ข้ามไปเนื้อหา

บ้านจันทร์ส่องหล้า

พิกัด: 13°47′19″N 100°29′28″E / 13.788578°N 100.491117°E / 13.788578; 100.491117
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านจันทร์ส่องหล้า
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทบ้านพัก
ที่ตั้ง474 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 71 แยก 13 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด
เมืองกรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°47′19″N 100°29′28″E / 13.788578°N 100.491117°E / 13.788578; 100.491117
เจ้าของ

บ้านจันทร์ส่องหล้า คือ บ้านพักส่วนตัวของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 474 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 71 แยก 13 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ คำว่า "บ้านจันทร์ส่องหล้า" หรือ "วังจันทร์ส่องหล้า" ที่ใช้เรียกในหนังสือพิมพ์ หรือในวงการเมืองไทย อาจหมายถึง กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย ที่สังกัดโดยตรงต่อทักษิณ ซึ่งเป็นกลุ่มแยกการเมือง (Faction) ที่สำคัญของพรรคไทยรักไทย[1]

บ้านจันทร์ส่องหล้าเคยเป็นสถานที่รับรองนายจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช อดีตประธานาธิบดีคนที่ 41 ของสหรัฐ เมื่อครั้งมาเยือนประเทศไทย[2][3] พร้อมกับบิล คลินตัน ประธานาธิบดีคนที่ 42 ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ในช่วงที่ประเทศไทยประสบเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547[4]

ในปลายปี พ.ศ. 2566 กรมราชทัณฑ์ ได้ออกระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ระบุให้บ้านสามารถเป็นสถานที่คุมขังได้ ทำให้ แก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ วิจารณ์ว่าระเบียบนี้อาจทำให้บ้านจันทร์ส่องหล้าเข้าข่ายเป็นสถานที่คุมขัง และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับทักษิณที่กลับมารับโทษจำคุก และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจทันทีหลังจากที่เข้าเรือนจำในวันแรก เนื่องจากหากทักษิณรักษาตัวจนร่างกายกลับมาแข็งแรงเป็นปกติแล้ว ผู้คุมสามารถย้ายทักษิณไปคุมขังในบ้านจันทร์ส่องหล้าได้ทันที โดยไม่ต้องกลับเข้าเรือนจำอีกจนกระทั่งพ้นโทษในที่สุด[5]

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หลังจากทักษิณได้รับอนุญาตให้พักโทษ ได้ออกจากโรงพยาบาลตำรวจและกลับเข้าพักที่บ้านจันทร์ส่องหล้าทันที[6] หลังจากนั้นอีกเพียง 3 วันคือในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นมายาวนานกับทักษิณได้เดินทางมาเยี่ยมทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้า[7] และในอีกครึ่งปีต่อมาทักษิณได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ประชุมกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลก่อนการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังเศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนออกจากตำแหน่ง[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วังน้ำเย็นขุดกำพืด คุ้ยคดีปาเจโร่อัดยับ "หมอวิชัย"". ผู้จัดการออนไลน์. 7 มกราคม 2006. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023. น.พ.วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ส.ส.อุดรธานี พรรคไทยรักไทย กลุ่มวังจันทร์ส่องหล้า{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ยุค "รักษาแบรนด์"". Positioning Magazine. 5 ตุลาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023. “จอร์จ บุช” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บิดาของ ”จอร์จ ดับเบิลยู บุช” มาเยือนถึงบ้านจันทร์ส่องหล้า{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ชาติสุทธิชัย, ชัชวาลย์ (13 สิงหาคม 2013). ""เหลี่ยม" จับมือกับ "อเมริกา" ยึดชาติไทย (ตอนสิบแปด!)". ไฮด์ปาร์กลงกระดาษ. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023. ผมไม่สนิทกับบุชลูก แต่ซี้ปึ้กกับบุชพ่อ เพราะเขาเคยมานอนที่บ้านจันทร์ส่องหล้าแล้ว{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ทักษิณ อาลัย "จอร์จ บุช ผู้พ่อ" เผยความประทับใจส่วนตัว-ยกเป็นผู้นำยิ่งใหญ่". มติชน. 2 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023. สิ่งแรกทีข้าพเจ้านึกถึงเมื่อได้ข่าวอันเศร้าสลดนี้ก็คือภาพของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ สองท่านคือประธานาธิบดีคลินตันและประธานาธิบดี บุช ผู้พ่อ เดินอยู่ท่ามกลางความร้อนระอุ เยี่ยมเยือนผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์สึนามิ เมื่อ พ.ศ.2547{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ลำปาว, ทวน (23 ธันวาคม 2023). "สถานีต่อไป ขัง 'ทักษิณ' หรือบ้านจันทร์ส่องหล้า?". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ""ทักษิณ" จาก รพ.ตร.ถึง "จันทร์ส่องหล้า" ชินวัตร ยินดี 17 ปี ที่รอคอย". ไทยรัฐ. 18 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ย้อนสัมพันธ์ "ทักษิณ-ฮุนเซน" แขกคนแรกบ้านจันทร์ส่องหล้า". ไทยพีบีเอส.
  8. "'เพื่อไทย' เคาะชื่อ 'ชัยเกษม' ชิงเก้าอี้นายกฯ วงคุยบ้านจันทร์ส่องหล้าพรรคร่วมมาครบ". mgronline.com. 2024-08-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°47′19″N 100°29′28″E / 13.788578°N 100.491117°E / 13.788578; 100.491117