ข้ามไปเนื้อหา

พระราชาคณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงเสด็จในการพระราชทานด้วยพระองค์เองหรือจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบแทน

พระราชาคณะ หมายถึงพระภิกษุที่ได้รับสถาปนาหรือแต่งตั้งให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ[1] ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าพระสังฆราชาคณะ หมายความว่าเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ต่อมาในสมักรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็นพระราชาคณะ ความหมายยังคงเดิม มีคำนำหน้าราชทินนามว่าพระ แต่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าคุณหรือท่านเจ้าคุณ ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะเรียกว่าท่านเจ้าประคุณ แยกเป็นลำดับดังนี้

  1. สมเด็จพระราชาคณะ (ชั้นสุพรรณบัฏ = จารจารึกราชทินนามลงแผ่นทอง)
  2. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (ชั้นหิรัญบัฏ = จารจารึกราชทินนามลงแผ่นเงิน)
  3. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (ชั้นสัญญาบัตร = แผ่นกระดาษ - ตั้งแต่ชั้นธรรมลงมา)
  4. พระราชาคณะชั้นธรรม
  5. พระราชาคณะชั้นเทพ
  6. พระราชาคณะชั้นราช
  7. พระราชาคณะชั้นสามัญ

พระราชาคณะสามารถแต่งตั้งฐานานุกรมได้ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาบัตร ยกเว้นพระราชาคณะชั้นสามัญ สามารถแต่งตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง พระปลัด,พระสมุห์,พระใบฎีกา ไม่มีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชาคณะแต่สามารถแต่งตั้งได้เป็นขนบธรรมเนียมปฏิบัติมาอย่างยาวนาน

พระราชาคณะสามารถแต่งตั้งฐานานุกรมได้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาบัตร

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า

ดูเพิ่ม