บุญเลิศ สว่างกุล
บุญเลิศ สว่างกุล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2529 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
คู่สมรส | นางอุษณีย์ สว่างกุล |
บุญเลิศ สว่างกุล (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 สมัย และเป็นประธานมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย[1]
ประวัติ
[แก้]นายบุญเลิศ สว่างกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายสังเกต และ นางหน่อดู สว่างกุล[2] สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] สมรสกับนางอุษณีย์ สว่างกุล (สกุลเดิม ไพรัชกุล บุตรสาวนายชาญชัย ไพรัชกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่) มีบุตร 2 คน
งานการเมือง
[แก้]บุญเลิศ เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองแร่ ในบ้านเกิด ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2538 รวม 4 สมัย[4]
ในปี พ.ศ. 2539 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5] ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
พ.ศ. 2544 บุญเลิศ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ จากพรรคไทยรักไทย
ในปี 2548 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]บุญเลิศ สว่างกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคพลังธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดร. วีระ เลิศสมพร สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2553
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ คำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ การเมืองคือเรื่องชนเผ่าแม่ฮ่องสอน สนุกแน่ กระเหรี่ยงชนกระเหรี่ยง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแม่สะเรียง
- ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- พรรคแรงงาน (ประเทศไทย)
- พรรคไท (พ.ศ. 2517)
- พรรคสหประชาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.