ทัณฑนิคม-3
พิกัดภูมิศาสตร์ | 66°49′07″N 65°47′44″E / 66.81861°N 65.79556°E |
---|---|
สถานะ | ดำเนินงาน |
เปิดให้บริการ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2504 |
บริหารโดย | หน่วยงานทัณฑสถานแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย |
เมือง | ฮาร์ป (Харп) |
รัฐ/จังหวัด | เขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์ |
ประเทศ | รัสเซีย |
ทัณฑนิคม-3 (รัสเซีย: ФКУ ИК-3)[a] สังกัดหน่วยงานทัณฑสถานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในเขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์[1] หรือเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า Polar Wolf (รัสเซีย: Полярный волк, อักษรโรมัน: Polyarnyy volk, แปลตรงตัว 'สุนัขป่าขั้วโลก' หรือ รัสเซีย: Ямская тройка, อักษรโรมัน: Yamskaya troyka) เป็นทัณฑนิคมความมั่นคงสูงสุดสำหรับนักโทษชายตั้งอยู่ในเมืองฮาร์ป (Харп) เขตปรีอูราลสกี (Приура́льский райо́н) ในเขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์ รองรับจำนวนนักโทษได้ 1,085 คน[1]
ประวัติ
[แก้]เมืองฮาร์ปถูกสร้างขึ้นโดยนักโทษของกูลักในสมัยการปกครองของสตาลิน[2][3]
นิคมนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2504 บนพื้นที่พักแรมเดิมของสถานที่ก่อสร้างค่ายบังคับแรงงานสหภาพโซเวียตที่ 501[1][4] ซึ่งเดิมเรียกว่า "Яц-34/3"
ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการสร้างอาคารเรือนนอนสำหรับนักโทษหลังแรก หน่วยแพทย์ ห้องทำน้ำร้อน โรงอาบน้ำ ห้องซักรีด หอพักสำหรับส่วนผู้ตั้งถิ่นฐานของนิคม และอาคารจุดตรวจกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2513 นักโทษต้องทำงานในเหมืองหิน โดยขนถ่ายทรายและกรวดเพื่อถมทางรถไฟ ในปี 2507 มีการสร้างอาคารถาวรหลังแรกในนิคม ในปี 2509 มีการสร้างโรงอาหาร อาคารสำนักงานใหญ่ และสถานีดับเพลิง อาชญากรอันตรายผู้ต้องโทษจำคุกซึ่งกระทำความผิดซ้ำกลุ่มแรก[4] ถูกนำตัวไปยังอาณานิคมในปี พ.ศ. 2510
ในปี พ.ศ. 2514 มีการสร้างโรงพัสดุ โรงน้ำแข็ง และโรงเก็บอุปกรณ์ของหน่วย ตั้งแต่ปี 2528 ทัณฑนิคม-3 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นักโทษที่ถูกคุมขังที่นั่นถูกจ้างแรงงานในการผลิตโดยได้รับค่าจ้างต่ำที่สุด ในปี 2542 วิหารนักบุญเซียร์เกย์ ราโดเนจสกี (Сергий Радонежский) ซึ่งสร้างขึ้นโดยนักโทษได้เปิดทำการ
ในปี พ.ศ. 2541 การปฏิรูประบบการลงทัณฑ์ได้เริ่มต้นขึ้น และทัณฑนิคมได้ย้ายสังกัดจากกระทรวงกิจการภายในมาเป็นกระทรวงยุติธรรม ในปี 2542 หน่วยงานอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของหน่วยบังคับการลงทัณฑ์ของเขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์ และเปลี่ยนชื่อจาก "YaTs-34/3" (Яц-34/3) เป็น "สถาบัน OG-98/3" (Учреждение ОГ-98/3)
ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้งแดนควบคุมสำหรับนักโทษทั่วไป ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการเปิดแดนมั่นคงสูงในนิคมโดยใช้อาคารพักอาศัยที่ได้รับการดัดแปลงหมายเลข 4, 5 และ 6 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการเปิดส่วนการตั้งถิ่นฐานในนิคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 แดนควบคุมทั่วไปและแดนนักโทษเด็ดขาดถูกยกเลิก โดยนักโทษจากแดนเหล่านี้ถูกส่งไปรับโทษจำคุกในภูมิภาคอื่น
ในปี 2547 สถาบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เอฟเกอู ไอเค-3 หน่วยงานทัณฑสถานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในเขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์" (รัสเซีย: ФГУ ИК-3 УФСИН России по ЯНАО, อักษรโรมัน: FGU IK-3 UFSIN Rossii po YANAO)
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้คว่ำบาตรบุคคลหกคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบทัณฑนิคมในเวลาที่ผู้ต้องโทษอะเลกเซย์ นาวัลนืยถึงแก่กรรม[5]
ผู้ต้องโทษที่เป็นที่รู้จัก
[แก้]- ปลาตอน เลเบเดฟ (Плато́н Леони́дович Ле́бедев) ถูกจำคุก 8 ปี ในไอเค-3 จากคดีเกี่ยวกับบริษัทน้ำมันยูคอส (Ю́КОС)[6]
- อะเลกเซย์ นาวัลนืย (Алексей Анатольевич Навальный) ถูกจองจำในไอเค-3 ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[7][6][8][9]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ФКУ ИК-3; 629420 Ямало-Ненецкий автономный округ Приуральский район поселок Харп ул. Гагарина 1 A [FKU IK-3; 629420 Yamalo-Nenets Autonomous Okrug Priuralsky district village Kharp st. Gagarina 1 A]. fkurf.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.
- ↑ "Navalny's penal colony in the Arctic is direct heir to the Russian Gulag". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 28 ธันวาคม 2023.
- ↑ "Icy welcome for Aleksei Navalny in the Arctic "hell" of Kharp". The Barents Observer (ภาษาอังกฤษ). 27 ธันวาคม 2023.
- ↑ 4.0 4.1 "Jailed Russian Municipal Deputy Located at Prison Hospital After 2-Week Absence (The Moscow Times)". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.
- ↑ "UK sanctions heads of Arctic penal colony where Alexei Navalny was killed". Press release, Foreign, Commonwealth & Development Office and The Rt Hon Lord Cameron (ภาษาอังกฤษ). 21 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ 6.0 6.1 Алексея Навального отправили в колонию «Полярный волк» [Alexei Navalny was sent to the Polar Wolf colony]. РБК (ภาษารัสเซีย). 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.
- ↑ Навального нашли в исправительной колонии на Ямале [Navalny was found in a correctional colony in Yamal]. BBC News Русская служба (ภาษารัสเซีย). 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.
- ↑ "Alexei Navalny: 'Don't worry about me!' Putin critic says from Arctic prison". 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.
- ↑ "Russian opposition activist Alexei Navalny dies, says prison service". www.ft.com. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Людмила Федоровна Липатова, ЭКСКУРСИЯ, ИСТОРИЯ 501- стройки, интернет – музея "ГУЛАГ. Стройка № 501" (ภาษารัสเซีย), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014
- План ж.д. линии, чум-салехард-игарка, yamal.org (ภาษารัสเซีย), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013