คานธี (ภาพยนตร์)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คานธี | |
---|---|
โปสเตอร์ต้นฉบับของ คานธี | |
กำกับ | ริชาร์ด แอทเทนโบโรห์ |
บทภาพยนตร์ | จอห์น ไบรลีย์ อลีค พาดามซี แคนไดซ์ เบอร์เจน |
อำนวยการสร้าง | ริชาร์ด แอทเทนโบโรห์ |
นักแสดงนำ | เบน คิงสลีย์ |
กำกับภาพ | บิลลี วิลเลียมส์ รอนนี เทย์เลอร์ |
ตัดต่อ | จอห์น บลูม |
ดนตรีประกอบ | รวี แชงการ์ จอร์จ เฟนตัน |
ผู้จัดจำหน่าย | โคลัมเบียพิกเจอส์ |
วันฉาย | อินเดีย: 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 สหราชอาณาจักร: 3 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สหรัฐอเมริกา: 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ออสเตรเลีย: 16 มีนาคม ค.ศ. 1983 |
ความยาว | 188 นาที |
ประเทศ | อินเดีย สหราชอาณาจักร |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
ทุนสร้าง | $22,000,000 |
คานธี เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติ สร้างขึ้นจากเรื่องจริงของมหาตมา คานธี นักการเมืองชาวอินเดีย ผู้เคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยอินเดีย จากการเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอินเดีย ออกฉายในค.ศ. 1982 และได้ชนะเลิศรางวัลออสการ์ ถึง 8 รางวัล
เรื่องย่อ
[แก้]ในเหตุการณ์จริง อังกฤษเข้าครอบครองอินเดียใน ค.ศ. 1858 และตั้งชื่ออาณานิคมใหม่นี้ว่าบริติชราช คานธี เกิดในบริติชราชค.ศ. 1869 และได้มองเห็นและได้สัมผัสความไม่ยุติธรรม ที่ชนผิวดำและชาวรากหญ้าถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ต่อมาจึงได้ประท้วง โดยใช้วิธีแบบสันติ อหิงสา เพื่อปลดปล่อยอินเดียให้เป็นเอกราช ทุกครั้งที่ประท้วง มักมีประชาชนอินเดียเข้าร่วมนับแสน ถึงหลายล้านคน ความเดือดร้อนจากการประท้วงของคานธีมีน้อยมาก มีประชาชนเพียงไม่กี่ร้อยคน ที่ประท้วงแบบไม่สันติ แต่รัฐบาลอังกฤษพยายามรักษาอำนาจ (อันได้มาจากการรุกราน) จึงหาทางจับกุมตัวคานธีในทุกวิถีทาง และพยายามทำลายภาพลักษณ์ของคานธี
แต่ยิ่งรัฐบาลพยายามดำเนินการดังกล่าวมากเท่าไร ยิ่งจะทำให้เหตุการณ์บานปลายขึ้นเท่านั้น นอกจากสังคมโลกจะไม่เชื่อรัฐบาลแล้ว หลายครั้งหลายหนที่คานธีถูกจับกุม ก็มีประชาชนที่เคียดแค้นลุกฮือจนเกิดเหตุจลาจลระดับประเทศ ต่อมาวันหนึ่ง นายพล Dyer ของฝ่ายอังกฤษ ไม่พอใจ จึงสั่งให้ยิงกราดเข้าไปในกลุ่มประชาชนในที่สาธารณะ จนมีผู้เสียชีวิต ทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียเกียรติยศขึ้นไปอีก และถูกโลกประณามอย่างรุนแรง
จนในที่สุด หลังจากคานธีต่อสู้เพื่ออินเดียเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี รัฐบาลออกประกาศในค.ศ. 1945 ว่าจะให้เอกราชอินเดียทันทีที่ชาวอินเดียหารัฐบาลของตนได้ แต่ทว่า อินเดียกลับแตกแยกกันเองในการขึ้นมาปกครอง ระหว่างชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม กับอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แม้คานธีจะพยายามเป็นข้อกลางในการสมานฉันท์ แต่ด้วยความที่คานธีเองนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงทำให้เป็นการยาก จนกระทั่งบานปลายเป็นการแบ่งแยกประเทศ โดยปากีสถาน เป็นประเทศของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม และอินเดีย เป็นประเทศของผู้ที่นับถือพราหมณ์-ฮินดู ในที่สุด ทั้งสองรัฐก็ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1947 โดยสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ค.ศ. 1948 คานธี ถูกผู้คลั่งศาสนาลอบสังหาร
นักแสดง
[แก้]นักแสดง | รับบท |
---|---|
เบน คิงสลีย์ | มหาตมา คานธี |
โรหินี แฮทแทนกาดี | กัสตูรบา คานธี (ภรรยาของคานธี) |
โรชาน เซธ | บัณฑิต ชวาหระลาล เนห์รู (สหายต่างวัยของคานธี ต่อมานายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียใหม่) |
ซาอีด จาฟฟรีย์ | ซาร์ดาร์ วาลลาภาย พาเทล |
แคนไดซ์ เบอร์เจน | มาร์กาเร็ต เบิร์ค-ไวท์ |
เอ็ดเวิร์ด ฟ็อกซ์ | นายพลไดเออร์ (นายพลผู้สั่งสังหารโหด) |
จอห์น กีลกัด | เอ็ดเวิร์ด เฟรเดอริค ลินด์ลีย์ วูด, เอิร์ล ที่ 1 แห่งฮาลิแฟ็กซ์ |
เทรเวอร์ ฮาเวิร์ด | ตุลาการ อาร์. เอส. บรูมฟีลด์ |
จอห์น มิลส์ | เฟรเดอริค เธซิงเกอร์ |
มาร์ติน ชีน | วินซ์ วอล์คเกอร์ |
เอียน ชาร์ลสัน | บาทหลวงชาร์ลส์ เฟรียร์ แอนดรูวส์ |
เอธอล ฟูการ์ด | นายพล แจน สมัทส์ |
เจรัลดีน เจมส์ | มิเรเบห์น |
อลีค พาดามซี | มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ( สหายต่างศาสนาของคานธี ) |
แอมริช พูริ | ข่าน |
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลออสการ์ ชนะเลิศ 8 สาขา ในงานออสการ์ ครั้งที่ 55 ประจำต้นปี 1983
- สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ริชาร์ด แอทเทนโบโรห์
- สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - เบน คิงสลีย์
- สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
- สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
- สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม
- สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
- สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม