ข้ามไปเนื้อหา

การุญ จันทรางศุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การุญ จันทรางศุ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541 – 2546)
พลังประชาชน (2546 – 2551)

รองศาสตราจารย์ การุญ จันทรางศุ[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย (เลื่อนขึ้นมาแทนคนที่เป็นรัฐมนตรี ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1[2] , กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร, กรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)[3], รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม คนที่ 5 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544, อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อดีตกรรมการสภาวิศวกร, อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

[แก้]

การุญ จันทรางศุ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อทางด้านโยธาจบปริญญาโท และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา [4][5]

การุญเคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะเดียวกัน เป็นหัวหน้าภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรักษาการหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ควบคู่ไปด้วย และดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 นอกจากนั้น การุญยังเคยเป็นกรรมการอำนวยการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อยู่ในระยะหนึ่ง และยังเป็นกรรมการสภาวิศวกรหลายสมัย

ในทางการเมือง การุญเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (พ.ศ. 2544 - 2547) ทั้งนี้ในกลางปี พ.ศ. 2547 การุญได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งได้เบอร์ 11 และเรียกชื่อตัวเองในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า "ดร.เค"[6] ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-04. สืบค้นเมื่อ 2016-09-21.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
  3. คณะกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
  4. "ประวัติจากสภาวิศวกรแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2011-07-31.
  5. ประวัติจากศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  6. "รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2011-07-31.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖