ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
จังหวัดธนบุรี
จังหวัด
พ.ศ. 2310–2514
ศาลาทรงไทย 3 หลังติดกันที่อยู่ข้างวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานสัสดีกรุงเทพมหานคร เดิมเป็นศาลาว่าการจังหวัดธนบุรี
การปกครอง
 • ประเภทราชการส่วนภูมิภาค
ยุคทางประวัติศาสตร์กรุงธนบุรีถึงสงครามเย็น
• ก่อตั้ง
28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
• สถาปนา
3 ตุลาคม พ.ศ. 2313
• สิ้นสุดกรุงธนบุรี
6 เมษายน พ.ศ. 2325
• ย้ายราชธานี
21 เมษายน พ.ศ. 2325
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกรุงเทพ
พ.ศ. 2440
• ยุบเลิกมณฑลกรุงเทพ
พ.ศ. 2476
22 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองบางกอก
จังหวัดพระนคร
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดสมุทรสาคร
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[1] และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2515[2]

ในอดีต กรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยในระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 โดยตั้งอยู่ ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เมืองธนบุรีเดิม หลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียกรุงแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 แล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เมื่อจุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับ พ.ศ. 2310 จวบจนถึง พ.ศ. 2325 นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง 15 ปีเท่านั้น

การบริหารราชการ

จังหวัดธนบุรี มีอำเภอจำนวน 9 อำเภอ

แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
  1. อำเภอราชคฤห์ (ธนบุรี)
  2. อำเภอหงสาราม (บางกอกใหญ่)
  3. อำเภอบุปผาราม (คลองสาน)
  4. อำเภอตลิ่งชัน
  5. อำเภอบางกอกน้อย
  6. อำเภอบางขุนเทียน
  7. อำเภอภาษีเจริญ
  8. อำเภอหนองแขม
  9. อำเภอราษฎร์บูรณะ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้มีการตรากฎหมายจัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีเพื่อดูแลท้องถิ่น และยังมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล[2] โดยมีศาลากลางว่าการ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์อยู่หน้าวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี (ปัจจุบันเป็นอาคารที่ทำการของสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร)[3][4]

ตราประจำจังหวัด

จังหวัดธนบุรี ใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ออกแบบโดยกรมศิลปากร

ยุบรวมกับจังหวัดพระนคร

21 ธันวาคม พ.ศ.2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 24 ให้รวมจังหวัดธนบุรีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร เรียกว่า "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร ในภายหลัง โดยมีเนื้อหาในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 144 หน้า 816 ความว่า

โดยที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครองมาช้านาน แม้ในปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ละจังหวัดก็ได้ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นจังหวัดเดียวกัน และการจัดหน่วยราชการสำหรับรับใช้ประชาชน ก็ได้กระทำในรูปให้มีหน่วยราชการร่วมกัน เช่น การศาล การรับจดทะเบียนกิจการบางประเภท คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควรที่จะรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดเดียวกัน เพื่อการบริหารราชการจะได้ดำเนินไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพ บังเกิดความเจริญแก่จังหวัดทั้งสองโดยรวดเร็ว

[5]

อ้างอิง

  1. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 December 1971. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
  2. 2.0 2.1 ประวัติความเปลี่ยนแปลงของจังหวัด "ธนบุรี"
  3. คืนกรุงธนฯ ให้กับคน ทนบุรี โดย สันติ เศวตวิมล จากสยามดารา[ลิงก์เสีย]
  4. "[Travel] ย่ำต๊อกวัด(โบสถ์)ฝั่งธน 8 - โบสถ์ซางตาครู้ส & สะพานพุทธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-20. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  5. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/144/816.PDF