ข้ามไปเนื้อหา

ทุ่งไหหิน

พิกัด: 19°25′48″N 103°09′11″E / 19.43°N 103.153°E / 19.43; 103.153
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหล่งไหหินใหญ่ในเชียงขวาง –
ทุ่งไหหิน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ไหหินกลุ่มที่ 3
พิกัด19°25′53.4″N 103°09′14.0″E / 19.431500°N 103.153889°E / 19.431500; 103.153889
ประเทศ ลาว
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii)
อ้างอิง1587
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2562 (คณะกรรมการสมัยที่ 43)
พื้นที่174.56 เฮกตาร์
พื้นที่กันชน1,012.94 เฮกตาร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
ทุ่งไหหิน
ທົ່ງໄຫຫິນ
ทุ่งไหหิน ฐาน 1
ที่ตั้งของทุ่งไหหินและที่ราบเชียงขวาง (สีน้ำเงิน)
ที่ตั้งที่ราบสูงเชียงขวาง
ภูมิภาค ลาว
พิกัด19°25′48″N 103°09′11″E / 19.43°N 103.153°E / 19.43; 103.153
ความสูงประมาณ 3 เมตร
ความเป็นมา
วัสดุหิน
ชาวม้งบนไหหิน

ทุ่งไหหิน (ลาว: ທົ່ງໄຫຫິນ) คือ ภูมิประเทศทางโบราณคดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของหินใหญ่ (megalith) ที่กระจัดกระจายไปทั่วที่ราบสูงเชียงขวาง แขวงเชียงขวาง ทางเหนือของประเทศลาว ประกอบด้วยหินใหญ่รูปทรงไหนับพัน ปรากฏเป็นกลุ่ม ๆ ตลอดแนวเขาและอยู่ล้อมรอบหุบเขาสูง

ที่ราบสูงเชียงขวาง ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของเทือกเขาอันนัมอันเป็นเทือกเขาหลักในอินโดจีน โดยมีการค้นพบทุ่งไหหินเบื้องต้นในช่วง ค.ศ. 1930 ซึ่งกล่าวถึงไหหินที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากนั้นได้มีการขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวลาวและชาวญี่ปุ่น และมีการค้นพบวัตถุเกี่ยวกับงานศพและเครื่องเคลือบรอบ ๆ ไหหิน วัตถุเหล่านั้นถูกกำหนดให้อยู่ในช่วงสมัยยุคเหล็ก (Iron Age) และกลายเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการศึกษายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งโบราณคดีทุ่งไหหินบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้นและโครงสร้างหินใหญ่ ที่อยู่ในชุมชนยุคเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลลาวกำลังผลักดันให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวางเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งเคียงคู่กับเมืองหลวงพระบาง แขวงเชียงขวางเป็นพื้นที่ทางโบราณคดีสำคัญของลาว เพราะมีพื้นที่ราบหลายแห่งเต็มไปด้วยไหหินอายุระหว่าง 2,500–3,000 ปี จำนวนหลายพันชิ้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่โต[1]

ตำนานและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

[แก้]

เรื่องราวและตำนานของลาวได้เล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีการต่อสู้ของยักษ์ซึ่งอาศัยในดินแดนแห่งนี้ ในตำนานท้องถิ่นบอกเล่าถึงกษัตริย์โบราณนามว่า "ขุนเจือง" ซึ่งเข้าปราบปรามยักษ์และต่อสู้กันอย่างยาวนาน ในที่สุดก็สามารถพิชิตศัตรูของเขาได้

กษัตริย์สั่งให้สร้างไหเพื่อชงเหล้าลาวและเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ไหถูกหล่อแบบขึ้นมาโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว ทราย น้ำตาล และซากพืชซากสัตว์ในรูปแบบหินผสม เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าถ้ำที่ 1 ในบริเวณทุ่งไหหินคือเตาเผา และไหหินยักษ์ถูกเผาที่นี่ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้ทำมาจากหิน ข้ออธิบายอื่น ๆ กล่าวไว้ว่าไหสร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำฝนในฤดูมรสุม โดยใช้สำหรับกองคาราวานซึ่งอาจไม่สามารถหาน้ำได้ระหว่างการเดินทาง

ข้อสันนิษฐาน

[แก้]

ปัจจุบันมีข้อสันนิษฐานกำเนิดทุ่งไหหิน 3 ประการ คือ

  1. ตัดมาจากหินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ซึ่งทำไว้เพื่อบรรจุคนตายในสมัยก่อน เมื่อพันปีมาแล้ว (ก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก 3,000–4,000 ปี) ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่ว่า สถานที่ฝังศพคนตายต้องรักษาไว้ในที่สูง เพื่อหลีกเว้นการเซาะพังทลายจากน้ำต่าง ๆ ดังนั้นจึงเห็นไหหินอยู่ในสถานที่เป็นเนินสูง
  2. เป็นไหเหล้าของนักรบโบราณ คือตามตำนานกล่าวไว้ว่าระหว่างศตวรรษที่ 8 นักรบผู้กล้าหาญของลาวผู้หนึ่ง ชื่อว่าท้าวขุนเจืองได้ยกกำลังพลไปทำสงครามแล้วก็ได้ชัยชนะอยู่ที่เชียงขวาง หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ก็ได้ทำการฉลองชัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 7 เดือน ไหที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไหเหล้าสำหรับเลี้ยงไพร่พลในการฉลองชัยชนะของท้าวขุนเจือง ในคราวนั้น ดังนั้นคนลาวทั่วไปมักเรียกว่า “ไหเหล้าเจือง”
  3. เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นเดียวกับสโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นหินตั้งกลางแจ้งเช่นเดียวกับทุ่งไหหินที่เชียงขวางนี้แต่มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม[2]

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

วัฒนธรรมหินตั้งที่มีลักษณะแบบทุ่งไหหินมีอยู่ทั่วโลก แต่ทุ่งไหหินที่ประเทศลาวมีจำนวนมากและแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่หนึ่ง เป็นทุ่งไหหินที่ใหญ่และมีมากที่สุด อยู่ห่างจากเมืองโพนสวรรค์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 7.5 กิโลเมตร ไปทางเมืองคูน เมืองหลวงเก่า มีจำนวนไหประมาณ 200 ไห และมีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มอื่น ๆ

ถัดมาทางด้านซ้ายมือของทุ่งไหหินจะพบถ้ำแห่งหนึ่งมีแสงแดดสาดส่องลงมา ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นปล่องมีความสูงประมาณ 60 เมตร ลักษณะภายในถ้ำไม่ลึกมากนัก สามารถบรรจุคนได้ 50 - 60 คน ถ้ำแห่งนี้เคยใช้เป็นที่หลบภัยสงครามของชาวเมืองเชียงขวางยามเมื่อเครื่องบินมาทิ้งระเบิด พร้อมกับใช้เป็นคลังเก็บอาวุธและเชื้อเพลิงเมื่อสงครามอินโดจีนที่ผ่านมา บริเวณโดยรอบทุ่งไหหินบนจุดชมวิวจะพบร่องรอยการขุดสนามเพลาะเป็นแนวยาวเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ และหลุมระเบิดขนาดใหญ่หลายหลุม ตลอดจนร่องรอยที่ไหหินแตกกระจายอันเป็นผลมาจากฝูงเครื่องบิน บี 52 ของอเมริกา[3]

กลุ่มที่สอง อยู่ห่างจากเมืองไปทางใต้ 25 กิโลเมตร มีไหหินที่นี่เพียง 90 ไห ไหหิน

กลุ่มที่สาม อยู่ห่างจากกลุ่มที่สองไปทางใต้ 10 กิโลเมตร (35 กิโลเมตร จากโพนสวรรค์) กลุ่มนี้มีหินทั้งสิ้น 150 ไห[4]

อ้างอิง

[แก้]