สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Health systems Research Institute | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมสถาบัน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 เมษายน พ.ศ. 2535[1] |
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 88/39 ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 13°51′06″N 100°31′55″E / 13.8515401°N 100.5319458°E |
บุคลากร | 108 คน (พ.ศ. 2565)[2] |
งบประมาณต่อปี | 53,271,200 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
ฝ่ายบริหารสถาบัน |
|
ต้นสังกัดสถาบัน | กระทรวงสาธารณสุข |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (อังกฤษ: Health Systems Research Institute, HSRI) หรือเรียกโดยย่อว่า สวรส. เป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535[1][4] พร้อม ๆ กับการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีโครงสร้างองค์กรและการบริหารที่เน้นความคล่องตัว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพได้[5] สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ผลงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ
ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2541
การทำงานระยะแรกเน้นที่การวิจัยสร้างความรู้ใช้เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพในมิติต่าง ๆ
พ.ศ. 2541 เกิดสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ[6]
ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2547
สวรส.เน้นหนักสนับสนุนการทำงานวิจัยสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบสุขภาพ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมปฏิรูประบบสุขภาพในทุกระดับ นำมาสู่การประกาศใช้ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และการจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกนโยบายใหม่ในระบบสุขภาพไทย รวมทั้ง นำมาซึ่งสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกลไกที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
พ.ศ. 2542 ก่อตั้งสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
พ.ศ. 2543 คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.)
พ.ศ. 2544 เกิดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากงานวิจัยพัฒนานโยบายส่งเสริมสุขภาพ
พ.ศ. 2544 ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลในรูปแบบองค์การมหาชน โดยเริ่มนำร่อง 1 แห่ง ที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
พ.ศ. 2544 พัฒนาระบบประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2545 มีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2548 เกิดสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)
พ.ศ. 2548 จัดตั้งสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.)
พ.ศ. 2550 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2550 เกิดแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย และการก่อตั้งสถาบันสุขภาพวิถีไทย
พ.ศ. 2550 จัดตั้งแผนงานความร่วมมือภูมิภาคเอเซียการวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ[7]
พ.ศ. 2550 ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2550 ตั้งสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.)[8]
ระยะที่ 4 ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2556
ในช่วง 3 ปีแรก หลังจากมี พ.ร.บ.สุขภาพฯ สวรส. ได้ทำงานวิชาการเพื่อสานต่อและทำให้ประเด็นต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพฯ เป็นมรรคผล ไม่ว่าจะเป็น การสร้างความรู้สนับสนุนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ หรือการทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา สวรส. ได้ปรับตัวและปรับบทบาทหน้าที่ หันมาเน้นหนักที่ “การจัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืน” ด้วยเห็นว่าภารกิจการสร้างความรู้สาขาเฉพาะต่าง ๆ มีหน่วยงานใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแล สวรส.จึงขันอาสาที่จะเป็นแกนประสานและจัดการให้เกิดการนำเอาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ นั้น มาจัดการให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดการตัดสินใจในการพัฒนาระบบสุขภาพบนฐานความรู้ และสนับสนุนให้ระบบมีความเป็นธรรมและยั่งยืนยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2551 ต่อยอดและขยายผลแผนงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R
พ.ศ. 2552 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา
พ.ศ. 2553 จัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพสา
พ.ศ. 2554 จัดตั้งศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (ศรท.)[9] (ปัจจุบัน สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.))[10] สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
พ.ศ. 2555 จัดตั้งศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.)[11] (ปัจจุบัน สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.)[12]
ระยะที่ 5 พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน
ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ "องค์กรขับเคลื่อนความรู้สู่ระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน เพื่อสุขภาพดีและชีวิตที่ยืนยาวของประชาชน" โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ 2.เสริมสร้างสมรรถนะนักวิจัยด้านสุขภาพ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบวงจร โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารจัดการงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างยั่งยืน
รวมทั้งมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม อาทิเช่น การสร้างผลงานวิจัยที่ลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกของกลุ่มอายุต่างๆ การนำผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการไปพัฒนาระบบเครือข่ายบริการระดับเขตบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืน การเพิ่มจำนวนนักวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ การมีระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานวิจัย นักวิจัย และเครือข่ายในระบบสุขภาพ
โดยงานวิจัยต่างๆ เน้นการสร้างองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทุกมิติในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการคลังสุขภาพ ด้านกำลังคน ด้านการแพทย์/เทคโนโลยีการแพทย์ ด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎหมาย / ข้อบังคับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพคนไทย ผ่านงานวิจัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายเขตสุขภาพ งานวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ งานวิจัยลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การลดสาเหตุการตาย การวิเคราะห์อัตรากำลังบุคลากรสาธารณสุข งานวิจัยระบบยา ฯลฯ
ผลผลิตและบริการ
งานวิจัย ผลงานวิจัยของ สวรส. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีลิขสิทธิ์ตาม สิทธิ์การเผยแพร่ (CC BY-NC-SA)
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข เป็นเครื่องมือเผยแพร่วิชาการเพื่อสนับสนุนและยกขีดความสามารถในการผลิตองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยระบบสุขภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย นักวิชาการและบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ เผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัล โดยวารสารฯ ปัจจุบันไม่จัดพิมพ์รูปเล่มกระดาษ
ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารวิจัย งานวิชาการและหนังสือที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ
คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ ศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ในระบบสุขภาพ (ปัจจุบันหยุดให้บริการแล้ว) โดยทาง สวรส. ได้พัฒนาเครื่องมือในการช่วยค้นคว้า และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรด้านสุขภาพในประเทศไทยหลายแหล่ง เพื่อให้ค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
สัญลักษณ์องค์กร
แนวคิดการออกแบบตราสัญลักษณ์ของ สวรส.
- รูปสามเหลี่ยมเป็นสัญญาลักษณ์แทนสติปัญญา
- เส้นที่ประกอบกันเป็นรูปวงรีกลางรูปสามเหลี่ยม มีความหมายเหมือนกับเป็นศูนย์รวมหรือประกายแห่งสติปัญญา
- วงรีเป็นสัญญาลักษณ์แทนจักรวาล การวางเรียงซ้อนกันและโอบล้อมรูปสามเหลี่ยมไว้เป็นการแสดงถึงความผสานกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ(สติปัญญา-จักรวาล) และเน้นถึงความกลมกลืนอีกครั้งด้วย ตัวย่อของสถาบันที่เรียงโค้งไปตามฐานรูป
- ตัวย่อสถาบันเน้นที่ความแหลมคมของเส้น ซึ่งสะท้อนแสดงถึงจุดมุ่งหมายและการทำงานที่เน้นถึงข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ในขณะเดียวกัน ลักษณะตัวอักษร และภาพรวมของตรา ก็จะสื่อถึงความก้าวหน้า-ทันสมัย
ผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการ สวรส. ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ[1]
ลำดับ | ชื่อ-สกุล ผู้อำนวยการ | วาระ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ | 2 | ก่อตั้ง - พ.ศ. 2541 | |
2 | วิพุธ พูลเจริญ | 2 | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2547 | |
3 | ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล | - | พ.ศ. 2547- พ.ศ. 2549 | |
4 | กิตตินันท์ อนรรฆมณี | - | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 | รักษาการ |
5 | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข | 2 | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2556 | |
6 | สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล | - | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 | |
7 | ภูษิต ประคองสาย | - | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 | รักษาการ |
8 | พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ | 1 | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 | |
9 | นพพร ชื่นกลิ่น | - | พ.ศ. 2561 - ก.ค. 2566 | |
10 | จรวยพร ศรีศศลักษณ์ | - | ก.ค. 2566 - ก.ย. 2566 | รักษาการ |
11 | ศุภกิจ ศิริลักษณ์ | - | ก.ย. 2566 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 45 หน้าที่ 6 วันที่ 9 เมษายน 2535
- ↑ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2569 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2566), สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-15.
- ↑ "สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
- ↑ "เว็บไซต์ความร่วมมือภูมิภาคเอเซียการวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
- ↑ สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์
- ↑ ศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
- ↑ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.). "สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย - Thai CaseMix Centre". สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.).
- ↑ ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย
- ↑ "สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.)". สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-10-11.