ข้าพเจ้าเป็นคนบาป
ข้าพเจ้าเป็นคนบาป[1] หรือ โอ้บาปข้าพเจ้า[2] (อังกฤษ: mea culpa; mea culpa) หรือ ข้าพเจ้ายอมรับว่าเป็นคนบาป[1] หรือ โอ้บาปข้าพเจ้าหนักหนา[2] (mea maxima culpa) เป็นคำอุทานในคริสต์ศาสนา
ที่มา
[แก้]คำอุทานนี้มาจากบทภาวนาสารภาพบาป (prayer of confession of sinfulness) เรียก บทสารภาพบาป[1] (Confiteor) ซึ่งใช้ในพิธีมิสซาของโรมันคาทอลิก และประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า มีการอุทานทำนองเดียวกันมาตั้งแต่ก่อนปี 1100 เล็กน้อยอยู่แล้ว[3]
เนื้อความของบทสารภาพบาปฉบับสามัญ พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษที่คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยภาษาอังกฤษในพิธีกรรม (International Commission on English in the Liturgy) แก้ไขเพิ่มเติมในปี 2010[4] กับทั้งคำแปลภาษาไทยที่คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2010[1] มีดังนี้
ละติน | อังกฤษ | ไทย | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
|
| |||||||||||||||||||||||||||
ก "ข้อนอกเพียงครั้งเดียว" คือ ข้อน-อก (ตีอก) เพียงครั้งเดียว |
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]ในภาษาพูดปัจจุบัน ชาวตะวันตกจะอุทาน "mea culpa" เพื่อยอมรับว่า ตนได้ทำสิ่งผิด โดยเฉพาะสิ่งที่ย่อมหลีกพ้นได้ถ้าใช้ความระมัดระวังตามสมควร มีการใช้เช่นนี้แม้ในสถานการณ์เล็กน้อย เช่น ถ้านักฟุตบอลยอมรับว่า ทีมแพ้เพราะตนไม่ยิงประตู ก็อาจอุทานว่า "mea culpa" ในบางประเทศมีการใช้ถ้อยคำอื่นที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เช่น ในสหรัฐอเมริกามีภาษาปากว่า "my bad"
คำอุทาน "mea culpa" นี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษเมื่อมีการใช้ในภาพยนตร์แอนมิเมชัน คนค่อมแห่งนอเทรอดาม (1996) ของวอลต์ดิสนีย์พิกเจอส์ ช่วงที่ผู้พิพากษาโกล็ด ฟร็อลโล (Claude Frollo) ซึ่งมีอุดมการณ์กวาดล้างพวกยิปซีที่ลักลอบเข้ากรุงปารีส กลับหลงใหลในหญิงยิปซีชื่อ "แอสเมรัลดา" (Esméralda) อย่างบ้าคลั่ง จึงตัดสินใจตามจับนางเพื่อให้ได้นางมาครอง แม้จะต้องเผากรุงปารีสทิ้งทั้งกรุงก็ตาม และถ้านางปฏิเสธก็จะประหารชีวิตนางเสียให้สาสม เขาร้องเพลง "Hellfire" ("ไฟจากขุมใด") ภาวนาและระบายความในใจของเขาต่อพระแม่มารีย์ โดยไม่ยอมรับว่า เป็นความผิดของเขา แต่โทษว่า นางแอสเมรัลดาเป็นแม่มดและทำคุณไสยใส่เขา ในเพลงดังกล่าว ได้ประสมคำ "mea culpa, mea culpa, mea máxima culpa" เป็นพื้นหลังเมื่อผู้พิพากษาฟร็อลโลร้องว่า ไม่ใช่ความผิดของตน นอกจากนี้ ยังมีถ้อยคำบางส่วนจากบทสารภาพบาปด้วย[5] ถือกันว่า เพลงนี้เป็นเพลงที่ "รุนแรง" (dark) ที่สุดเท่าที่มีในบรรดาภาพยนตร์ของดิสนีย์ เพราะนำเสนอทั้งนรกและความหื่นกามอันเป็นหัวเรื่องที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก คณะกรรมการประเมินภาพยนตร์ของประเทศยุโรปหลาย ๆ ประเทศจัดระดับภาพยนตร์เองไว้ที่ "PG" (Parental Guidance - ผู้ปกครองโปรดให้คำแนะนำ)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม (29 กันยายน 2010). บทภาวนาของคริสตชน (ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2010) (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15.
{{cite book}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 การแก้บาป[ลิงก์เสีย] - อาสนวิหารอัสสัมชัญ
- ↑ Fortescue, A. (1908). Confiteor. In The Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company. Retrieved March 4, 2009 from: New Advent
- ↑ "From the 2010 ICEL Translation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-08.
- ↑ 5.0 5.1 The Hunchback of Notre Dame: Editorial Review
- Wolfgang Kosack: Basilios "De archangelo Michael": sahidice Pseudo - Euhodios "De resurrectione": sahidice Pseudo - Euhodios "De dormitione Mariae virginis": sahidice & bohairice : < Papyruskodex Turin, Mus. Egizio Cat. 63000 XI. > nebst Varianten und Fragmente. In Parallelzeilen ediert, kommentiert und übersetzt von Wolfgang Kosack. Christoph Brunner, Berlin 2014. ISBN 978-3-906206-02-8.
ดูเพิ่ม
[แก้]- การวิจารณ์ตนเอง (self-criticism)