ข้ามไปเนื้อหา

ชาวตาตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตาตาร์
татарлар, tatarlar
ประชากรทั้งหมด
ทั้งหมด: ~7.3 ล้าน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
รัสเซีย 5,554,601[9]
ยูเครน
  • (รวมประชากรในไครเมียและชาวตาตาร์ไครเมีย)
  • 319,377[10]
    อุซเบกิสถาน~239,965[11]
    (ชาวตาตาร์ไครเมีย)
    คาซัคสถาน208,987[12]
    ตุรกี500,000–6,900,000[4][5][6][a]
    อัฟกานิสถาน100,000[13] (ประมาณ)
    เติร์กเมนิสถาน36,655[14]
    คีร์กีซสถาน28,334[15]
    อาเซอร์ไบจาน25,900[16]
    โรมาเนีย~20,000[17]
    สหรัฐ10,000[18]
    เบลารุส3,000[19]
    ฝรั่งเศส700[20]
    สวิตเซอร์แลนด์1,045+[21]
    จีน3,556[22]
    แคนาดา56,000[23]
    (รวมผู้มีบรรพบุรุษผสม)
    โปแลนด์1,916[24]
    บัลแกเรีย5,003[25]
    ฟินแลนด์600–700[26]
    ญี่ปุ่น600–2000[27]
    ออสเตรเลีย900+[28]
    เช็กเกีย300+[29]
    เอสโตเนีย2,000[30]
    ลัตเวีย2,800[3]
    ลิทัวเนีย2,800–3,200[31][32][33]
    (รวมผู้สืบเชื้อสายชาวตาตาร์วอลกา ไครเมียและลิปกาทั้งหมด)
    อิหร่าน20,000–30,000[34]
    (ชาวตาตาร์วอลกา)
    ภาษา
    กลุ่มภาษาคิปชาก
    ศาสนา
    ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี
    นับถือคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นส่วนน้อย
    กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
    กลุ่มชนเตอร์กิกอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้พูดภาษาคิปชาก

    ชาวตาตาร์ (อังกฤษ: Tatars[b]) หรือ ตาร์ตาร์ (Tartars[b]) เป็นคำให้ความหมายกว้างถึงกลุ่มชนเตอร์กิกหลายกลุ่มที่เรียกตนเองด้วยชื่อนั้นทั่วยุโรปตะวันออกและเอเชีย[35] เดิมตาตาร์อาจหมายถึงสมาพันธ์ตาตาร์ หนึ่งในสมาพันธ์เผ่าใหญ่ห้าเผ่าในที่ราบสูงมองโกเลียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิมองโกล เมื่อเจงกิส ข่านรวมชนเผ่าร่อนเร่ต่าง ๆ[36] คำว่า "ตาตาร์" หรือ "ตาร์ตาร์" ในประวัติศาสตร์ใช้บรรยายถึงกลุ่มชนที่มีพื้นเพในมวลแผ่นดินเอเชียเหนือและเอเชียกลางที่เรียกว่า ตาร์ตารี ซึ่งบางครั้งมีการใช้คำนี้ผสมกับคำว่าจักรวรรดิมองโกล อย่างไรก็ตามคำว่า "ตาตาร์" เมื่อไม่นานมานี้หมายความเฉพาะกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่าตาตาร์หรือพูดภาษาตาตาร์

    กลุ่มชนที่เรียกตนเองว่าตาตาร์ประกอบด้วยชาวตาตาร์วอลกาในภูมิภาควอลกา-ยูรัล ทางตะวันตกของรัสเซีย ชาวตาตาร์ไครเมียในคาบสมุทรไครเมีย ชาวตาตาร์อัฟกันในอัฟกานิสถาน ชาวตาตาร์ไซบีเรียในไซบีเรียตะวันตก และชาวตาตาร์ลิปกาในเบลารุส ลิทัวเนียและโปแลนด์ ชาวตาตาร์กลุ่มใหญ่ที่สุดคือชาวตาตาร์วอลกาที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐตาตาร์สตานของรัสเซีย คิดเป็น 53 เปอร์เซ็นต์ของประชากรตาตาร์สตานทั้งหมด มีชาวตาตาร์ประมาณ 5.3 ล้านคนในรัสเซียใน ค.ศ. 2010[37]

    กลุ่มชนตาตาร์หลักสามกลุ่มอย่างชาวตาตาร์วอลกา ชาวตาตาร์ไครเมียและชาวตาตาร์ไซบีเรีย แม้จะเรียกตนเองว่าตาตาร์เหมือนกัน แต่ทั้งหมดพูดภาษาคิปชากคนละกลุ่ม การศึกษาทางพันธุกรรมพบว่าทั้งสามกลุ่มไม่มีบรรพบุรุษร่วมกัน กล่าวคือพวกเขาก่อตัวเป็นอิสระจากกลุ่มอื่น ๆ[38][39] อย่างไรก็ตามเป็นไปได้ที่ชาวตาตาร์อาจมีต้นกำเนิดร่วมกันในสมัยโกลเดนฮอร์ด[40][41]

    ตระกูลขุนนางหลายตระกูลในอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียมีที่มาจากชาวตาตาร์[42][43]

    ศัพทมูลวิทยา

    [แก้]

    ตาตาร์เป็นคำเรียกประชากรของอดีตโกลเดนฮอร์ดในยุโรป เช่น รัฐข่านคาซัน รัฐข่านไครเมีย รัฐข่านอัสตราฮัน รัฐข่านกอเซมและรัฐข่านซีเบียร์ การสะกด Tartar มีที่มาจากทั้งภาษาละตินและฝรั่งเศส เข้าสู่โลกยุโรปตะวันตกผ่านภาษาตุรกีและเปอร์เซีย (tātār, "ผู้ส่งสารบนหลังม้า") พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดสันนิษฐานว่าการเพิ่มตัว r ใน Tartar อาจเกี่ยวข้องกับทาร์ทารัส[c][44]

    Ochir (2016) กล่าวว่าชาวตาตาร์ไซบีเรียและชาวตาตาร์ที่อาศัยในพื้นที่ระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปมีพื้นเพเป็นชาวเตอร์กิกและรับเอาคำตาตาร์มาใช้ภายหลัง พวกเขาไม่ได้มีบรรพบุรุษเป็นชาวมองโกลและชาวเตอร์กิกที่กลายเป็นมองโกลในสมาพันธ์ตาตาร์ที่ปกครองพวกเขาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6–8[45] ขณะที่ Pow (2019) เสนอว่ากลุ่มชนเตอร์กิกในคูมาเนียรับคำตาตาร์มาใช้เพื่อแสดงความภักดีต่อชาวมองโกล ก่อนจะรับวัฒนธรรมและภาษามองโกลมาด้วย[46]

    ภาษา

    [แก้]

    มะห์มูด อัลคัชการี นักวิชาการจากรัฐข่านคาราคานิดสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 บันทึกว่าชาวตาตาร์ในอดีตสามารถพูดภาษาเตอร์กิกอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาตนเอง[47]

    ภาษาตาตาร์สมัยใหม่และภาษาบัชกอร์ตเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคิปชาก ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิกทั่วไปที่แพร่หลายในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ภาษาตาตาร์มีภาษาย่อยสองภาษาคือ ภาษาตาตาร์กลางและตะวันตก[48] ภาษาย่อยตะวันตกพูดโดยชาวตาตาร์มิชาร์ ส่วนภาษาย่อยกลางพูดโดยชาวตาตาร์อัสตราฮันและคาซัน

    ภาษาตาตาร์ไซบีเรียเป็นภาษาที่พูดโดยชาวตาตาร์ไซบีเรีย มีความแตกต่างจากภาษาตาตาร์ของชาวตาตาร์วอลกา-ยูรัลอย่างมากจนไม่สามารถเข้าใจร่วมได้ (mutual intelligibility) ซึ่งอาจเป็นเพราะทั้งสองกลุ่มมีบรรพบุรุษต่างกัน โดยชาวตาตาร์วอลกาอาจมีที่มาจากช่วงโกลเดนฮอร์ด[49] ส่วนชาวตาตาร์ไซบีเรียสืบเชื้อสายจากชาวเคต (Ket) ชาวซามอเยดิก (Samoyedic) และชาวยูเกรียน (Ugrians)[50] นอกเหนือจากชาวเตอร์กิก-มองโกลในโกลเดนฮอร์ด

    ภาษาตาตาร์ไครเมียเป็นภาษาพื้นถิ่นของชาวตาตาร์ไครเมีย บางครั้งมักสับสนว่าเป็นภาษาย่อยหนึ่งของภาษาตาตาร์[51][52] แม้ทั้งสองภาษาจะอยู่ในกลุ่มคิปชากเหมือนกันและมีระดับความเข้าใจร่วมอย่างสำคัญ แต่ภาษาที่ใกล้เคียงภาษาตาตาร์ไครเมียที่สุด คือ ภาษาคูมิกและภาษาคาราไช-บัลคาร์[53]

    เชิงอรรถ

    [แก้]

    หมายเหตุ

    [แก้]
    1. สำนะโนตุรกีไม่มีการระบุเชื้อชาติ เนื่องจากตุรกีถือว่าพลเมืองทั้งหมดเป็นชาวตุรกี จึงไม่สามารถประมาณการพลเมืองที่ถือตนเป็นชาวตาตาร์ไครเมียได้
    2. 2.0 2.1 ในภาษาอังกฤษมักสะกด Tartars เพื่อชี้การออกเสียง /ˈtɑː-/ และป้องกันการออกเสียงผิดเป็น /t-/
      ตาตาร์: татарлар (ถอดเป็นอักษรโรมัน: tatarlar), ตาตาร์ไครเมีย: تاتارلر (ถอดเป็นอักษรโรมัน: tatarlar), เตอร์กิกเก่า: 𐱃𐱃𐰺 (ถอดเป็นอักษรโรมัน: Tatar)
    3. อิงจากจดหมายถึงนักบุญหลุยส์แห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1270: "ภัยจากพวกตาตาร์ในปัจจุบันนี้ พวกเราควรผลักดันพวกเขากลับสู่ห้วงเหว (ทาร์ทารัส) ที่ซึ่งพวกเขาจากมา หรือพวกเขาจะนำพาเราไปสู่สรวงสวรรค์" ("In the present danger of the Tartars either we shall push them back into the Tartarus whence they are come, or they will bring us all into heaven.")[44]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. "Putin's Power Play? Tatarstan Activists Say Loss Of 'President' Title Would Be An Existential Blow". Radio Free Europe. 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ December 9, 2021.
    2. "Tatars facts, information, pictures – Encyclopedia.com articles about Tatars". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ December 6, 2017.
    3. 3.0 3.1 "Tatar". Joshua Project. สืบค้นเมื่อ January 29, 2021.
    4. 4.0 4.1 Henryk Jankowski. Crimean Tatars and Noghais in Turkey // a slightly edited version of the paper with the same title that appeared in Türk Dilleri Arastirmalari [Studies on the Turkic Languages] 10 (2000): 113–131, distributed by Sanat Kitabevi, Ankara, Turkey. A Polish version of this paper was published in Rocznik Tatarów Polskich (Journal of Polish Tatars), vol. 6, 2000, 118–126.
    5. 5.0 5.1 Мусафирова, О.. "Мустафа, сынок, прошу тебя — прекрати…". Novaya Gazeta. สืบค้นเมื่อ January 29, 2021.
    6. 6.0 6.1 Пашаев, Осман (18 November 2002). "В Турции проживают до 6 миллионов потомков крымских татар". podrobnosti. สืบค้นเมื่อ January 7, 2022.
    7. "Afghanistan Recognizes Long Forgotten Ethnic Tatar Community". www.rferl.org. สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
    8. "کنگره جهانی تاتارها: یک هزار دانشجوی تاتار افغانستان به چین و هند می‌روند". افغانستان اینترنشنال (ภาษาเปอร์เซีย). 2023-12-13. สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
    9. "Population Data". singaporee.mid.ru. สืบค้นเมื่อ June 1, 2024.
    10. "About number and composition population of Ukraine by data All-Ukrainian census of the population 2001". Ukraine Census 2001. State Statistics Committee of Ukraine. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
    11. "Крымские татары". Great Russian Encyclopedia (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ January 29, 2021.
    12. "Численность населения Республики Казахстан по отдельным этносам на начало 2021 года" [The population of the Republic of Kazakhstan by individual ethnic groups at the beginning of 2021]. stat.gov.kz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
    13. "Afghanistan Recognizes Long Forgotten Ethnic Tatar Community". Radiofreeeurope/Radioliberty (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 April 2021. Community leaders estimate there are up to 100,000 ethnic Tatars in Afghanistan.
    14. Asgabat.net-городской социально-информационный портал :Итоги всеобщей переписи населения Туркменистана по национальному составу в 1995 году. เก็บถาวร 13 มีนาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    15. "National composition of the population" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ January 29, 2021.
    16. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2012. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
    17. "Recensamant Romania 2002". Agentia Nationala pentru Intreprinderi Mici si Mijlocii (ภาษาโรมาเนีย). 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2007. สืบค้นเมื่อ 5 August 2007.
    18. "Tatar in United States". Joshua Project. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ March 23, 2021.
    19. "Tatars In Belarus". Radio Free Europe (ภาษาอังกฤษ). 12 August 2010. สืบค้นเมื่อ October 31, 2021.
    20. Рушан, Лукманов (16 May 2018). "Vasil Shaykhraziev met with the Tatars of France | Всемирный конгресс татар" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 31, 2021.
    21. "Rustam Minnikhanov meets representatives of the Tatar Diaspora in Switzerland". President of Republic of Tatarstan. สืบค้นเมื่อ August 5, 2021.
    22. "Regional Autonomy for Minority Peoples". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2006. สืบค้นเมื่อ September 6, 2006.
    23. "Census Profile, 2016 Census – Canada [Country] and Canada [Country]". 8 February 2017. สืบค้นเมื่อ March 25, 2018.
    24. "Ludność. Stan i struktura demograficzno-społeczna – NSP 2011" (PDF) (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ October 29, 2021.
    25. "National Statistical Institute". www.nsi.bg. สืบค้นเมื่อ August 5, 2021.
    26. "Suomen tataareja johtaa pankkiuran tehnyt ekonomisti Gölten Bedretdin, jonka mielestä uskonnon pitää olla hyvän puolella". สืบค้นเมื่อ March 6, 2021.
    27. "Статьи на исторические темы". www.hrono.ru. สืบค้นเมื่อ April 21, 2018.
    28. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
    29. "Президент РТ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
    30. "RL0428: RAHVASTIK RAHVUSE, SOO JA ELUKOHA JÄRGI, 31. DETSEMBER 2011". stat.ee. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
    31. "Адас Якубаускас: Я всегда говорю крымским татарам не выезжайте, оккупация не вечна". espreso.tv. สืบค้นเมื่อ January 31, 2021.
    32. "Как крымские татары оказались в Литве 600 лет назад? | Новости и аналитика : Украина и мир : EtCetera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
    33. Национальный состав населения Литвы. Перепись 2011.
    34. Paul Goble (20 June 2016). "Volga Tatars in Iran Being Turkmenified". Jamestown. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
    35. "Tatar – people". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2017. สืบค้นเมื่อ 28 February 2016.
    36.  ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติKropotkin, Peter (1911). "Tatars" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 28 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 448–449.
    37. "Tatars in the Russian Federation". Minority Rights Group. สืบค้นเมื่อ September 1, 2024.
    38. Balanovska, E. V.; Agdzhoyan, Anastasiya; Zhabagin, Maxat; Yusupov, Yu. M.; Skhalyakho, Rosa; Dolinina, D. O.; Padyukova, A. D.; Kuznetsova, M A.; Markina, N. V.; Atramentova, Lubov; Lavryashina, Marya; Balanovsky, O. P. "The Tatars of Eurasia: peculiarity of Crimean, Volga and Siberian Tatar gene pools". Moscow University Anthropology Bulletin. 3: 75–85.
    39. Pankratov, Vasili; Litvinov, Sergei; Kassian, Alexei; Shulhin, Dzmitry; Tchebotarev, Lieve; Yunusbayev, Bayazit; Möls, Märt; Sahakyan, Hovhannes; Yepiskoposyan, Levon; Rootsi, Siiri; Metspalu, Ene; Golubenko, Maria; Ekomasova, Natalia; Akhatova, Farida; Khusnutdinova, Elza (2016-07-25). "East Eurasian ancestry in the middle of Europe: genetic footprints of Steppe nomads in the genomes of Belarusian Lipka Tatars". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 6 (1): 30197. Bibcode:2016NatSR...630197P. doi:10.1038/srep30197. ISSN 2045-2322. PMC 4958967. PMID 27453128.
    40. "Татары Евразии: своеобразие генофондов крымских, поволжских и сибирских татар". Вестник Московского Университета. Серия 23. Антропология (3): 75–85. 20 January 2024.
    41. "Внешний вид (фото), Оглавление (Содержание) книги Еникеева Г.Р. "По следам чёрной легенды"".
    42. Thomas Riha, Readings in Russian Civilization, Volume 1: Russia Before Peter the Great, 900–1700, University of Chicago Press (2009), p. 186
    43. Baskakov: Русские фамилии тюркского происхождения (Russian surnames of Turkic origin) (1979)
    44. 44.0 44.1 Wedgwood, Hensleigh (1855). "On False Etymologies". Transactions of the Philological Society (6): 72.
    45. Очир А. (2016). Монгольские этнонимы: вопросы происхождения и этнического состава монгольских народов (PDF). Элиста: КИГИ РАН. ISBN 978-5-903833-93-1. quote (p. 160-161): "Ныне татарами называют этнические группы, имеющие монгольское и тюркское происхождение. Из них так называемые «девять татар» приняли участие в этнокультурном развитии монголов. Татары эти, как племя, сформировались, видимо, в период существования на территории Монголии Тюркского каганата (VI–VIII вв.); помимо монгольского компонента, в процессе этногенеза приняли участие и тюркские, о чем свидетельствует этнический состав татар. В этот период монголами управляли тюрки, которые со временем омонголились. [...] Что же касается сибирских татар и татар, проживающих на территории между Азией и Европой, то они являются выходцами из тюрок. Название татар они получили позднее и не имеют родовой связи с монгольскими («девятью татарами». — А.О.) татарами."
    46. Pow, Stephen (2019). "'Nationes que se Tartaros appellant': An Exploration of the Historical Problem of the Usage of the Ethnonyms Tatar and Mongol in Medieval Sources"". Golden Horde Review. 7 (3): 545–567. doi:10.22378/2313-6197.2019-7-3.545-567. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-20. quote (p 563): "Regarding the Volga Tatar people of today, it appears they took on the endonym of their Mongol conquerors when they overran the Dasht-i-Kipchak. It was preserved as the prevailing ethnonym in the subsequent synthesis of the Mongols and their more numerous Turkic subjects who ultimately subsumed their conquerors culturally and linguistically as al-Umari noted by the fourteenth century [32, p. 141]. I argue that the name 'Tatar' was adopted by the Turkic peoples in the region as a sign of having joined the Tatar conquerors – a practice which Friar Julian reported in the 1230s as the conquest unfolded. The name stands as a testament to the survivability and adaptability of both peoples and ethnonyms. It became, as Sh. Marjani stated, their 'proud Tatar name.'"
    47. Maħmūd al-Kašğari. "Dīwān Luğāt al-Turk". Edited & translated by Robert Dankoff in collaboration with James Kelly. In Sources of Oriental Languages and Literature. Part I. (1982). pp. 82–83
    48. Akhatov G. "Tatar dialectology". Kazan, 1984. (Tatar language)
    49. Azade-Ayshe Rorlich. "1. The Origins of the Volga Tatars". Stanford University.
    50. Levinson, David (1996). Encyclopedia of World Cultures. G.K. Hall. p. 340. ISBN 978-0-8161-1808-3. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
    51. "Vserossijskaja perepis naselenija 2002 goda. 4.4. Rasprostranjonnost vladenija jazykami (krome russkogo)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29.
    52. "Naselenije Rossijskoi Federatsii po vladeniju jazykami". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06.
    53. Aliev, K.M.-C., บ.ก. (2012). Kumyksky entsiklopedichesky slovar Кумыкский энциклопедический словарь [Kumyk encyclopedic dictionary] (ภาษารัสเซีย). Makhachkala: Delta-press. p. 218. ISBN 9785903454679.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]