากที่ถูกปฏิเสธประตูทั้งที่บอลข้ามเส้นไปอย่างชัดเจนแล้วในนัดที่สองที่โอล์ด แทรฟฟอร์ด จึงทำให้จบลงด้วยชัยชนะเพียงแค่ 1–0 และต้องตกรอบไปด้วยผลสกอร์รวมแพ้ต่อมิลานไป1–2 จบฤดูกาลบัสบี้ได้ผันตัวเองไปเป็นผู้จัดการทั่วไป[25] ซึ่งเค้าได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ถึงการลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1969[26] และผู้ฝึกสอน วิล์ฟ แมคกินเนสส์ ได้ตกลงที่จะมาคุมทีมชุดใหญ่แทน[25]
เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1969 นักเตะยูไนเต็ดหลายคนล่วงเข้าสู่วัยที่ต้องเลิกเล่น โฟล์ก แขวนสตั้ดในฤดูกาลถัดมาด้วยวัย 37 ปี เชย์ เบรนแนน และ บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน เข้าสู่วัย 30 ต้นๆ และ เดนิส ลอว์ ใกล้ฉลองวันเกิดครบ 30 ปีในอีกไม่กี่เดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดี ทีมก็ยังประกอบด้วยนักเตะดาวรุ่งอีกหลายคน ไบรอัน คิดด์ โชว์ฟอร์มได้น่าประทับใจในวัยเพียง 20 ปี และนักเตะใหม่อย่างวิลลี่ มอร์แกน อดีตนักเตะที่ดึงมาจากเบิร์นลี่หลังจากได้แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ อเล็ก สเต็ปนี่ ในวัย 26 ปี สามารถยึดตำแหน่งตัวจริงในตำแหน่งผู้รักษาประตู หลังจากที่ยูไนเต็ดเซ็นสัญญาคว้าตัวมาจากเชลซี ตั้งแต่ 3 ปีก่อนหน้าเพื่อมาแทนแฮรรี่ เกร็กthree years earlier to replace Harry Gregg.
อ้างอิง
[แก้]- บรรณานุกรม
- Barnes, Justyn; Bostock, Adam; Butler, Cliff; Ferguson, Jim; Meek, David; Mitten, Andy; Pilger, Sam; Taylor, Frank OBE; Tyrrell, Tom; และคณะ (2001) [1998]. The Official Manchester United Illustrated Encyclopedia (3rd ed.). London: Manchester United Books. ISBN 0-233-99964-7.
- White, Jim (2008). Manchester United: The Biography. London: Sphere. ISBN 978-1-84744-088-4.
- หมายเหตุ
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 13
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 10
- ↑ Murphy (2006), p. 71
- ↑ Glanville, Brian (27 April 2005). "The great Chelsea surrender". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
- ↑ Barnes et al. (2001), pp. 14–15
- ↑ "1958: United players killed in air disaster". BBC News. British Broadcasting Corporation. 6 February 1958. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
- ↑ Barnes et al. (2001), pp. 16–17
- ↑ White, Jim (2008), p. 136
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 17
- ↑ Barnes et al. (2001), pp. 18–19
- ↑ Moore, Rob; Stokkermans, Karel (11 December 2009). "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 19
- ↑ Philip, Robert (1 February 2008). "How Matt Busby arrived at Manchester United". London: Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
- ↑ "Manager Profile: Matt Busby". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "Birth and Rise of the Babes". ManUtd.com. Manchester United. 6 February 2008. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 12
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 14
- ↑ "Best and Worst". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
- ↑ "History - Salford City Reds Rugby League Club". Salford City Reds. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
- ↑ "Bobby CHARLTON; Knight who led the charge for Ramsey's England". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-09. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
- ↑ Gillatt, Peter (30 November 2009). Blackpool FC on This Day: History, Facts and Figures from Every Day of the Year. Pitch Publishing Ltd. ISBN 1-905411-50-2.
- ↑ 22.0 22.1 "1968: Manchester Utd win European Cup". BBC News. 29 May 1968. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
- ↑ Todd, Eric (15 January 1969). "The most philosophical footballer". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
- ↑ "Intercontinental Cup 1968". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
- ↑ 25.0 25.1 Taylor, Daniel (23 May 2008). "1969: Matt Busby retires from Man United". gurdian.co.uk. London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
- ↑ "1969: Matt Busby retires from Man United". BBC News. 14 January 1969. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- History by Decade – 1940–1949 at ManUtd.com
- History by Decade – 1950–1959 at ManUtd.com
- History by Decade – 1960–1969 at ManUtd.com