ข้ามไปเนื้อหา

ทาแมนดัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทาแมนดัว
ทาแมนดัวเหนือ (Tamandua mexicana) ที่คอสตาริกา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับใหญ่: Xenarthra
อันดับ: Pilosa
อันดับย่อย: Vermilingua
วงศ์: Myrmecophagidae
สกุล: Tamandua
Rafinesque, 1815[1]
ชนิด

ทาแมนดัว เป็นตัวกินมดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tamandua ซึ่งคำว่า tamanduá นี้เป็นภาษาตูเปียนแปลว่า "ตัวกินมด"[2]

ทาแมนดัว เป็นตัวกินมดที่มีขนาดกลาง มีความยาวเต็มที่ตั้งแต่ปลายปากจรดหางราว 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร ทาแมนดัวมีลิ้นที่เรียวยาวสามารถยืดหดเข้าไปในปากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตวัดเอาแมลงขนาดเล็กกินเป็นอาหาร

ทาแมนดัว มีขนปกคลุมตลอดทั้งลำตัวและมีผิวหนังที่หนาเพื่อป้องกันตัวจากการถูกกัดหรือโจมตีโดยแมลงที่เป็นอาหาร แต่ปลายหางของทาแมนดัวนั้นเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ ซึ่งปลายหางนั้นสามารถใช้เกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ได้เป็นอย่างดี เมื่อแลมองไกล ๆ จะเหมือนกับว่ามีแขนที่ 5 เนื่องจากทาแมนดัวเป็นตัวกินมดที่หากินและใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก

มีกรงเล็บตีนหน้าที่แหลมคม ใช้สำหรับขุดคุ้ยหาแมลงกิน และใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งทาแมนดัวเมื่ออาศัยหรือเข้าไปหากินในพื้นที่ใด ๆ ลิงหลายชนิดก็จะไม่เข้าใกล้ และจะหนีไป

เนื่องจากทาแมนดัวเป็นตัวกินมดที่หากินบนต้นไม้เป็นหลัก ดังนั้นอาหารที่กินส่วนใหญ่จะเป็น มด มากกว่าจะเป็นปลวก ซึ่งเป็นแมลงที่ทำรังบนพื้นดินมากกว่า และถึงแม้ว่าทาแมนดัวจะไม่มีฟัน แต่เมื่อถูกคุกคามหรือถูกจับด้วยมนุษย์ ก็จะหันมากัดด้วยกราม ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาทาแมนดัวต้องสวมเครื่องป้องกันตลอดทั้งแขน นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะยืนด้วย 2 ขาหลังได้ โดยยกกรงเล็บตีนหน้าขึ้นเพื่อการป้องกันตัว

ทาแมนดัว เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ในป่าดิบตั้งแต่อเมริกากลาง จนถึงทวีปอเมริกาใต้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนเป็นหลัก แต่ก็สามารถหากินในเวลากลางวันได้ด้วยเช่นกัน โดยปกติเป็นสัตว์ที่พบเห็นตัวได้ยาก เนื่องจากค่อนข้างเก็บตัวและขี้อาย และจากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า ทาแมนดัวยังใช้กรงเล็บหน้าในการผ่าลูกปาล์มที่เพิ่งสุกแยกออก เพื่อใช้ลิ้นตวัดกินน้ำและเนื้อผลของลูกปาล์มกินเป็นอาหารได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมนี้เชื่อว่าเป็นพฤติกรรมที่มาจากการเรียนรู้ หรือสั่งสอนกันมาจากรุ่นต่อรุ่น เพื่อเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม[3]

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov
  2. Hilton, E.J., Fernandes, C.C., Sullivan, J.P., Lundberg, J.G. and Campos-da-Paz, R. (Sep 2007). "Redescription of Orthosternarchus tamandua (Boulenger, 1898) (Gymnotiformes, Apteronotidae), with reviews of its ecology, electric organ discharges, external morphology, osteology, and phylogenetic affinities". Proceedings of the Academy of Natural Sciences of Philadelphia 156 (1): 1–25. DOI:10.1635/0097-3157(2007)156[1:ROOTBG]2.0.CO;2.
  3. Anteaters, "Nick Baker's Weird Creatures" .สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 10 เมษายน 2556

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tamandua ที่วิกิสปีชีส์