ข้ามไปเนื้อหา

นิตีศ กุมาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิตีศ กุมาร
มุขยมนตรีรัฐพิหารคนที่ 22
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ 2015
ผู้ว่าการ
รอง
ก่อนหน้าจิตัน ราม มันฌี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤสจิกายน 2005 – 17 พฤษภาคม 2014
ผู้ว่าการพูตะ สิงห์
โคปาลกฤษณะ คานธี
อาร์เอสคาไว
อาร์เอส ภาเตีย
เทวานันท์ โกนวร
ดีวาย ปฏิล
รองสุศิล กุมาร โมดี (2005-2013)
ก่อนหน้าภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี
ถัดไปชิตัน ราม มันฌี
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม 2000 – 10 มีนาคม 2000
ผู้ว่าการวีซี ปันเด
ก่อนหน้ารบรี เทวี
ถัดไปรบรี เทวี
รัฐมนตรีการรถไฟ
ดำรงตำแหน่ง
20 มีนาคม 2001 – 21 พฤษภาคม 2004
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารี วัชยปายี
ก่อนหน้ามามาตา บาเนร์จี
ถัดไปลลุ ปรสัท ยดาว
ดำรงตำแหน่ง
19 มีนาคม 1998 – 5 สิงหาคม 1999
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารค วัชยปายี
ก่อนหน้ารามวิลาส ปัสวัน
ถัดไปลลุ ปรสัม ยะดาว
รัฐมนตรีการเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม 2000 – 21 กรกฎาคม 2001
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารี วัชยปายี
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน 1999 – 3 มีนาคม 2000
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารี วัชยปายี
รัฐมนตรีกรมการขนส่งทางบก
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม 1999 – 22 พฤศจิกายน 1999
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารี วัชยปายี
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน 1998 – 5 สิงหาคม 1999
นายกรัฐมนตรีอตาล พิหารี วัชยปายี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1951-03-01) 1 มีนาคม ค.ศ. 1951 (73 ปี)
พัขติอรปุระ, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย
พรรคการเมืองชนตาดัล (ยูไนเต็ด)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชนตาดัล
คู่สมรสมันจู กุมารี
บุตรนิศันต์ กุมาร (บุตร)
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ปัฏนา (B.E.)

นิตีศ กุมาร (Nitish Kumar; เกิด 1 มีนาคม 1951) เป็นนักการเมืองชาวอินเดีย มุขยมนตรีรัฐพิหารคนที่ 22 คนปัจจุบันและเคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วห้าวาระ[1] เขาเคยเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวงและกรมมาก่อน

กุมารเป็นสมาชิกของพรรคชนตาดัล (ยูไนเต็ด) และการปกครองของกุมารได้รับการยกย่องในรัฐว่าเป็นการเปลี่ยนที่ดีจากคำสาปของการโกงกินที่ไม่สิ้นสุด, อาชญากรรม และการบริหารที่ล้มเหลว ขณะดำรงตำแหน่งมุขยมนตรีของรัฐพิหาร เขาได้สร้างตำแหน่งอาชีพครู 100,000 ตำแหน่ง, จูงใจแพทย์ให้เข้าทำงานในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ, ทำให้ไฟฟ้าเข้าถึงหลายหมู่บ้าน,[2] ทำถนน, ลดอัตราการไม่รู้หนังสือในสตรีลงครึ่งหนึ่ง, กวาดล้างอาชญากรรมในรัฐ และเพิ่มรายได้เฉลี่ยของชาวพิหารเพิ่มขึ้นสองเท่า[3]

ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2014 กุมารลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการดำเนินงานที่ไม่ประสบความสำเร็จขอบพรรคเขาในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2014 และถูกสืบทอดตำแหน่งโดยชิตัน ราม มันฌี อย่างไรก็ตาม เขาได้กลับมาดำรงตำแหน่ง ลอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 หลังวิกฤตการเมืองรัฐพิหาร ปี 2015 และชนะการเลือกตั้งใน การเลือกตั้งระดับรัฐ ปี 2015 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าระดับชาติของพรรคในวันที่ 10 เมษายน 2015 และลาออกอีกครั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม 2017 ภายหลังความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลร่วมของราษฏรียชนตาดัล (RJD) รัฐบาลพิหารโดยกุมารได้บังคับกฎห้ามจำหน่ายและดื่มสุราในรัฐเมื่อเดือนเมษายน 2016[4]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

นิตีศ กุมาร เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1951 ที่พัขติอรปุระในรัฐพิหาร บิดาของเขา ชื่อว่า Kaviraj Ram Lakhan Singh เป็นอายุรเวท ส่วนมารดาของเขา มีชื่อว่า Parmeshwari Devi นิตีศอยู่ในวรรณะเกษตรกรรมของกุรมี[5][6]

เขาสำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมพิหาร (สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติปัฏนาในปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 1972[7][8] เขาได้เข้าทำงานที่คณะกรรมธิการไฟฟ้ารัฐพิหาร แต่ก็ทำงานได้ไม่เต็มที่นัก จึงผันตัวไปทำงานด้านการเมืองแทน[9] เขาสมรสกับมันจู กุมารี (1955-2007) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 และมีบุตรชาย 1 คน[6] มันจู กุมารีถึงแก่กรรมที่นิวเดลีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ด้วยโรคปอดอักเสบ[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nitish Kumar sworn-in as CM for sixth time: A look at the life of the 'Chanakya of Bihar politics'". Firstpost. PTI. 27 July 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-01-02.
  2. "Nitish Kumar's development agenda makes waves in Bihar". Lok Sabha Elections 2009. Sify News. 1 May 2009. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
  3. Antholis, William (22 October 2013). "New Players on the World Stage: Chinese Provinces and Indian States". Brookings Institution. สืบค้นเมื่อ 12 November 2015.
  4. Prakash, Guru (8 May 2020). "Nitish Kumar must lift alcohol ban to rescue Bihar from low GST and corona crisis". ThePrint. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
  5. Kumar, Sanjay (2018-06-05). Post mandal politics in Bihar:Changing electoral patterns. SAGE publication. ISBN 978-93-528-0585-3.
  6. 6.0 6.1 "Chief Minister of Bihar". Government of Bihar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-06. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.
  7. "Bihar leader-Mr. Nitish Kumar". Hindustan Times. 18 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-17. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015.
  8. "A Politician other Politicians should Emulate!". Polityindia.com. 18 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  9. "I dream of the old glory days of Bihar". The Times Of India. 1 January 2012. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.
  10. https://www.hindustantimes.com/india/nitish-kumar-s-wife-passes-away-in-delhi/story-W6jz9FvoNtuKkb772mo5zH.html