ท่าอากาศยานเบอร์ลินเท็มเพิลโฮฟ
ท่าอากาศยานเบอร์ลินเท็มเพิลโฮฟ Flughafen Berlin-Tempelhof | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มุมมองทางอากาศของท่าอากาศยานถ่ายใน ค.ศ. 2016 | |||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | เลิกใช้ | ||||||||||||||
เจ้าของ | สถาบันอสังหาริมทรัพย์กลางและสหพันธรัฐเบอร์ลิน[1] | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | Berlin Airports | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | |||||||||||||||
ที่ตั้ง | กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี | ||||||||||||||
ฐานการบิน | Deutsche Luft Hansa (1926-1945) American Overseas Airlines (1948–1950) Pan American World Airways (1950–1975) Air France (1950–1959) British European Airways (1951–1974) Riddle Airlines (คริสต์ทศวรรษ 1960) Capitol Int'l Airways คริสต์ทศวรรษ (1960) Saturn Airways (1964–1967) Autair (คริสต์ทศวรรษ 1960) Overseas Aviation (ต้นคริสต์ทศวรรษ 1960) British Airways (1974–1975) Tempelhof Airways (1981–1990) Hamburg Airlines (1990–1997) Conti-Flug (1990–1994) Lufthansa CityLine (1990–1992) Cirrus Airlines (2001–2008) | ||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 164 ฟุต / 50 เมตร | ||||||||||||||
พิกัด | 52°28′25″N 013°24′06″E / 52.47361°N 13.40167°E | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ท่าอากาศยานเบอร์ลินเท็มเพิลโฮฟ (อังกฤษ: Berlin Tempelhof Airport; เยอรมัน: Flughafen Berlin-Tempelhof) (IATA: THF, ICAO: EDDI) เป็นท่าอากาศยานแห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์คทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ท่าอากาศยานฯ ยุติการดำเนินงานใน ค.ศ. 2008 ท่ามกลางข้อพิพาท ทำให้เทเกิลและเชอเนอเฟ็ลท์เป็นท่าอากาศยานหลักสองแห่งในนคร
กระทรวงคมนาคมกำหนดเท็มเพิลโฮฟเป็นท่าอากาศยานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1923 อาคารผู้โดยสารเก่าเดิมสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1927 รัฐบาลนาซีเริ่มการบูรณะขนานใหญ่กลางคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อรองรับการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น
เท็มเพิลโฮฟเป็นท่าอากาศยานก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสัญรูปหนึ่งในสามแห่งของทวีปยุโรป อีกสองแห่งได้แก่ ท่าอากาศยานครอยดอนในกรุงลอนดอนและท่าอากาศยานปารี–เลอบูร์แก (Paris–Le Bourget Airport) แห่งเก่าซึ่งปัจจุบันทั้งสองเลิกใช้แล้ว ท่าอากาศยานนี้ได้รับสถานภาพสัญรูปเพิ่มอีกในฐานะศูนย์กลางการลำเลียงเบอร์ลิน (Berlin Airlift) ในปี 1948–49 ลักษณะโดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของท่าอากาศยานนี้คือหลังคาแบบเปิดประทุนขนาดใหญ่ที่ยื่นออกไปเหนือลาดเชิงเขา สามารถรองรับสายการบินร่วมสมัยส่วนใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้ อาคารหลักของท่าอากาศยานเท็มเพิลโฮฟเคยติดอันดับอาคารใหญ่ที่สุดในโลก 20 อันดับแรก[3]
ท่าอากาศยานเท็มเพิลโฮฟยุติการดำเนินงานทั้งหมดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2008[4] ต่อมามีการใช้เป็นพื้นที่นันทนาการเรียก "เท็มเพิลโฮเฟอร์เฟ็ลท์"[5] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 มีประกาศว่าจะใช้เท็มเพิลโฮฟเป็นค่ายผู้ลี้ภัยฉุกเฉินด้วย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Institute for Federal Real Estate, September 2008. Page 9.
- ↑ "EAD Basic - Error Page". eurocontrol.int. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
- ↑ Airports International June 1975 (industry magazine)
- ↑ Kulish, Nicholas (30 October 2008). "Crowds Bid Farewell to Airport That Saved Berlin". สืบค้นเมื่อ 20 June 2017 – โดยทาง NYTimes.com.
- ↑ Fahey, Ciarán (5 March 2015). "How Berliners refused to give Tempelhof airport over to developers". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 May 2016.
- ↑ Akkoc, Raziye (14 September 2015). "Refugee crisis: Europe's borders unravelling as Austria and Slovakia impose frontier controls - live". www.telegraph.co.uk. The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 14 September 2015.