ข้ามไปเนื้อหา

ซีสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถุงน้ำ)
ภาพตัดขวาง teratoma cyst พบที่รังไข่ของมนุษย์ ที่ภายในบรรจุเซลล์ผิวหนังและเส้นผม

ซีสต์ (อังกฤษ: cyst) หมายถึง ถุงน้ำ หรือก้อนตุ่มไตที่ผิดปกติ มักเป็นเนื้องอกไม่ร้าย (ไม่เป็นมะเร็ง) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นถุงเมมเบรนปิดแยกออกจากเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ภายในอาจบรรจุอากาศ ของเหลว ไขมัน หรือเซลล์ผิวหนัง เช่น กระดูก ฟัน ลูกตา เล็บ หรือเส้นผมเป็นต้น

ซีสต์ เกิดขึ้นได้ในหลายๆตำแหน่งภายในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น ที่บริเวณเต้านม เปลือกตา รังไข่ นิ้วมือ แขน ขา ไต และใต้ผิวหนังส่วนต่างๆ ซีสต์มีหลายชนิด เรียกแตกต่างกันตามลักษณะการเกิด ตำแหน่งที่เกิด และลักษณะของซีสต์เอง เช่น

  • เดอร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid cyst หรือ Teratoma) เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่จัดวางอยู่ผิดตำแหน่งตั้งแต่พัฒนาการขั้นแรกของทารกในครรภ์ มักพบเส้นผม เล็บ กระดูก ไขมันอยู่ภายใน
  • ช็อกโกแล็ตซีสต์ (Chocolate cyst หรือ Endometrioma) คือ ซีสต์ ที่ภายในบรรจุของเหลวสีน้ำตาลคล้ายชอคโกแล็ต ซึ่งจริงๆ แล้วคือ เยื่อบุมดลูกที่เป็นเลือดประจำเดือนเก่าๆ ซึ่งไหลย้อนกลับผ่านท่อนำไข่ ไปฝังอยู่ในส่วนต่างๆ เช่น รังไข่ มดลูก และนอกมดลูก
  • ฟังชันนัลซีสต์ (Functional cyst) คือ ซีสต์ที่สามารถยุบฝ่อหายไปเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต

สาเหตุ

[แก้]

สาเหตุของการเกิดซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกมีหลายประการ เช่น

  • รูขุมขนอุดตันจากการสะสมของเซลล์ผิวหนัง
  • รูขุมขนถูกทำลายอันเนื่องมาจากการเป็นสิว
  • ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังอุดตันหรือทำงานผิดปกติ

อาการ

[แก้]
  • ก้อนเล็กนูนเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง
  • มีกลิ่นเหม็น มีของเหลวหนืดไหลซึมออกมาจากก้อนนูน
  • หากเกิดการอักเสบจะเป็นสีแดง กดแล้วเจ็บรอบๆ ก้อนนูนอย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกก็ได้ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

ซีสต์ ไขมันใต้ผิวหนัง มีผลข้างเคียงอย่างไร?

[แก้]

ผลข้างเคียงที่พบได้จากซีสต์ไขมันผิวหนัง คือ การติดเชื้อในซีสต์ ก่อให้เกิดอาการ บวม แดงเจ็บที่ก้อน อาจมีไข้ได้

อย่างไรก็ตาม ซีสต์ในลักษณะนี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่อาจเสี่ยงเกิดความผิดปกติหรือกลายเป็นมะเร็งได้ โดยผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดหากสังเกตพบอาการดังต่อไปนี้

  • ก้อนซีสต์ขยายใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร
  • มีก้อนซีสต์โตขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหลังจากผ่าออกไปแล้ว
  • พบสัญญาณการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น มีอาการปวด เกิดรอยแดง มีหนอง เป็นต้น

การวินิจฉัย

[แก้]

โดยมากแล้วแพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นซีสต์ในผิวหนังชั้นนอกโดยดูจากอาการที่เกิดขึ้น แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังเพื่อการตรวจวินิจฉัยต่อไป

แพทย์สามารถวินิจฉัย Sebaceous Cyst ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการได้จากการสังเกตลักษณะก้อนเนื้อที่ผิวหนังและการตรวจร่างกายทั่วไป แต่หากพบว่าก้อนซีสต์มีความผิดปกติ สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง หรือผู้ป่วยต้องการผ่าก้อนซีสต์ออก แพทย์อาจต้องวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์เห็นลักษณะของก้อนซีสต์ได้ชัดเจนมากขึ้น อาจใช้ตรวจดูบริเวณที่เกิดความผิดปกติอย่างละเอียดหรือเพื่อประเมินการผ่าตัด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ ใช้สำหรับตรวจดูของเหลวที่อยู่ภายในซีสต์
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ แพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนจากถุงซีสต์ไปส่งตรวจอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจลักษณะชิ้นเนื้อ ชนิดของเซลล์ และตรวจหาความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็ง

เมื่อไรควรรีบไปพบแพทย์ ?

[แก้]

ปกติซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังไม่เป็นอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่ถ้าพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง

  • ขนาดของก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการปวดบวมแดงร้อน หรือมีหนองไหลจากก้อน
  • มีซีสต์เกิดขึ้นใหม่ทันทีหลังผ่าตัดออกไปแล้ว

การรักษา

[แก้]

เนื่องจาก ซีสต์ไขมันผิวหนังไม่มีอาการ และไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง จึงไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากต้องการกำจัดก้อนซีสต์ สามารถทำได้โดยการผ่าตัดโดยต้องเอาถุงซิสต์ออกให้หมด

เพราะถ้ายังมีถุงอยู่ก็สามารถเป็นก้อนซ้ำได้อีกในตำแหน่งเดิม อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการอักเสบติดเชื้อ การรักษาคือการให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการผ่าเอาสารภายในซีสต์หรือหนองออกก่อน อาจร่วมกับการฉีดยาต้านการอักเสบเข้าไปในซีสต์ด้วย

  • การผ่าตัด ผ่าเอาซีสต์ทั้งก้อนออกไป
  • การเจาะน้ำออก เปิดก้อนซีสต์เพื่อให้ของเหลวในก้อนซีสต์ไหลออกมาก่อน จากนั้นนำถุงซีสต์ที่เหลือออกมา
  • การฉีดสเตียรอยด์ ไม่ได้เป็นการนำเอาก้อนซีสต์ออก แต่เป็นการทำให้การอักเสบน้อยลง

วิธีดูแลตนเอง หลังการรักษา ซีสต์

[แก้]

การดูแลตนเองเมื่อเป็น ซีสต์ไขมันผิวหนัง คือ ไม่ควรพยายามกดสารสีขาวออกจากซีสต์ด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ และถ้ากังวลในการมีก้อนซีสต์ หรือเมื่อซีสต์โตขึ้น ควรพบแพทย์

แล้วจะป้องกัน ซีตส์ ได้อย่างไร ?

[แก้]

ไม่มีวิธีป้องกันซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังได้ 100% แต่สามารถลดโอกาสเกิดได้ โดยรักษาความสะอาดผิวหนัง ป้องกันการเกิดสิว หรือแผล รวมถึงใช้เครื่องสำอางผิวทุกชนิดเป็นชนิดปลอดไขมัน (Oil free) และหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด

[1]

[2]

[3]

[4]

  1. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cysts-epidermis
  2. https://www.synphaet.co.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83/
  3. https://www.pobpad.com/sebaceous-cyst-%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87
  4. https://www.rattinan.com/sebaceous-cyst/