ท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมมารดาสุ่น ในรัชกาลที่ 4)
คุณ ท้าววนิดาพิจาริณี (สุ่น) | |
---|---|
ท้าววนิดาพิจาริณีขณะสวมชุดทหารจิงโจ้ | |
เสียชีวิต | 3 กันยายน พ.ศ. 2443[1] |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี |
บิดามารดา | พระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์) คุณหญิงกลิ่น สุรินทรราชเสนี |
ญาติ | เจ้าจอมมารดาสุด ในรัชกาลที่ 5 (น้องสาว) เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 (น้องสาว) |
ท้าววนิดาพิจาริณี หรือ เจ้าจอมมารดาสุ่น มีนามเดิมว่า ยี่สุ่น[1] (ไม่ทราบ — 3 กันยายน พ.ศ. 2443)[1] เป็นนางละครและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติการพระราชธิดาหนึ่งพระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี[2][3]
ประวัติ
[แก้]ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดในครอบครัวอำมาตย์สืบสันดานมาแต่พระยาธรรมปุโรหิต (แก้ว) เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[1] เป็นธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์) บ้างเขียนว่า "จัน"[2] กับคุณหญิงกลิ่น สุรินทรราชเสนี[1] (บางแห่งว่าเกิดกับมารดาชื่อ สุ่น)[2] มีน้องสาวร่วมบิดามารดาอีกสองคนเข้ารับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ เจ้าจอมมารดาสุด[4] และเจ้าจอมมารดาสาย[3]
เจ้าจอมมารดาสุ่นได้ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนองพระเดชพระคุณด้วยมีประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 —20 กรกฎาคม พ.ศ. 2446)[1][2][3]
หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตไปแล้ว เจ้าจอมมารดาสุ่นยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็น ท้าววนิดาพิจาริณี ศักดินา 800 เมื่อปี พ.ศ. 2429[1][2][3]
ท้าววนิดาพิจาริณี ป่วยเป็นวัณโรคถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2443 ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า[6]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ราชสกุลวงศ์, หน้า 76
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 319
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ หน้า 135
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 81
- ↑ "ข่าวตายในกรุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 17 (ตอนที่ 25): หน้า 314. 16 กันยายน ร.ศ. 119. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
- กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554,