จิ่งชู
หน้าตา
จิ่งชู 景初 | |||
---|---|---|---|
ค.ศ 237 เดือน 4 – ค.ศ. 239 | |||
โจยอย | |||
สถานที่ | ประเทศจีน (วุยก๊กในยุคสามก๊ก) | ||
พระมหากษัตริย์ | โจยอย (จักรพรรดิเว่ย์หมิงตี้) โจฮอง | ||
เหตุการณ์สำคัญ | โจยอยสวรรคต โจฮองขึ้นครองราชย์ | ||
ช่วงเวลา | |||
|
จิ่งชู | |||||||
ภาษาจีน | 景初 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
จิ่งชู (จีน: 景初; พินอิน: Jǐngchū) เป็นชื่อศักราชลำดับที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโจยอยแห่งวุยก๊ก (เว่ย์หมิงตี้) ในยุคสามก๊กของจีน ชื่อศักราชจิ่งชูใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 237 ถึง ค.ศ. 239 รวมเวลา 3 ปี[1] ถือเป็นชื่อศักราชลำดับที่ 4 ของวุยก๊ก
ในเดือน 3 ของศักราชชิงหลงปีที่ 5 (ค.ศ. 237) เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นจิ่งชูปีที่ 1 และยังมีการเปลี่ยนระบบปฏิทินเป็นปฏิทินจิ่งชู (景初曆 จิ่งชูลี่) โดยเดือนแรกเป็นเดือนเจี้ยนโฉ่ว (建丑) ดังนั้นเดือน 3 ของศักราชชิงหลงปีที่ 5 จึงกลายเป็นเดือน 4 ของศักราชจิ่งชูปีที่ 1
ในเดือน 1 ของศักราชจิ่งชูปีที่ 3 (ค.ศ. 239) จักรพรรดิโจฮองขึ้นครองราชย์สืบจากจักรพรรดิโจยอย และยังคงใช้ชื่อศักราชจิ่งชูต่อไปจนครบปี
การเปลี่ยนชื่อศักราช
[แก้]- ศักราชชิงหลงปีที่ 5 (ค.ศ. 237) — เดือน 3 วันที่ 27 เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นจิ่งชูปีที่ 1[2][3]
- ศักราชจิ่งชูปีที่ 4 (ค.ศ. 240) — เดือน 1 วันที่ 1 เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นเจิ้งฉื่อปีที่ 1[4]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- ศักราชจิ่งชูปีที่ 3 (ค.ศ. 239) — เดือน 1 วันที่ 1 จักรพรรดิโจยอยสวรรคต โจฮองขึ้นเสวยราชย์[4]
ตารางเทียบศักราช
[แก้]จิ่งชู | 1 | 2 | 3 |
---|---|---|---|
ค.ศ. | 237 | 238 | 239 |
จ๊กก๊ก | เจี้ยนซิง 15 | เหยียนซี 1 | เหยียนซี 2 |
ง่อก๊ก | เจียเหอ 6 | เจียเหอ 7 ชื่ออู 1 |
ชื่ออู 2 |
กองซุนเอี๋ยน | เช่าฮั่น 1 | เช่าฮั่น 2 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 李崇智,《中國歷代年號考》,第15頁。
- ↑ 陳壽. Wikisource.「景初元年春正月壬辰,山茌縣言黃龍見。於是有司奏,以為魏得地統,宜以建丑之月為正。三月,定曆改年為孟夏四月。〈《魏書》曰:……甲子詔曰:『……今推三統之次,魏得地統,當以建丑之月為正月。考之群藝,厥義章矣。其改青龍五年三月為景初元年四月。』〉……三年春正月丁亥,太尉宣王還至河內,帝驛馬召到,引入臥內,執其手謂曰:『吾疾甚,以後事屬君,君其與爽輔少子。吾得見君,無所恨!』宣王頓首流涕。即日,帝崩于嘉福殿,時年三十六。」 – โดยทาง
- ↑ 司馬光. Wikisource.「景初元年,春,正月,壬辰,山茌縣言黃龍見。高堂隆以為:『魏得土德,故其瑞黃龍見,宜改正朔,易服色,以神明其政,變民耳目。』帝從其議。三月,下詔改元,以是月為孟夏四月,服色尚黃,犧牲用白,從地正也。更名《太和曆》曰《景初曆》。」 – โดยทาง
- ↑ 4.0 4.1 陳壽. Wikisource.「景初三年正月丁亥朔,帝甚病,乃立為皇太子。是日,即皇帝位,大赦。……十二月,詔曰:『烈祖明皇帝以正月棄背天下,臣子永惟忌日之哀,其復用夏正;雖違先帝通三統之義,斯亦禮制所由變改也。又夏正於數為得天正,其以建寅之月為正始元年正月,以建丑月為後十二月。』」 – โดยทาง
บรรณานุกรม
[แก้]- 李崇智 (December 2004). 中國歷代年號考. 北京: 中華書局. ISBN 7101025129.