ข้ามไปเนื้อหา

ความเร็วของเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภูมิแสดงถึงค่าลอการิทึมความเร็วของเงิน M2 ของสหรัฐฯ (เส้นเขียว) [1][2] โดยคำนวณจากค่า GDP หารด้วยปริมาณเงิน M2 (M1 บวกด้วยเงินฝากประจำ) ระหว่าง ค.ศ. 1959–2010 อัตราส่วนการจ้างงานต่อประชากรแสดงด้วยเส้นสีน้ำเงิน และช่วงเศรษฐกิจถดถอยแสดงด้วยแท่งสีเทา
แผนภูมิคล้ายกันซึ่งแสดงถึงค่าลอการิทึมของความเร็วของเงิน M1 (ซึ่งความหมายแคบกว่า M2 กล่าวคือเงินสดและเงินฝากที่มีสภาพคล่อง) ด้วยเส้นสีเขียว ระหว่าง ค.ศ. 1959–2010
แผนภูมิคล้ายกันซึ่งแสดงถึงค่าลอการิทึมของความเร็วของเงิน M3 (ที่มีความหมายอย่างกว้าง โดยคำนวณจาก M2 บวกด้วยเงินฝากขององค์กรขนาดใหญ่) แสดงด้วยเส้นสีเขียว ปัจจุบันสหรัฐฯ ไม่เปิดเผยข้อมูลนี้อีกต่อไป จึงแสดงแผนภูมิถึงเพียง ค.ศ. 2005

ความเร็วของเงิน (อังกฤษ: velocity of money) คือหน่วยวัดจำนวนครั้งเฉลี่ยของหน่วยเงินว่าถูกใช้ซื้อสินค้าหรือบริการในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไปกี่ครั้ง[3] แนวคิดนี้เชื่อมโยงขนาดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับปริมาณเงิน และอัตราการเปลี่ยนมือของเงินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สื่อถึงเงินเฟ้อได้ การวัดความเร็วของเงินมักนิยามว่าคืออัตราส่วนระหว่าง ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (gross national product) กับปริมาณเงินของประเทศ ถ้าความเร็วของเงินเพิ่มขึ้น หมายถึงมีการเปลี่ยนมือของเงินตราระหว่างบุคคลมากครั้งขึ้น[3] โดยความเร็วของเงินจะผันแปรไปตามเวลาและได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย[4]

ตัวอย่าง

[แก้]

ในเศรษฐกิจสมมติขนาดเล็กที่มี ชาวนา กับช่างซ่อมสองคน โดยมีเงินระหว่างกัน 50 บาท และมีธุรกรรมเกิดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งในช่วงเวลาหนึ่งปีดังนี้

  • ชาวนาจ่ายค่าซ่อมรถแทรกเตอร์ให้กับช่างซ่อมเป็นเงิน 50 บาท
  • ช่างซ่อมซื้อข้าวโพดจากชาวนาเป็นเงิน 40 บาท
  • ช่างซ่อมซื้อแมวจากชาวนาเป็นเงิน 10 บาท

จะเห็นได้ว่ามีเงินเปลี่ยนมือทั้งหมด 100 บาทในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าในระบบจะมีเงินอยู่เพียง 50 บาทในตัวอย่างนี้ มูลค่า 100 บาทเกิดขึ้นได้ เพราะเงินแต่ละบาทถูกใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ 2 ครั้ง หรือคิดเป็นความเร็วของเงินที่ 2 ต่อปี

ความเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ของเงิน

[แก้]

ความเร็วของเงินสามารถมองในอีกมุมเป็นอุปสงค์ของเงินได้ โดยที่ถ้าปริมาณเงินในระบบเท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยสูง คนก็จะไม่ถือเงินสดและพยายามแลกเปลี่ยนเงินไปเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ของเงินต่ำ ในทางกลับกัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำ ต้นทุนค่าเสียโอกาสก็จะน้อย ทำให้มีความเร็วของเงินที่ต่ำและอุปสงค์ของเงินสูง

การวัดโดยอ้อม

[แก้]

ในทางปฏิบัติ การวัดความเร็วของเงินมักทำโดยวิธีการทางอ้อม โดยความเร็วของเงินสามารถคำนวณได้จากสูตร

โดยที่

คือ ความเร็วของเงินที่เกิดจากทุกธุรกรรมในช่วงเวลาที่กำหนด
คือ ระดับราคา (price level)
คือ มูลค่าที่แท้จริงของธุรกรรมในช่วงเวลาหนึ่ง
คือ มูลค่าของปริมาณเงินในระบบทั้งหมดโดยเฉลี่ยของประเทศ

ดังนั้น จึงเท่ากับมูลค่าเงิน (nominal) ของธุรกรรมทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่ง ๆ

หรือในอีกมุมมอง สามารถเขียนความเร็วของเงินได้ในรูปแบบ

โดยที่

คือความเร็วของเงินที่เกิดจากธุรกรรมที่นับเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือประชาชาติ
คือ ปริมาณที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พึ่งผลิต
มูลค่าเงินของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศหรือประชาชาติ

ข้อวิจารณ์

[แก้]

Ludwig von Mises กล่าวในจดหมายถึง Henry Hazlitt เมื่อ ค.ศ. 1968 ว่า "จุดด้อยของแนวคิดความเร็วการหมุนเวียนเงินในระบบคือมันไม่ได้ตั้งต้นจากการกระทำของบุคคล แต่มองปัญหาจากมุมของระบบเศรษฐกิจโดยรวม แนวคิดนี้โดยตัวมันเองเป็นวิธีที่บกพร่องในการบรรลุปัญหาว่าด้วยราคาและกำลังซื้อ แนวคิดนี้ถือว่าราคาจะต้องเปลี่ยนไปเป็นสัดส่วนกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับปริมาณเงิน ถ้าให้อย่างอื่นเท่ากัน ซึ่งไม่จริงเลย"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. M2 Definition – Investopedia
  2. M2 Money Stock – ธนาคารกลางสหรัฐสาขาเซนต์หลุยส์
  3. 3.0 3.1 "Money Velocity". Federal Reserve Bank of St. Louis. สืบค้นเมื่อ October 28, 2013.
  4. Mishkin, Frederic S. The Economics of Money, Banking, and Financial Markets. Seventh Edition. Addison–Wesley. 2004. p. 520.
  5. Quoted in Hazlitt, Henry. 'Velocity of Circulation' in James Muir Waller (ed.). Money, the market, and the state: economic essays in honor of James Muir Waller. University of Georgia Press, 1968, p. 42.