ข้ามไปเนื้อหา

ปกรณ์ บูรณุปกรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปกรณ์ บูรณุปกรณ์
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าบุษบา ยอดบางเตย
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม พ.ศ. 2543 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ถัดไปบุญเลิศ บูรณุปกรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต1 กันยายน พ.ศ. 2556 (54 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–2556)

ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 - 1 กันยายน พ.ศ. 2556) ชื่อเล่น ตุ๊ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

ประวัติ

[แก้]

ปกรณ์ เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[1]

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การทำงาน

[แก้]

นายปกรณ์ เคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึงปี พ.ศ. 2540 และเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 2 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2543 เขามีผลงานที่สำคัญคือ การผลักดันถนนคนเดินบริเวณถนนราชดำเนิน[2] จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นถนนคนเดินสายหลักของจังหวัดเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน จากนั้นได้สมัครเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติพัฒนา แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนกว่าสามหมื่นสามพันคะแนน เอาชนะนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้คะแนนสองหมื่นห้าพันคะแนนเศษ[3]

ในปี พ.ศ. 2549 นายปกรณ์ เป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2555 โดยสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 และเป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่สื่อมวลชนให้ความสนใจว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในที่สุดเขาไม่ได้เข้ารับตำแหน่งแต่อย่างใด[4]

ถึงแก่กรรม

[แก้]

นายปกรณ์ เสียชีวิตเมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 จากอาการแทรกซ้อน หลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 54 ปี [5] โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 8 กันยายนของปีเดียวกัน ณ สุสานสันกู่เหล็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. ช็อก!โรคหัวใจคร่า 'ปกรณ์ บูรณุปกรณ์' อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  5. ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต สส.เชียงใหม่เสียชีวิต
  6. ชาวเชียงใหม่ แห่ร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพอดีต ส.ส."ปกรณ์"คับคั่ง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕